
Category: วันสำคัญ


โดย อาจารย์นัทชา นารมย์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ งานวิจัยเชิงพรรณนาที่ต้องการประมาณค่าลักษณะประชากร เช่น นักศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคใต้มีอัตราการติดเชื้อโควิด (covid-19) ร้อยละเท่าใด คำนวณได้จากอัตราการติดเชื้อจากตัวอย่างที่ได้ศึกษา เช่น ร้อยละ 10 จากนั้นนำค่าดังกล่าวไปประมาณอัตราการติดเชื้อโควิด (covid-19) ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคใต้ทั้งหมดโดยตรง ซึ่งนักวิจัยจะไม่สามารถระบุได้ว่าคำตอบมีโอกาสถูกต้องเท่าใด เพราะถ้ามีการทำซ้ำอีกครั้งด้วยวิธีเดียวกัน ก็อาจได้คำตอบที่ต่างออกไป วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมกับการรายงานผลดังกล่าวคือ การประมาณค่าด้วยช่วงเชื่อมั่น ซึ่งเป็นวิธีการนำค่าสถิติที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่างไปประมาณค่าแบบช่วง โดยแสดงผลในรูปค่าขอบเขตล่าง (lower […] Read More

บทความโดย อาจารย์ธีรวัฒน์ กล่าวเกลี้ยง หัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ความกดอากาศ อากาศเป็นสสารจึงมีน้ำหนักกด ซึ่งแต่ละพื้นที่จะไม่เท่ากัน บริเวณที่มีน้ำหนักกดมากกว่าบริเวณโดยรอบจะเรียกว่า หย่อมความกดอากาศสูง และบริเวณตรงกันข้ามก็เรียกว่า หย่อมความกดอากาศต่ำ เมื่อหย่อมความกดอากาศต่ำหลาย ๆ หย่อมมาเรียงต่อกันบนแผนที่ในแนวนอน จะเรียกว่า ร่องความกดอากาศต่ำ โดยปกติ บริเวณที่อยู่ในแนวร่องความกดอากาศต่ำมักจะมีฝนตก กรมอุตุนิยมวิทยาจึงหันมาใช้คำว่า ร่องฝน แทน เพราะสื่อความง่ายกว่า ส่วนบริเวณที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศสูงนั้นจะมีอากาศหนาว ซึ่งแบ่งระดับความหนาวตามอุณหภูมิได้ดังนี้ ต่ำกว่า ๘ องศาเซลเซียส > อากาศหนาวจัด ๘ – ๑๕.๙ องศาเซลเซียส > อากาศหนาว ๑๖ – ๑๗.๙ องศาเซลเซียส > อากาศค่อนข้างหนาว ๑๘ – ๒๒.๙ องศาเซลเซียส > อากาศเย็น เมื่อพูดถึงอากาศร้อนก็มีระดับความร้อนเช่นกัน แบ่งเป็น ๓๕ – ๓๙ […] Read More