Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เคล็ด (ไม่) ลับกับกายภาพบำบัดทางระบบประสาท : ตอนที่ 2

บทความโดย ผศ.จิรพัฒน์ นาวารัตน์
อาจารย์สาขากายภาพบำบัด
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การออกกำลังกายเพื่อการทรงตัวทำได้หลายท่าทางเริ่มต้นนะครับ จะออกแบบท่าทางไหนก็ลองดูว่าผู้ป่วยเราจะกลับไปทำกิจกรรมอะไรในชีวิตของเค้า

สิ่งหนึ่งที่ท้าทายนักกายภาพบำบัดคือการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มการทรงตัวให้กับผู้ที่มีความบกพร่อง เนื่องจากอะไรนะเหรอครับ เพราะว่าการควบคุมการทรงตัวนั้นขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ หากเราตรวจรู้ว่า เอ๊ะ ‼️ คนนั้นคนนี้มีปัญหาการทรงตัวจากสาเหตุอะไร เราก็จะสามารถออกแบบโปรแกรมได้อย่างจำเพาะ (Specific program) วันนี้เลยจะมาทบทวนให้ทุกคนอีกครั้งครับว่า การควบคุมการทรงตัวมีองค์ประกอบอะไรบ้าง 💪 Musculoskeletal components ระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ องศาการเคลื่อนไหว รวมไปถึงการวางตัวของแนวของข้อต่อ ก็มีผลกับการทรงตัวเช่นกัน 🧠 Neuromuscular synergies การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อกับระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวที่เหมาะสมในการทรงตัว👁 Individual sensory system ระบบความรู้สึก เราพบว่าระบบความรู้สึกต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันในการควบคุมการทรงตัวประกอบด้วย ระบบรับความรู้สึกทางกาย (Somatosensory) ระบบการมองเห็น (Vision) และระบบควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน (Vestibular) 🦶 Sensory strategies จากระบบความรู้สึกย่อยๆ ที่กล่าวมาจะมีการทำงานร่วมกันในการควบคุมการทรงตัว เช่น หากเรายืนบนพื้นราบเรียบ จะมีการพึ่งระบบรับความรู้สึกจากทางกาย 70% มองเห็น 20% และระบบการทรงตัวในหูชั้นใน 10% 🧍‍♂️Internal representations การรับรู้แบบแผนภายในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของร่างกายกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและเกิดการทรงตัวที่เหมาะสม 🏀 Anticipatory mechanism การควบคุมการทรงตัวแบบรู้ล่วงหน้า (Feedforward) คนเรานะครับจะมีความสามารถในการทรงตัวที่ดี ร่างกายต้องปรับให้มั่นคงก่อนและขณะทำการเคลื่อนไหว ง่ายๆ ร่างกายจะเตรียมการพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวนั่นเอง 👋 Adaptive mechanism การปรับการทรงตัวต่อแรงรบกวนที่ไม่รู้ล่วงหน้า โดยเมื่อเกิดแรงกระทำจากภายนอกมารบกวนการทรงตัว จะมีการตอบสนองของร่างกายหลายรูปแบบ เช่น จะเกิดการตอบสนองของข้อเท้า (Ankle strategy) เมื่อร่างกายเกิดการแกว่งเล็กน้อย และอาจตอบสนองมากขึ้นถึงการก้าวขา (Stepping strategy) หากแรงที่มากระทำทำให้จุดศูนย์กลางมวลร่างกายออกนอกฐานของร่างกายดังนั้นครับ นักกายภาพบำบัดต้องประเมินให้ได้เสียก่อนว่าผู้ป่วยของเราเค้ามีปัญหาการทรงตัวจากสาเหตุอะไร แล้วเราก็จะแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดนั่นเองครับ

📸 ภาพจากรายวิชาการบำบัดด้วยการออกกำลังกาย โดยน้องขิง Khing Rangsinee Kaenjan นักวิทยาศาสตร์กายภาพบำบัด และนางแบบ อ.บู้ คนชิคๆ Bubu Supattra มาในธีม “ก็หมวยนิคะ”

การออกกำลังกายเพื่อการทรงตัวแบบเคลื่อนไหว (Dynamic balance) ปรับฐานของร่างกายและเพิ่มความยากด้วยน้ำหนักจากภายนอก
Facebook Comments Box