Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

THE World University Rankings 2022 Methodology

จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการทำงานเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยโลก ภายใต้ “โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก” ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตามตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี มวล. (พ.ศ. 2561-2580)  และตามแนวนโยบายของ ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยในช่วงแรกของการเริ่มงานนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มงานในหน้าที่ใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากภาระงานเดิมที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว เริ่มจากการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล และการดำเนินการสมัครเข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกกับหัวหน้าทีมในตอนนั้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร. เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ และเป็นผู้ให้ประสบการณ์ทางวิชาการกับผู้เขียนโดยตรง โดยกรอบความรับผิดชอบในขณะนั้นมีทั้ง THE (Times Higher Education)  Impact Rankings, QS World University Rankings และ THE World University Rankings ตามลำดับ

ในครั้งนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอข้อมูลจากประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ THE World University Rankings จากที่ได้ศึกษาเกณฑ์ และตัวชี้วัดของ THE World University Rankings  ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นที่ศึกษา โดยแหล่งข้อมูลของผู้เขียนมาจากการอ่านและการศึกษาเกณฑ์ต่างๆ จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ (THE World University Rankings Methodology) ซึ่งผู้อ่านที่มีความสนใจและอยากรู้ข้อมูลเชิงลึกสามารถสืบค้นข้อมูลต้นฉบับที่ THE เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ที่ Website https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings  จากนั้นผู้เขียนได้นำมาแปลเป็นภาษาไทยด้วยสำนวนของผู้เขียนเองเพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาทำความความเข้าใจในเวอร์ชั่นฉบับภาษาไทยได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ส่วนหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดของ Rankings อื่นๆ กล่าวคือ  THE (Times Higher Education)  Impact Rankings, QS World University Rankings นั้น ผู้เขียนจะนำมาเผยแพร่ให้ผู้อ่านในโอกาสต่อไป

ผู้เขียนขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง ที่ได้ให้ความรู้และคำแนะนำต่างๆ แก่ผู้เขียนโดยไม่ปิดบังและทำให้ผู้เขียนเปิดโลกทัศน์ใหม่ในงานวิชาการและการทำงานแบบสากล การคิดแบบสากล การปฏิบัติแบบสากลอย่างที่ไม่เคยสัมผัสบรรยากาศแบบนี้มาก่อน  ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปในบรรยากาศที่สนุก มีความสุข และสามารถแสดงความคิดเห็น หรือถกปัญหาต่างๆ ได้อย่างเปิดกว้างไม่แยกชนชั้น ผู้เขียนขอชื่นชมการบริหารงานของ รองศาสตราจารย์ ดร. จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานานาชาติในขณะนั้น ที่ให้เวลาผู้เขียนได้ศึกษางานใหม่อย่างเต็มที่ และเป็นแบบอย่างของผู้บริหารที่ผู้เขียนรู้สึกประทับเป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียนขอขอบพระคุณไปยัง รองศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ ไหมศรีกรด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภัทร์นรินทร์ ศุภกร (รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ คนปัจจุบัน) และเพื่อนๆ ศูนย์กิจการนานาชาติ ที่ทำให้บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานระบบทีมมีประสิทธิภาพ และคอยส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

THE World University Rankings 2022 Methodology

Times Higher Education World University Rankings เป็นสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่เน้น research-intensive universities ผ่านตัวชี้วัด 3 พันธกิจหลัก คือ 1 พันธกิจด้านการสอน (teaching) 2. พันธกิจด้านการวิจัย (research) 3. พันธกิจด้านการถ่ายทอดความรู้และความเป็นสากล(knowledge transfer and international outlook) โดยTHE จะวัดจากผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย (performance indicators) ใน 5 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย  1. ด้านการสอน (Teaching) วัดจากสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (the learning environment) 2. ด้านการวิจัย (Research) วัดจากปริมาณผลงาน รายได้ และชื่อเสียง (volume, income and reputation) 3. อัตราการอ้างอิงผลงานวิจัย (Citations) วัดจากการนำผลงานด้านการวิจัยไปใช้หรือไปอ้างอิง  (research influence) 4. ด้านความเป็นสากลหรือความเป็นนานาชาติ (International outlook) วัดจากจำนวนอาจารย์ชาวต่างชาติ นักศึกษาชาวต่างชาติ และความร่วมมือด้านการวิจัย (staff, students and research) และ 5. ด้านจำนวนรายได้จากภาคอุตสาหกรรม (Industry income) วัดจากจำนวนงบประมาณและการถ่ายทอดความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรม (knowledge transfer)

สัดส่วนการให้คะแนนของตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อย

ตัวชี้วัดคำอธิบายสัดส่วน
Teaching (the learning environment): 30%ด้านการสอน คิดสัดส่วน 30% คะแนนจะมาจาก30%  
Reputation survey: 15%     Staff-to-student ratio: 4.5%Doctorate-to-bachelor’s ratio: 2.25%Doctorates-awarded-to-academic-staff ratio: 6%Institutional income: 2.25%  การสำรวจภาพลักษณ์ชื่อเสียงด้านการสอน และการวิจัย (teaching and research)  15%สัดส่วนอาจารย์ ต่อนักศึกษา 4.5%สัดส่วนนักศึกษาปริญญาเอก ต่อนักศึกษาปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษา 2.25%สัดส่วนนักศึกษาปริญญาเอกที่สำเร็จการศึกษา ต่อจำนวนอาจารย์ 6 %รายได้รวมของสถาบัน เทียบสัดส่วนกับจำนวนอาจารย์ 2.25%15%     4.5%   2.25%   6% 2.25%  
Research (volume, income and reputation): 30%ด้านการวิจัย คิดสัดส่วน 30% คะแนนจะมาจาก30%
Reputation survey: 18%Research income: 6%   Research productivity: 6%  การสำรวจภาพลักษณ์ด้านการวิจัย 18%รายได้หรืองบประมาณด้านการวิจัย เทียบสัดส่วนกับจำนวนอาจารย์ 6%จำนวน Publication ต่อจำนวนบุคลากร (อาจารย์+นักวิจัย)  6% จากฐานข้อมูลElsevier’s Scopus database แสดงถึงความสามารถของมหาวิทยาลัยทางด้านวิจัยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยและการสนับสนุนเครื่องมือทางการวิจัยต่างๆ18%
6%  
6%
Citations (research influence): 30%  จำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัย แสดงถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภายนอก ความเชื่อมั่นทางวิชาการ คิดจาก Field Weighted Citation Impact (FWCI) 30%  จากฐานข้อมูลElsevier’s Scopus database แสดงถึงความสามารถของมหาวิทยาลัยทางด้านวิจัย30%
International outlook (staff, students, research): 7.5%  ความสามารถของมหาวิทยาลัยในการดึงนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 7.5% คะแนนจะมาจาก7.5%
Proportion of international students: 2.5%Proportion of international staff: 2.5%International collaboration: 2.5%  นักศึกษาชาวต่างชาติ  2.5%   จำนวนอาจารย์ชาวต่างชาติ 2.5%   จำนวนความร่วมมือด้านการวิจัย คิดสัดส่วนจาก ผลงานวิจัยที่เขียนร่วมกับต่างชาติเทียบสัดส่วนกับผลงานวิจัยทั้งหมด (Co-authorship) 2.5% จากฐานข้อมูลElsevier’s Scopus database2.5%   2.5%   2.5%
Industry income (knowledge transfer): 2.5%  รายได้ของมหาวิทยาลัยจากภาคอุตสาหกรรมแสดงถึงความสามารถของมหาวิทยาลัยทางด้านวิชาการ และด้านวิจัยที่เป็นสากลโดยสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรมหรือสร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม รายได้จะนำมาเทียบสัดส่วนกับจำนวนอาจารย์ 2.5%2.5%
5 ตัวชี้วัดหลักรวม100%

หมายเหตุ:

  1. สำหรับ Academic reputation survey  ทาง THE จะใช้วิธีการสุ่มเลือก โดย Elsevier จะเป็นการถามในลักษณะให้เสนอชื่อ (nominate) มหาวิทยาลัยที่เป็นที่ยอมรับว่าดีที่สุดในด้านการสอน/การวิจัยในสาขานั้นๆ (the best for Teaching and/or Research in their field) โดยให้เสนอมาอย่างละ 15 ชื่อมหาวิทยาลัย (teaching 15 มหาวิทยาลับ/ research 15 มหาวิทยาลัย)
  2. มหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับปริญญาโทและเอกจะไม่สามารถสมัครเข้ารับการจัดอันดับโดย THE World University Rankings ได้
  3. THE อนุญาตให้มหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยรวมไม่ถึง 1,000 เรื่อง สามารถส่งข้อมูลในระบบได้ แต่ผลการจัดอันดับ จะแสดงเป็น “reporter” หมายความว่า คุณสมบัติยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (did not meet our eligibility criteria to receive a rank)

เงื่อนไขอื่นๆ

  1. จะต้องมีผลงานวิจัย (publication) รวมกันย้อนหลัง 5 ปี ไม่น้อยกว่า 1,000 เรื่อง และต้องไม่น้อยกว่า 150 เรื่องต่อปี
  2. จะต้องเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป หากจัดการเรียนการสอนเฉพาะในระดับปริญญาโท-เอก ไม่สามารถเข้าร่วมจัดอันดับได้
  3. จะต้องไม่ focus เพียงสาขาใดสาขาหนึ่งเท่านั้น (must not be focused on one narrow subject area) หมายความว่า ผลงานวิจัยมากกว่า 80% มาจากสาขาวิชาเดียว
  4. จะต้องไม่มีข้อมูล critical value ที่เป็นโมฆะมากกว่า 2 รายการ (เช่นข้อมูล academic staff, international academic staff, research staff, students, international students, undergraduate degrees awarded, doctorates awarded, institutional income, research income, research income from industry and commerce) ที่แสดงใน
  5. ลักษณะ “unavailable” or “withheld” เพราะข้อมูลที่เป็นโมฆะก็จะทำให้ผลที่เกี่ยวข้องเป็นโมฆะไปด้วย

ตารางแสดงสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ตัวชี้วัดของ THE World University Rankings

world university ranking

ที่มาElsevier

ผู้เขียนหวังว่า หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดต่างๆ ของระบบ Times Higher EducationWorld University Rankings ข้างต้น จะทำให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีความตื่นตัวโดยพาะอย่างยิ่งในช่วงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยไทย หรือReinventing University ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม THE World University Rankings ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีการจัดอันดับ ranking ในระดับสาขาวิชา (World University by Subject Rankings) ซึ่งมีทั้งหมด  11 สาขาวิชา ได้แก่ Arts & humanities, Business & economics, Education, Law, Social sciences, Computer science, Engineering, Clinical & health, Life science, Physical science, Education และ Psychology ซึ่ง THE จะนับจำนวน Publications 5 ปีย้อนหลังในแต่ละสาขากี่ฉบับนั้นผู้เขียนจะนำมาเผยแพร่ให้ผู้อ่านทราบในครั้งต่อไป และนอกจากนี้ การจัดอันดับ Young University Rankings ของ THE ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยอายุน้อย (30 ปี) แบบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี หลายสถาบันได้รับการจัดอันดับมาแล้ว ครั้งหน้าผู้เขียนจะได้นำมาเผยแพร่ต่อไป

แปลและรวมรวมโดย นางจิราพร กาฬสุวรรณ
ศูนย์กิจการนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Facebook Comments Box