Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

THE World University Rankings by Subject

วันนี้ผู้เขียนขอพูดถึงการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประเภท Subject Rankings ที่จัดโดยสถาบันการจัดอันดับโลก Times Higher Education หรือ THE ว่าสาขาต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยทั่วโลกเปิดสอนนั้น มีสาขาอะไรบ้าง และมีมหาวิทยาลัยใดที่เป็นอันดับ 1 ของโลก

ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า THE จัดกลุ่มสาขาวิชาออกเป็น 11 กลุ่มสาขาวิชาดังนี้

  1. Arts and Humanities
  2. Clinical and Health
  3. Engineering
  4. Computer science
  5. Life science
  6. Physical science
  7. Business & economics
  8. Social sciences
  9. Psychology
  10. Law
  11. Education

โดยหลักเกณฑ์เบื้องต้นที่มหาวิทยาลัยต่างๆ จะได้รับการจัดอันดับประเภทนี้จะต้องมีผลงาน Publications ย้อนหลัง 5 ปี ในสาขาต่างๆ ตามจำนวนที่ THE กำหนด กล่าวคือ Publication ในสาขา Clinical and Health, Engineering, Computer Science, Life Sciences, Physical Sciences จะต้องไม่ต่ำกว่าสาขาละ 500 ชิ้น สาขา Arts and Humanities จะต้องไม่ต่ำกว่า 250 ชิ้น  สาขา Business and Economics และ Social Sciences, จะต้องไม่ต่ำกว่า 200 ชิ้น  สาขา Psychology จะต้องไม่ต่ำกว่า 150 ชิ้น  และสุดท้ายสาขา Law และ Education จะต้องไม่ต่ำกว่า 100 ชิ้น  จึงจะได้รับการพิจารณาจัดอันดับ

ตารางแสดงจำนวน publications จำแนกตามสาขาวิชา

คราวนี้มาดูในเชิงรายละเอียดกันว่าแต่ละกลุ่มสาขาวิชา มีสาขาวิชา (disciplines) ใดที่เกี่ยวข้องบ้างหรือที่ THE พิจารณาว่าจัดอยู่ในกลุ่มสาขาวิชานั้นๆ ดังนี้

  1. สาขา Arts and Humanities สาขานี้ THE จะพิจารณารายวิชาในกลุ่ม art, performing arts, design, languages, literature, linguistics, history, philosophy, theology, architecture and archaeology โดยในปี 2022 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมจำนวน 606 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 41 มหาวิทยาลัย (ปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 565 แห่ง)  และมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 3 อันดับระดับโลก คือ
  1. Stanford University (United States)
  2. Massachusetts Institute of Technology (United States)
  3. University of Cambridge (United Kingdom)

ในสาขานี้มหาวิทยาลัยของไทยไม่ได้รับการจัดอันดับ

มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี academic staff ในสาขา Arts and Humanities อย่างน้อย 5% หรือ จำนวน 50 คน การให้ค่าน้ำหนัก (weightings) สาขา Arts and Humanities แต่ละตัวชี้วัดย่อย มีดังนี้

  • Teaching: the learning environment                      ให้ค่าน้ำหนัก 37.4 per cent 
  • Research: volume, income and reputation             ให้ค่าน้ำหนัก 37.6 per cent 
  • Citations: research influence                               ให้ค่าน้ำหนัก 15 per cent 
  • International outlook: staff, students and research   ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent 
  • Industry income: innovation                                ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

2. สาขา Business & economics ประกอบด้วยกลุ่มรายวิชา business and management, accounting and finance, and economics and econometrics ในปีนี้มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 795 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2021 จำนวน 30 แห่ง (ปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 729 แห่ง) และ 3 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ระดับโลก คือ

  1. Massachusetts Institute of Technology (United States)
  2. Stanford University (United States)
  3. University of Cambridge (United Kingdom)

จำนวน academic staff ในสาขา Business & economics ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ นั้น จะต้องมี อย่างน้อย 5% หรือ จำนวน 50 คน THE จะให้ค่าน้ำหนักแต่ละตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

  • Teaching: the learning environment                      ให้ค่าน้ำหนัก 30.9 per cent
  • Research: volume, income and reputation              ให้ค่าน้ำหนัก 32.6 per cent
  • Citations: research influence                               ให้ค่าน้ำหนัก 25 per cent
  • International outlook: staff, students and research   ให้ค่าน้ำหนัก 9 per cent
  • Industry income: innovation                                ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

มหาวิทยาลัยของไทยที่ดีที่สุดในสาขา Business & economics คือ
     1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทั้ง 3 มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับ ที่ 501-600

3. สาขา Clinical and Health ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สาขาหลักๆ  คือ medicine, dentistry and health subjects อื่นๆ และในปี 2022 มีมหาวิทยาลัยสมัครเข้ารับการจัดอันดับ 925 แห่ง เพิ่มขึ้นจาก ปี 2021 จำนวน 69 แห่ง (ปี 2021 มีจำนวนมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 856 แห่ง และ 3 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดระดับโลก  คือ

     1. University of Oxford (United Kingdom)
     2. Harvard University (United States)
     3. University of Cambridge (United Kingdom)

มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี academic staff ในสาขา Clinical and Health อย่างน้อย 5% หรือ จำนวน 50 คน กลุ่ม Clinical and Health ค่าน้ำหนักคะแนนจะคิดสัดส่วนดังนี้

  • Teaching: the learning environment                           ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • Research: volume, income and reputation                   ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • Citations: research influence                                     ให้ค่าน้ำหนัก 35 per cent
  • International outlook: staff, students and research        ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent
  • Industry income: innovation                                      ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับที่ดีที่สุดในสาขา Clinical and Health คือ
1. มหาวิทยาลัยมหิดล (151-175)
2. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (301-400)
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (501-600)

4. สาขา Computer science มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 891 แห่ง ในปี 2022 เพิ่มขึ้นจากปี 2021 จำนวน 64 แห่ง (ปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 827 แห่ง)  

มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี academic staff ในสาขา Computer science อย่างน้อย 1% หรือ จำนวน 20 คน การคิดสัดส่วนค่าน้ำหนักคะแนน มีดังนี้

  • Teaching: the learning environment                    ให้ค่าน้ำหนัก 30 per cent
  • Research: volume, income and reputation           ให้ค่าน้ำหนัก 30 per cent
  • Citations: research influence                             ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • International outlook: staff, students and research ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent
  • Industry income: innovation                              ให้ค่าน้ำหนัก 5 per cent

และมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกในสาขา Computer science คือ
1. University of Oxford (United Kingdom)
2. Stanford University (United States)
3. Massachusetts Institute of Technology (United States)

มหาวิทยาลัยในประเทสไทยที่ได้รับการจัดอันดับ 3 อันดับแรก คือ  
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (601-800)
2. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (601-800)
3. มหาวิทยาลัยมหิดล (601-800)

5. สาขา Education กลุ่มนี้จะครอบคลุม education, teacher training, และ academic studies in education เป็นต้น จำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมในปี 2022 มีทั้งหมด 597 แห่ง เพิ่มขึ้น 60 แห่ง (ปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 537 แห่ง) และ 3 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดล้วนเป็นมหาวิทยาลัยจาก United States คือ

  1. Stanford University
  2. University of California Berkeley
  3. Harvard University

มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วมจะต้องมี academic staff ในสาขา Education อย่างน้อย 1% หรือ จำนวน 20 คน โดย THE จะให้ค่าน้ำหนักด้านต่างๆ ดังนี้

  • Teaching: the learning environment                                      ให้ค่าน้ำหนัก 32.7 per cent
  • Research: volume, income and reputation                             ให้ค่าน้ำหนัก 29.8 per cent
  • Citations: research influence                                               ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • International outlook: staff, students and research              ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent
  • Industry income: innovation                                                ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

มหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นและได้รับการจัดอันดับในสาขา education คือ
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับที่ (176-200)
2.  มหาวิทยาลัยมหิดล (301-400)
3.  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (401-500)

6. สาขา Law ในสาขานี้ มีมหาวิทยาลัยเพียง 257 แห่ง ที่เข้ารับการจัดอันดับ และมีจำนวนเพิ่มขึ้น 33 แห่ง เมื่อเทียบกับปี 2021 ที่มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 224 แห่งเท่านั้น โดยในสาขา Law จะมีการให้ค่าน้ำหนัก แตกต่างออกไปเพื่อให้มีความเหมาะสม ดังนี้

  • Teaching: the learning environment                            ให้ค่าน้ำหนัก 32.7 per cent
  • Research: volume, income and reputation                   ให้ค่าน้ำหนัก 30.8 per cent
  • Citations: research influence                                     ให้ค่าน้ำหนัก 25 per cent
  • International outlook: staff, students and research        ให้ค่าน้ำหนัก 9 per cent
  • Industry income: innovation                                      ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

และ 3 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในสาขา Law ได้แก่

  1. Stanford University (United States)
  2. University of Cambridge (United Kingdom)
  3. New York University ตามลำดับ

สำหรับประเทศไทยไม่มีมหาวิทยาลัยใดได้รับการจัดอันดับในสาขานี้

จำนวน academic staff ในสาขา Law ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี อย่างน้อย 1% หรือ จำนวน 20 คน

7. สาขา Engineering จะอยู่ในกลุ่มสาขา general engineering, electrical and electronic engineering, mechanical and aerospace engineering, civil engineering and chemical engineering มีมหาวิทยาลัยเข้ารับการจัดอันดับในปี 2022 จำนวน 1,188 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 90 แห่ง (ปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 1,098 แห่ง) เป็นสาขาที่การแข่งขันสูงที่สุด และการคิดค่าน้ำหนักคะแนนจะเป็นดังนี้

  • Teaching: the learning environment                            ให้ค่าน้ำหนัก 30 per cent
  • Research: volume, income and reputation                    ให้ค่าน้ำหนัก 30 per cent
  • Citations: research influence                                      ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • International outlook: staff, students and research         ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent
  • Industry income: innovation                                      ให้ค่าน้ำหนัก 5 per cent

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในกลุ่มสาขา Engineering ปี 2022 มีดังนี้
1. Harvard University (United States)
2. Stanford University (United States)
3. University of California, Berkeley

สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 3 อันดับแรกที่ดีที่สุดในสาขา Engineering คือ
1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (501-600)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (601-800)
3. มหาวิทยาลัยมหิดล (601-800)

มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี academic staff ในสาขา Engineering  อย่างน้อย 4% หรือ จำนวน 40 คน

8. สาขา Life sciences กลุ่มนี้จะครอบคลุม agriculture and forestry, biological sciences, veterinary science and sport science มีมหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้ารับการจัดอันดับ 972 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 77 มหาวิทยาลัย (ปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 895 มหาวิทยาลัย) และผลการจัดอันดับพบว่า 3 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดระดับโลก ได้แก่
1. Harvard University (United Kingdom)
2. University of Cambridge (United Kingdom)
3. Massachusetts Institute of Technology (United States)

สัดส่วนการให้ค่าน้ำหนักในกลุ่มสาขา Life science มีดังนี้ และมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี academic staff ในสาขา Life sciences อย่างน้อย 5% หรือ จำนวน 50 คน

  • Teaching: the learning environment                           ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • Research: volume, income and reputation                   ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • Citations: research influence                                     ให้ค่าน้ำหนัก 35 per cent
  • International outlook: staff, students and research       ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent
  • Industry income: innovation                                      ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

เป็นที่น่าสนใจว่า มหาวิทยาลัยน้องใหม่ที่มีอายุไม่ถึง 30 ปี ของประเทศไทย มีความโดดเด่นในสาขา Life science ด้วย และ 3 อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่ดีที่สุด คือ
1. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (201-250)
2. มหาวิทยาลัยมหิดล (401-500)
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (501-600)

9. สาขา Physical sciences เป็นสาขาที่ครอบคลุม mathematics and statistics, physics and astronomy, chemistry, geology, environmental sciences, and earth and marine sciences เป็นสาขาที่มีการแข่งขันมากที่สุด คือ 1,227 มหาวิทยาลัย ในปี 2022 และเพิ่มขึ้นจากปี 2021 จำนวน 78 มหาวิทยาลัย (ในปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 1,149 แห่ง)  ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในกลุ่มนี้ 3 อันดับที่ดีที่สุดระดับโลกคือ
1. University of California, Berkeley (United States)
2. California Institute of Technology (United States)
3. Princeton University (United States)

เมื่อพิจารณาจากการให้ค่าน้ำหนักคะแนน มีความใกล้เคียงกับสาขาอื่นๆ และมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี academic staff ในสาขา Physical sciences อย่างน้อย 5% หรือ จำนวน 50 คน

สัดส่วนค่าน้ำหนักคะแนน

  • Teaching: the learning environment                            ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • Research: volume, income and reputation                    ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • Citations: research influence                                      ให้ค่าน้ำหนัก 35 per cent
  • International outlook: staff, students and research     ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent
  • Industry income: innovation                                       ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

มหาวิทยาลัยของไทยที่มีความโดดเด่นในกลุ่มสาขานี้ได้แก่
1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (501-600)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (601-800)
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (801-1000)

10. สาขา Psychology ประกอบด้วย psychology, including educational, sport, business, animal and clinical psychology จำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้ารับการจัดอันดับในปี 2022 คือ 568 แห่ง เพิ่มขึ้น 35 แห่ง (ปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 533 แห่ง) ผลการจัดอันดับระดับโลก 3 อันดับแรกได้แก่
1. University of Cambridge (United Kingdom)
2. Stanford University (United States)
3. Princeton University (United States)

มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี academic staff ในสาขา Psychology อย่างน้อย 1% หรือ จำนวน 20 คน สำหรับสัดส่วนค่าน้ำหนักในเกณฑ์ย่อยมีรายละเอียดดังนี้

  • Teaching: the learning environment                            ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • Research: volume, income and reputation                   ให้ค่าน้ำหนัก 27.5 per cent
  • Citations: research influence                                     ให้ค่าน้ำหนัก 35 per cent
  • International outlook: staff, students and research    ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent
  • Industry income: innovation                                      ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

ในกลุ่มสาขานี้ มหาวิทยาลัยของไทยไม่ติดอันดับ

11. สาขา Social sciences ครอบคลุม communication and media studies, politics and international studies (including development studies), sociology and geography มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 870 แห่ง ในปี 2022 และมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น 79 แห่ง เมื่อเทียบกับปี 2021 (ปี 2021 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 791 แห่ง) ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นในสาขา Social science 3 อันดับ ได้แก่
1. University of Oxford (United Kingdom)
2. Massachusetts Institute of Technology (United States)
3. Stanford University (United States)

มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จะต้องมี academic staff ในสาขา Psychology อย่างน้อย 4% หรือ จำนวน 40 คน สัดส่วนการให้ค่าน้ำหนักคะแนนในเกณฑ์ย่อย มีรายละเอียดดังนี้

  • Teaching: the learning environment                            ให้ค่าน้ำหนัก 32.4 per cent
  • Research: volume, income and reputation                   ให้ค่าน้ำหนัก 32.6 per cent
  • Citations: research influence                                     ให้ค่าน้ำหนัก 25 per cent
  • International outlook: staff, students and research         ให้ค่าน้ำหนัก 7.5 per cent
  • Industry income: innovation                                      ให้ค่าน้ำหนัก 2.5 per cent

และมหาวิทยาลัยไทยที่โดดเด่นที่สุด 3 แห่งที่ได้รับการจัดอันดับในกลุ่มนี้ คือ
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (301-400)
2. มหาวิทยาลัยมหิดล (401-500)
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (501-600)

ภาพรวมสำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้น มีเพียง 3 สาขาที่มหาวิทยาลัยไทยยังไม่ติดอันดับ ได้แก่ สาขา Arts& humanities สาขา Law และสาขา Psychology

สาขาที่มหาวิทยาลัยไทยได้อันดับดีที่สุดคือสาขา Clinical and Health โดย มหาวิทยาลัยมหิดล (151-175) สาขา Education โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (176-200) และสาขา Life science โดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (201-250)

สาขาที่มหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วมจัดอันดับมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ สาขา Physical sciences (1,227 แห่ง) รองลงมาคือ สาขา Engineering (1,188 แห่ง) และสาขา Life sciences (972 แห่ง)

ผู้เขียนได้พูดถึงคำว่า Academic staff จึงขออธิบายให้เข้าใจตรงกันตามที่ THE ได้นิยามไว้ว่า academic staff นั้น จะต้องเป็นอาจารย์ประจำทำงานแบบเต็มเวลา (FTE: full-time equivalent) และได้รับการจ้างในฐานะ  academic post เช่น  lecturer, reader or professor

กล่าวโดยสรุปแล้ว THE World University Rankings by Subject นั้นจำแนกเป็น 11 สาขา แต่ละสาขาจะมีการกำหนดจำนวน publications ย้อนหลัง 5 ปี แตกต่างกัน กำหนดสัดส่วนอาจารย์ประจำในแต่ละสาขาไม่เท่ากัน และนอกจากเกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ THE ทั้ง 13 ข้อที่จะนำมาคิดคะแนนแล้ว สัดส่วนน้ำหนักคะแนนการจัดลำดับ subject rankings ในเกณฑ์ย่อยของแต่ละสาขานั้นจะมีการพิจารณาให้ค่าน้ำหนักคะแนน (weightings)  แตกต่างกันไป มหาวิทยาลัยที่สนใจจะยกระดับความสามารถทางวิชาการแบบจำแนกตามสาขา (subject rankings) สามารถใช้เกณฑ์เหล่านี้กลับไปดูว่าสถาบันมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ขั้นต่ำเหล่านี้หรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวน publications และจำนวน อาจารย์ full time จากสถิติจะพบว่าจำนวนมหาวิทยาลัยในที่เข้าร่วมในแต่ละสาขานั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง แต่เป็นสิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

กราฟแสดงจำนวนสถาบันการศึกษาที่เข้ารับการจัดอันดับเปรียบเทียบปี 2021 และ 2022
ตารางแสดงจำนวนสัดส่วน academic staff แต่ละสาขาวิชา
ผู้เขียน: จิราพร กาฬสุวรรณ
ศูนย์กิจการนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
25 พฤษภาคม 2565
Facebook Comments Box