Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ผลการจัดอันดับ THE Asia University Rankings 2022


หลังจากที่ THE Asia University Rankings ประกาศผลทาง website เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยหลายแห่ง ต่างใจจดใจจ่อรอทราบผลการจัดอันดับของตนเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการ Reinventing มหาวิทยาลัยของไทย และการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษา นั้น แน่นอนว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ ทุกแห่ง ในที่นี้ล้วนลุ้นเพื่อรอทราบผล ในที่นี้ผู้เขียนขอเน้นไปที่มหาวิทยาลัยในกลุ่ม 1 (G1: Global and Frontier Research) ที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษว่า ทั้ง 16 แห่ง นั้นอยู่ตรงไหนในกระดานนี้บ้าง

ปี 2022 มีมหาวิทยาลัยในเอเชียเข้าร่วมทั้งหมด 616 แห่ง จาก 31 ประเทศ ตัวชี้วัดที่ THE ใช้ มีทั้งหมด 13 ตัวชี้วัดหลัก (13 performance indicators) เช่นเดียวกับระดับ World University Rankings โดยวัดจากด้านการสอน (teaching) การวิจัย(research) การถ่ายโดยความรู้ (knowledge transfer) และ (international outlook) ด้านความเป็นสากล แต่น้ำหนักค่าคะแนนแต่ละตัวชี้วัดต่างกันนิดหน่อย จะเทียบให้ดูดังนี้นะคะ

เข้าใจหลักเกณฑ์กันแล้ว คราวนี้มาดูผลการจัดอันดับ THE Asia University Rankings ปี 2022 อันดับที่ดีที่สุด 1-10 ของ Asia กันว่ามหาวิทยาลัยใดในประเทศใดบ้าง ที่อยู่ใน 10 อันดับแรก และ THE ก็ได้จัดลำดับมาให้เราเรียบร้อยแล้ว ดังแสดงรายละเอียดในตารางข้างล่างนี้ (Credit ภาพตาราง โดย THE)

                           (Credit ภาพตาราง โดย THE Asia University Rankings Report 2022)

แน่นอนว่า Tsinghua University ของประเทศจีน รั้งอันดับ 1 และรั้งอันดับนี้ต่อเนื่องมา 3 ปีรวด และตามมาติดๆ ด้วยตำแหน่งรั้งอันดับ 2 คือ มหาวิทยาลัย Peking Universities ของประเทศจีน ส่วนอันดับที่ 3 ในปีนี้ คือ National University of Singapore ตามด้วย University of Hong Kong ฮ่องกง, Nanyang Technological University สิงคโปร์ อันดับ 6 ตกเป็นของ The University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น อันดับ 7 Chinese University of Hong Kong ฮ่องกง อันดับ 8 เป็นของ Seoul National University เกาหลีใต้ อันดับ 9 the Hong Kong University of Science and Technology ฮ่องกง และอันดับ 10 คือ Fudan University ประเทศจีน 

ทั้ง 10 อันดับมหาวิทยาลัยในระดับเอเชียที่ได้รับการจัดอันดับล้วนตั้งอยู่ในประเทศจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยมหาวิทยาลัยเหล่านี้ ได้รับการจัดอันดับในระดับโลก THE World University Rankings ที่ระดับสูงมากๆ เช่นเดียวกัน

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย อยู่ตรงไหนกันบ้าง มาดูผลกันค่ะ

ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการจัดอันดับ THE Young University Rankings 2022

จากตารางที่ 1  จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยที่ได้อันดับระดับเอเชียที่ดีที่สุดในปี 2022 คือ มหาวิทยาลัยมหิดล รองลงมาคือจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัยครองลำดับร่วมกับ KMUTT และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตามด้วยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และเมื่อดูคะแนนรวมแล้วคะแนนที่ได้ยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดใน 10 อันดับแรกของเอเชีย ทำให้ผู้เขียนไม่กล้าจินตนาการไปว่า แล้วถ้าระดับโลกจะเป็นอย่างไร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ของเราจะอยู่ตรงไหน

ตารางที่ 2 ตารางเปรียบเทียบคะแนนรวม ระหว่าง 10 มหาวิทยาลัยอันดับดีที่สุดในเอเชีย กับมหาวิทยาลัยไทย

ตารางที่ 2 ผู้เขียนเปรียบเทียบคะแนนรวมให้เห็นชัดๆ ว่า มหาวิทยาลัยลำดับที่ 1 ของเอเชียเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของไทยเป็นอย่างไร ผู้อ่านอาจจะอยากรู้เพิ่มเติมว่า คะแนนรายด้านตามตัวชี้วัด เช่น citations, industry income, international outlook, research และ teaching  อยู่ที่ระดับใด จำนวนนักศึกษา จำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ จำนวนนักศึกษาต่างชาติ หรือสัดส่วนชายหญิง ผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดเหล่านี้ได้จาก https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2022/regional-ranking#!/page/0/length/25/sort_by/scores_overall/sort_order/asc/cols/stats

หมายเหตุ: ชื่ออักษรย่อมหาวิทยาลัยไทย ในตารางที่ 2
KMUTT= King Mongkut’s University of Technology Thonburi
MFU= Mae Fah Luang University
CU= Chiang Mai University
KKU= Khon Kaen University
KMUTL= King Mongkut’s University of Technology Ladkrabang
TU= Thammasat University
BU= Burapha University
KU= Kasetsart University
KMUTNB= King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
MU= Mahasarakham University
NU= Naresuan University
PSU= Prince of Songkla University
SU= Silpakorn University
SWU= Srinakharinwirot University

ความน่าสนใจของการจัดลำดับมหาวิทยาลัยอีกประการ คือ หากเราต้องการจะทราบ หรือต้องการจะเปรียบเทียบว่า มหาวิทยาลัยของเรากับมหาวิทยาลัยที่เราสนใจนั้น อยู่ในลำดับใดหรือถ้าเราจะประสบความสำเร็จแบบเขาต้องทำอย่างไร เราสามารถทำ benchmarking ในด้านต่างๆ เพื่อให้สำเร็จเหมือนมหาวิทยาลัยเหล่านั้น การจัดลำดับมหาวิทยาลัยจะเป็นเครื่องมืออย่างดีที่จะทำให้ การทำ benchmarking ง่ายขึ้น

และด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยในอาเซียน เมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยในอาเซียนด้วยกันแล้ว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อยู่ตรงไหน เราสามารถทำได้ง่ายๆ ดังข้อมูลที่แสดงในตารางที่ 3

ผู้เขียนขอเลือกประเทศมาเลเซีย เวียดนาม บรูไน และอินโดนีเซีย ในการเปรียบเทียบ สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ (มีเพียง 2 มหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับ คือ University of the Philippines (อันดับ 129) และ De La Salle University (อันดับ 401-500) ประเทศกัมพูชา (มี reporter status 1 มหาวิทยาลัยคือ University of Puthisastra) ทั้ง 3 ประเทศยังได้อันดับที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงไม่นำมาเปรียบเทียบ ส่วนประเทศสิงคโปร์นั้นอยู่ในอันดับที่สูงมากอยู่แล้ว

ตารางที่ 3 ตารางแสดงอันดับมหาวิทยาลัยในอาเซียน เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน และอินโดนีเซีย

 

ภาพตารางที่ 1 Top Asia University Rankings 2022 ในประเทศต่างๆ และจำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม

ภาพตารางที่ 2 Top Asia University Rankings 2022, 2021 และ Position ระดับ World University Rankings จำแนกเป็นประเทศ และระดับคะแนนรวมกับคะแนนรายด้าน ลำดับที่ 1-50

ภาพตารางที่ 3 Top Asia University Rankings 2022, 2021 และ Position ระดับ World University Rankings จำแนกเป็นประเทศ และระดับคะแนนรวมกับคะแนนรายด้าน ลำดับที่ 51-99

ภาพตารางที่ 4 Top Asia University Rankings 2022, 2021 และ Position ระดับ World University Rankings จำแนกเป็นประเทศ และระดับคะแนนรวมกับคะแนนรายด้าน ลำดับที่ 101-149

ในตารางนี้ จะเห็นมหาวิทยาลัยมหิดล ของประเทศไทย ที่ได้รับการจัดอันดับ 145 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 8 ของอาเซียน และอันดับ 1 ของประเทศไทย

ภาพตารางที่ 5 Top Asia University Rankings 2022, 2021 และ Position ระดับ World University Rankings จำแนกเป็นประเทศ และระดับคะแนนรวมกับคะแนนรายด้าน ลำดับที่ 152-200

ภาพตารางที่ 6 Top Asia University Rankings 2022, 2021 และ Position ระดับ World University Rankings จำแนกเป็นประเทศ และระดับคะแนนรวมกับคะแนนรายด้าน ลำดับที่ 201-250

ในภาพตารางนี้ จะเห็นว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับที่ 201-250 ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ภาพตารางที่ 7 Top Asia University Rankings 2022, 2021 และ Position ระดับ World University Rankings จำแนกเป็นประเทศ และระดับคะแนนรวมกับคะแนนรายด้าน

Credit ภาพตารางที่ 1-7 โดย THE Asia University Rankings Report 2022)

ผู้เขียนขอกลับไปยังคำถามที่ได้เปิดประเด็นไว้ในช่วงต้นว่า ในฐานะที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 1 (G1) หรือ กลุ่มวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research University) และมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกจำนวน 15 มหาวิทยาลัยรวมเป็น 16 มหาวิทยาลัย นั้น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยอีก 15 แห่ง นั้นมีตำแหน่งอยู่ตรงในในกระดาน นี้

อันดับ THE Asia University Rankings 2022 ในกลุ่มมหาวิทยาลัย G1 (Global and Frontier Research University)

1. มหาวิทยาลัยมหิดล                     อันดับ 145

2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย               อันดับ 201-250

3. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธนบุรี    อันดับ 201-250

4. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง               อันดับ 201-250

5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                  อันดับ 301-350

6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี        อันดับ 351-400

7. มหาวิทยาลัยขอนแก่น                  อันดับ 401-500

8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์              อันดับ 401-500

9. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์             อันดับ 501+

10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม            อันดับ 501+

11. มหาวิทยาลัยนเรศวร                  อันดับ 501+

12. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์        อันดับ 501+

13. มหาวิทยาลัยศิลปากร                 อันดับ 501+

14. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์              อันดับ Reporter

15. สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์       อันดับ n/a

16. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)    อันดับ n/a

NIDA และ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (Chulabhorn Graduate Institute) ไม่สามารถเข้าร่วมการจัดอันดับได้เนื่องจากไม่ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี

เมื่อผู้อ่านได้อ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่าภาพตาราง (1-7)  เปรียบเทียบอันดับมหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศนั้นแสดงให้เห็นถึงผลการ perform ในแต่ละด้านว่าอยู่ในระดับใด มีคะแนนรวม (overall) เท่าไหร่ การที่จะยกระดับมหาวิทยาลัยให้อยู่ในตำแหน่งที่ดี และดีขึ้นในทุกๆ ปี นั้น มีผู้รู้หลายท่านกล่าวไว้ว่า จะแข่งขันให้ชนะก็ต้องรู้กฏกติกา หมายความว่า ต้องรู้และเข้าใจเกณฑ์ในการจัดอันดับว่าสถาบันที่จัดอันดับวัดผลจากตัวชี้วัดอะไรบ้าง มหาวิทยาลัยที่ส่งข้อมูลเข้ารับการจัดอันดับล้วนเข้าใจกฏเกณฑ์เหล่านั้นเป็นอย่างดี ผลลัพธ์ในแต่ละเกณฑ์ทำให้ผลการจัดอันดับแต่งต่างกันออกไป และที่สำคัญค่าคะแนนผลลัพธ์ตามเกณฑ์เหล่านั้นยังมีการแข่งขันกับสถาบันอื่นๆ อื่นๆ ด้วย ดังนั้นขณะที่เราพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ให้บรรลุตามเกณฑ์เหล่านั้น  มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วโลก ก็ปรับปรุงและพัฒนาผลผลิตของแต่ละเกณฑ์เช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายอย่างยิ่งที่จะทำให้มหาวิทยาลัยไทยหรือมหาวิทยาลัยในอีกหลายๆ ประเทศ สามารถยกระดับการจัดลำดับขึ้นมาให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในเกมส์นี้แล้ว เชื่อว่าทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทยพร้อมที่จะปรับกลยุทธ์เพื่อให้เป็นผู้ชนะในเกมส์นี้ นั่นคือเพื่อให้มหาวิทยาลัยของตนเองประสบความสำเร็จในการจัดอันดับ ในระดับที่ต้องการ และดีขึ้นในทุกๆ ปี

Facebook Comments Box