Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ออกแบบ Banner Ads สำหรับ GDN  เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนับล้านเว็บไซต์

google display network

      Google Display Network หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า GDN เป็นหนึ่งใน products ของ Google ที่เปิดให้เว็บไซต์ต่างๆ นำ Banner ของเราไปโฆษณาบนเครือข่ายพันธมิตรของ Google ทั่วโลก รวมทั้ง YouTube ก็มีโฆษณาของ GDN ปรากฏอยู่ด้านล่างตอนเราดูคลิปวีดิโอ

       การทำ Banner Ads เพื่อโฆษณาบนช่องทาง GDN นั้นจะใช้หลักการออกแบบเหมือนกับสื่อโฆษณาทั่วไป เพียงแต่จะมีเงื่อนไขในเรื่องของขนาดภาพและขนาดไฟล์ที่ทาง Google กำหนดไว้  เพราะฉนั้นเรามาดูขนาด Banner GDN กันก่อน

ควรจะใช้ Banner ขนาดเท่าไรดี

       GDN มีการใช้ Banner ที่หลากหลายขนาด ซึ่งแต่ละขนาดก็จะแสดงผลในตำแหน่งที่เหมาะสมในหน้าเว็บไซต์ และเหมาะสมกับอุปกรณ์ของผู้เข้าชม ไม่ว่าจะเปิดด้วย เดสก์ท็อป แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ก็ให้การแสดงผลที่สวยงาม โดยในบทความนี้จะขอนำเสนอขนาดมาตรฐาน 4 ขนาดคือ

Medium Banner 300X250

Medium Banner 300X250

       เป็นหน่วยโฆษณาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการโฆษณาออนไลน์ ขนาด 300×250 ยังใช้งานได้หลากหลาย โดยเป็นหนึ่งในหน่วยโฆษณาที่ดูดีทั้งบนหน้าจอเดสก์ท็อปและโทรศัพท์มือถือ

Square 250 x 250

Square 250 x 250

       เป็นขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่พบเห็นทั่วไป นิยมใช้กับงานแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือ หรือ โซเชี่ยลมีเดีย

Half Page 300X600

Half Page 300X600

       หน่วยโฆษณาแบบครึ่งหน้าขนาด 300×600 เป็นหน่วยโฆษณาที่สามารถแสดงรายละเอียดได้มาก และจะนิยมแสดงผลที่ด้านซ้ายหรือ ขวา ของเว็บไซต์

Leaderboard 728X90

Leaderboard 728X90

       เป็นขนาดแนวนอนสัดส่วนค่อนข้างแบน เราจะพบเจอในโฆษณาของหน้า YouTube ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ออกแบบยาก อารมณ์จะคล้ายกับออกแบบป้ายติดสะพานลอย

       จากขนาดของ Banner ที่มีความหลากหลาย การออกแบบต้องคิดเผื่อไว้ให้ดีตั้งแต่ต้น เพราะมีทั้งแนวตั้ง แนวนอน สี่เหลี่ยมจัตุรัส บางขนาดก็เป็นผืนผ้าแคบๆ ที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดในการวางภาพ และข้อความ

ประเภทไฟล์ที่สามารถใช้ได้

       ไฟล์กราฟฟิกที่รองรับก็จะมีตั้งแต่ .GIF, .JPG, .JPEG, .PNG โดยเฉพาะ .Gif เราสามารถทำเป็น Gif Animation ได้ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และแก้ปัญหาเรื่องข้อมูลไม่จบในภาพเดียว ความยาวของ Animation ต้องไม่เกิน 30 วินาที และอย่าสลับภาพเร็วเกินไป เพราะจะสร้างความรำคาญให้กับผู้เข้าชม

ขนาดไฟล์จำกัดไม่เกิน 150 KB

       ถ้าเราจะทำภาพ Gif Animation ก็อย่าให้ไฟล์ใหญ่เกิน 150 kb  เกินไป 1 kb ก็ไม่ผ่าน 

       เทคนิคการทำไฟล์ Gif Animation ให้เล็ก อยู่ที่การเลือกภาพที่ไม่มีการไล่เฉดสีเยอะ ถ้าได้สีพื้นๆ เรียบๆ จะลดขนาดไฟล์ได้มาก เพราะไฟล์ Gif จะอ่านค่าจากจำนวนเม็ดสี ยิ่งเม็ดสีเยอะไฟล์ยิ่งบวม 

การเลือกภาพประกอบ และ Background ที่เหมาะสม

       ภาพประกอบต้องมีคุณภาพสูง คม ชัด สะดุดตา และสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์ ส่วนของ Background โดยมากจะนำสีของแบรนด์มาใช้เพื่อให้คนเกิดภาพจำ พอเห็นสีก็รู้แล้วว่าอันนี้โฆษณาของใคร บริษัทไหน

ตำแหน่งใดที่เหมาะ กับ โลโก้ของคุณ ?

ตำแหน่งการจัดวาง Logo

       การวางโลโก้บนแบนเนอร์โดยทั่วไปมีอยู่ 3 แนวทางคือ ที่มุมซ้ายบน มุมบนตรงกลาง หรือมุมขวาบน  แต่มุมซ้ายบนนั้นดูจะเหมาะสำหรับการวางตำแหน่งของโลโก้ที่สุด เพราะนิสัยการอ่านของคนไทยคือการกวาดสายตาจากทางซ้ายไปขวา ทำให้มองเห็นมุมฝั่งซ้ายก่อน

การเลือกข้อความพาดหัว

       การเลือกข้อความพาดหัว เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดในการออกแบบ Banner Ads ควรใช้ข้อความสั้นๆ ชัดเจน น่าสนใจ สื่อถึงตัวตนของแบรนด์ได้อย่างดี และที่สำคัญควรวางในตำแหน่งที่ดีที่สุดของ Banner ซึ่งโดยมากจะอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางภาพ หรือกลางบนของภาพ แล้วแต่ขนาดของ Banner

ใส่ข้อความกระตุ้น Call to Action

Call to Action

       Call to Action คือ คำกระตุ้นการตัดสินใจหรือคำสั่งที่เป็นข้อความที่เอาไว้ใช้ในแคมเปญการตลาด ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าชมทำตามที่คุณต้องการ อาจจะอยู่ในลักษณ์ของปุ่ม เช่น ลงทะเบียนฟรี  สมัครเลย! หรือ ซื้อเลย! เพื่อบอกให้ผู้ใช้รู้ว่าแบนเนอร์นี้คลิกได้ และจะไปขั้นตอนไหนต่อไป

       เป็นอันเสร็จเรียบร้อยในการออกแบบ Banner GDN แต่มีอีกอย่างที่สำคัญคือหน้าเว็บไซต์ที่ผู้เข้าชมคลิกเข้าไปจากตัว Banner หรือที่เรียกว่า Landing Page ซึ่งจะเป็นหน้าของเว็บไซต์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อต้องการบอกให้ผู้เข้าชมทราบถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อสาร และต้องการให้ผู้เข้าชมคล้อยตามในเนื้อหานั้น ๆ

สรุป

Google Display Network หรือ GDN เป็นหนึ่งในทางเลือกการทำโฆษณาผ่านเว็บไซต์เครือข่ายของ Google ที่ช่วยให้แบรนด์ของคุณสามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก 

Source:

ขนาด Banner: https://support.google.com

การศึกษาการวางตำแหน่งโลโก้ที่เหมาะสม:  Nielsen Norman Group 

บทความโดย: นายบรรพต ใบมิเด็น
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Facebook Comments Box