Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

THE Young University Rankings 2022

การจัดอันดับ THE Young University Rankings หรือมหาวิทยาลัยที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ใช้ 13 ตัวชี้วัด (13 performance indicators) เช่นเดียวกับ World University rankings แต่ให้ค่าน้ำหนัก weightingsต่างกัน 13 ตัวชี้วัดย่อยมาจาก  5 ตัวชี้วัดหลัก คือ  TEACHING,RESEARCH,CITATIONSINTERNATIONAL OUTLOOKและ INDUSTRY INCOME (knowledge transfer)  THE Young University Rankings 2022 เป็น rankings ล่าสุด ส่วนปี 2023 ยังไม่ประกาศผล

ตารางที่ 1 แสดงสัดส่วน ค่าน้ำหนัก ของ THE Young University Rankings

THE Young University Rankings ปี 2022 เข้าร่วมทั้งหมด 539 มหาวิทยาลัยทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี 2021 จำนวน 64 มหาวิทยาลัย (ปี 2021 เข้าร่วม 475 มหาวิทยาลัย) มี 251 มหาวิทยาลัย ที่ได้ “reporter” status มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคุณสมบัติใน rankings นี้ คือ มหาวิทยาลัยที่ไม่มีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี หรือ จำนวน publications ระหว่างปี 2016-2020 ต่ำกว่า 1,000 ชิ้น และจะต้องไม่ต่ำกว่า 150 ชิ้นต่อปี หรือมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัย 80% ขึ้นไปจำกัดอยู่ในสาขาใดสาขาหนึ่งของ 11 สาขา (11 subject areas)
ด้าน Academic reputation จะเป็นการสะท้อนด้านการสอนของมหาวิทยาลัย จะมีการสำรวจช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และมีผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 22,000 คนจากทั่วโลก
ด้าน Citations ข้อมูลมาจากวารสารวิชาการมากกว่า 24,600 ฉบับ โดย Elsevier’s Scopus database and all indexed publications ระหว่างปี 2016-2020 ส่วน citations จะนับ 6 ปี คือ 2016-2021
 
THE Young University ระดับโลก ปี 2022 ในภาพรวม
1.  UK เป็นประเทศที่มี world’s top young universities มากกว่าชาติอื่นๆ ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 อย่าง คือ 1) ระบบ Higher education ของประเทศ และ 2) มีความเชื่อมโยงกับโลก มากที่สุด
2.  India และ Turkey เข้าร่วม THE Young University มากกว่า 40 มหาวิทยาลัย ขณะที่ อิหร่านเข้าร่วมถึง 37 มหาวิทยาลัย 
3.  Young University ปี 2022 สะท้อนให้เห็นด้าน global higher education policy developments เช่น ที่อังกฤษ มี 2 policies ที่สำคัญ คือ การตื่นตัวของ Higher education และการอนุญาตให้ polytechnics เป็น universities มากกว่า 12 แห่ง
4.  สำหรับประเทศอินเดีย นั้น มีสถาบันทางด้าน Technology และมหาวิทยาลัยเอกชนเข้าร่วมมากขึ้น ส่วน ประเทศตุรกี มีมหาวิทยาลัยจำนวนมากตามจำนวนประชากรที่มากขึ้น  และจากสถิติพบว่า มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น 230% หรือเกือบ 8 ล้านคนระหว่างปี 2008-2019
5.  ใน เอเชีย และอาฟริกัน จะพบว่า demand กับ supply ไม่เพียงพอ การอุดมศึกษา (higher education) ยังไม่เข้มแข็ง หมายความว่า เรื่อง need สำคัญกว่า เรื่องมหาวิทยาลัย
6.  ประเทศฝรั่งเศส มีความน่าสนใจมาก เพราะมีมหาวิทยาลัยถึง 24 แห่ง ที่ได้รับการจัดอันดับในปีนี้ และหากย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน มีเพียง 16 มหาวิทยาลัยเท่านั้น  และในจำนวน 24 แห่ง พบว่า มีถึง 17 แห่ง ที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาและ 5 มหาวิทยาลัย อยู่ใน Top 20 มากกว่าประเทศใดๆ การเติบโตของมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพสูงในฝรั่งเศส จะต่างกับในอินเดีย และตุรกี คือไม่ใช่เพราะการขยายตัวของการอุดมศึกษา หรือการควบรวม แต่เป็นเพราะ รัฐบาลได้ขับเคลื่อน “mega universities” ที่ทำให้มีการมองเห็น (visible) ในระดับ global stage

ผลการจัดอันดับ 1-5 THE Young University
อันดับ 1     Paris Sciences et Lettres – PSL Research University Paris
อันดับ 2     Nanyang Technological University, Singapore
อันดับ 3     The Hong Kong University of Science and Technology
อันดับ 4     Erasmus University Rotterdam
อันดับ 5     Hong Kong Polytechnic University
อันดับที่ดีที่สุดของมหาวิทยาลัยไทย มี เพียง 3 มหาวิทยาลัย คือ
อันดับ 201-250      มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
อันดับ 351-400      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
401+                  มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยที่เหลืออยู่ในสถานะ “Reporter status” 5 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัชนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมังคลาล้านนา Sasin School of management มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 
  
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบ ผลการจัดอันดับ Young University ของมหาวิทยาลัยไทยทั้งหมดที่ผ่านมา
THE เริ่มจัดอันดับ Young University ในปีแรกคือ ปี 2012 จากตาราง จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส) เป็นมหาวิทยาลัยแรกของประเทศไทยที่เข้ารับการจัดอันดับ ในปี 2017 โดยในปีแรกนั้น มทส อยู่ที่อันดับ 151-200 ต่อมาในปี 2018 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารียังรักษาอันดับที่ 151-200 เอาไว้ได้ แต่ในปี 2019 อันดับหล่นลงมาที่ 201-250 ปี 2020 อันดับหล่นลงมาที่ 251-300 และหล่นลงมาต่อเนื่องในปี 2021 และปี 2022 คืออยู่ที่อันดับที่ 341-400
มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้ารับการจัดอันดับปีแรก ปี 2019 และได้รับการจัดอันดับที่ 301+ ปี 2020 อยู่ที่อันดับ 351-400 ปี 2021 อยู่ที่อันดับ 401+ และปี 2022 อยู่ที่อันดับ 401+ และเป็นไปได้ว่าอันดับจะต่ำลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เริ่มเข้ารับการจัดอันดับในปี 2020 และได้อันดับที่ 151-200 อันดับที่ดีที่สุดในปีแรกเช่นเดียวกับ มทส ที่ทำได้ในการสมัครครั้งแรก ต่อมาในปี 2021 และ 2022 อันดับหล่นลงมาที่ 201-250
 
 
มหาวิทยาลัยที่เหลือรวมทั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยังอยู่ใน Reporter status คือ ยังไม่เข้าเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด
สัดส่วนของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเพิ่มขึ้นในแต่ละปีนั้น มีเพียงปี 2020 ที่เกิน 100 มหาวิทยาลัย ที่เหลือ อยู่ระหว่าง 50-63 มหาวิทยาลัยเท่านั้นถือว่าไม่ได้สูงมากนัก

อาจจะสรุปได้ว่าแนวโน้ม ของ Thai young university นั้นคงได้อันดับที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่หากสามารถรักษามาตรฐานเอาไว้ได้ อาจจะยังสามารถรักษาระดับเดิมเอาไว้ได้ ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ผลที่ได้ของมหาวิทยาลัยไทยออกมาแบบนี้ THE ได้พูดถึงภาพรวมของมหาวิทยาลัยในเอเชียเอาไว้ว่า ประเทศในโซนนี้ ยังมี demand กับ supply ไม่เพียงพอ การอุดมศึกษา (higher education) ยังไม่เข้มแข็ง หมายความว่า เรื่อง need ยังสำคัญกว่า เรื่องมหาวิทยาลัย ก็อาจจะเป็นเรื่องจริง
 
 
ภาคผนวก

ข้อมูลภาพรวมของรายชื่อประเทศ จำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมของประเทศนั้น และชื่อมหาวิทยาลัยที่ได้อันดับที่ดีที่สุดของประเทศ (Credit ข้อมูลจาก THE)

ข้อมูลลำดับของมหาวิทยาลัยทั้งหมดที่ที่ได้รับการจัดอับดับ ตั้งแต่อันดับที่ 1 จนถึงอันดับสุดท้าย

ผู้เขียน:  จิราพร กาฬสุวรรณ
ศูนย์กิจการนานาชาติ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                       I 21 มิถุนายน 2565
Facebook Comments Box