นักสื่อสารแห่งโลกเงียบ

ใครๆ ก็มีอาชีพในฝัน

บ้างก็อยากเป็นผู้จัดการดารา มาสเตอร์เชพ coffee cupper หรืออีกมากมาย  ขึ้นอยู่กับปัจจัยและอารมณ์จะพาไป บางทีสัปดาห์นึงเป็นครบทุกอาชีพเลย

เมื่อมีความพร้อมทั้งวัยวุฒิ และคุณวุฒิ(อายุมาก) เกิดความอยาก อยากเรียนรู้ อยากทำตนให้เป็นประโยชน์  มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม เริ่มหาข้อมูล หาที่เรียน และ “ล่ามภาษามือ” เป็นอาชีพ  อีก 1 สิ่งที่อยากเรียนรู้

ล่ามภาษามือ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผู้สื่อสาร ไปยังผู้รับสาร การถ่ายทอดโดยทั่วไปจะเป็นการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เช่น ถ่ายทอดจากภาษาพูดไปเป็นภาษามือ หรือถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากภาษามือไปเป็น ภาษาพูด

“ล่ามภาษามือ เป็นสะพาน เป็นคนกลางเชื่อมโยง ถ่ายทอดข้อมูล 2 ฝั่ง ให้เข้าใจซึ่งกันและกัน”

                            สร้อยทอง  หยกสุริยันต์ ล่ามภาษามือ วิทยาลัยราชสุดา ม.มหิดล

“ล่ามภาษามือ เป็นงานบริการ งานอาสา งานสังคมสงเคราะห์ ต้องมีใจที่อยากทำ ถ้าคิดว่าคนพิการเป็นภาระของสังคม ก็จะเรียนไม่ได้”

                                         เพลงรบ  ฐิติกุลดิลก ล่ามภาษามือ วิทยาลัยราชสุดา ม.มหิดล

ปัจจุบันในประเทศไทยมีล่ามภาษามือที่จดแจ้งกับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ประมาณ 500 คน 

หากอยากเป็นล่ามมือ สามารถเรียนได้ 2 ทาง ทางที่ 1 คือ สอบเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรีที่วิทยาลัยราชสุดา ของมหาวิทยาลัยมหิดล และทางที่ 2 คือ เข้าเรียนหลักสูตรล่ามภาษามือเพื่อการสื่อสารจนผ่าน จะได้รับวุฒิบัตรรับรอง

ไปดูกันค่ะ ว่าอาชีพนี้สนุกและท้าทายยังไง แอบบอกเบาๆ ค่ะว่า น่าสนใจ โคตรภูมิใจกับคนที่ทำหน้าที่นี้เลย

 

ชมเสร็จหลับตา …แล้วยิ้มได้เลยน้าาาา

 …เป็นความฝันที่เป็นจริงได้ทุกเวลา ถ้าเรามีใจที่จะเรียนรู้ และเดินหน้าเต็มตัว ขอหยุดเพ้อ อุ๊บ! หยุดฝัน แล้วไปเรียนรู้เพิ่มเติมแบบง่าย ๆ ผ่านออนไลน์  เผื่ออาจจะเห็นคุณสุภาณี และเพื่อน ๆ อยู่ด้านล่างจอกันบ้าง อย่าลืมมาบอกเล่ากันนะคะ ใครฝันเป็นล่ามภาษามือ นักสื่อสารแห่งโลกเงียบบ้าง ยกมือขึ้นจ้าาาา

โดย สุภาณี  เพชรานันท์ ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Facebook Comments Box