Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
เทพรัตนราชสุดาฯ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                แนวคิดในการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์       ( MAHA CHAKRI SIRINDHORN Natural History Museum, Walailak University ) ได้ออกแบบอาคารเป็นเลข 8 สื่อความหมายถึงความต่อเนื่องยั่งยืน (Infinity) ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมภูมิปัญญา มีลานจำลองน้ำตกกรุงชิง สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของเทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และลานจำลองทะเลเทียมและชายหาด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรอ่าวไทย  ตามแนวคิด “ตามรอยเจ้าฟ้าจากยอดเขาสู่ใต้ทะเล” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตัวอาคารตั้งอยู่ริมอ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ภายในอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมีฉากหลังเป็นเทือกเขาหลวง

จัดแสดงเนื้อหานิทรรศการเป็น 8 ห้องนิทรรศการ

ห้องที่ 1 ห้องเกริกไกรเจ้าฟ้านักอนุรักษ์

        มีเนื้อหาจัดแสดงแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ พระราชประวัติการก่อตั้ง อพ.สธ. เป้าหมายรวมและภารกิจ 30 ปี อพ.สธ.และผลงานวิจัยและบริการวิชาการที่เชื่อมโยงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชภาคใต้ ภายใต้โครงการสนองพระราชดาริฯ เนื่องใ นวาระครบรอบ 30 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ห้องที่ 2 หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน

        จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพยากรถิ่นใต้ งานวิจัย และงานสนองพระราชดำริ อาทิ งานฐานข้อมูลทรัพยากร งานฝึกอบรม งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นและสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน คลังข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ งานวิจัยด้านโบราณคดี ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์

ห้องที่ 3 เขาหลวงทรัพยากรมากมี

        จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพยากรถิ่นใต้ โดยมุ่งเน้นทรัพยากรในพื้นที่เทือกเขาหลวง เพื่อให้จัดแสดงให้เห็นความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมภูมิปัญญา การจัดแสดงแบบจาลองน้ำตกกรุงชิง การจำลองตัวอย่างพืชและสัตว์ที่พบในเขาหลวง ตู้แสดงระบบนิเวศป่าฝนร้อนชื้นและพันธุ์พืชที่สาคัญในเขตพื้นที่เขาหลวงและพื้นที่ภาคใต้ และการใช้สื่อนำชมแบบเสมือนจริง

ห้องที่ 4 ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น

        จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับผลงานวิจัย และการดำเนินงานสนองพระดำริฯ ที่ดำเนินงานภายใต้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และภาคีเครือข่าย ในการอนุรักษ์ พัฒนา และต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าและความยั่งยืนของทรัพยากรทั้ง 3 ฐาน คือ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมภูมิปัญญา เช่น การสกัดสารจากสมุนไพรและพืชชนิดต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาและอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมชุมชน การพัฒนาต่อยอดทรัพยากรสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และสินค้าเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่า ส่งเสริมให้ชุมชนนำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามแนวทางที่ อพ.สธ.กำหนดไว้

ห้องที่ 5 ทรัพยากรลุ่มน้ำปากพนัง

        จัดแสดงเนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อาทิ ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา และระบบนิเวศป่าจาก สายพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ส้มโอทับทิมสยาม ผักพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น เพื่อสื่อให้เห็นถึงการส่งเสริมให้ท้องถิ่นนาความรู้จากงานวิจัยและบริการวิชาการภายใต้โครงการพระราชดำริฯ ไปพัฒนาและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรในท้องถิ่น โดยการบูรณาการกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ห้องที่ 6 ชายฝั่งอุดมสมบูรณ์

        จัดแสดงเนื้อหาการจำลองกายภาพของชายหาด โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงวัตถุจริงบางส่วน ตู้กระจกแสดงระบบ นิเวศป่าชายหาดและป่าชายเลน พันธุ์พืชในเขตพื้นที่ ตัวอย่างจริงของสัตว์และพืช การจัดแสดงภาพถ่ายวิถีชีวิตผู้คนริมชายฝั่งอ่าวไทย นิทรรศการผลการดำเนินงานบริการวิชาการเด่นของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่สำคัญได้แก่ “ปูม้ายั่งยืนคู่ทะเลไทย และงานวิจัยสารวจเบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากชนิดของกุ้งทะเล และกั้งตั๊กแตนบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น

ห้องที่ 7 บริบูรณ์ทรัพยากรอ่าวไทย

        นำเสนอเกี่ยวกับตู้กระจกแสดงสัตว์น้ำ มีระบบแสง สี ประกอบความตื่นเต้น รวมถึงกระดูกวาฬขนาดใหญ่ และการนำเสนอผลการดาเนินงานวิจัยและบริการวิชาการ ภายใต้การสนับสนุนของ อพ.สธ. และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรท้องทะเลอ่าวไทยที่สาคัญได้แก่ “ธนาคารปลิงทะเล : การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ของปลิงทะเลอย่างยั่งยืน”

ห้องที่ 8 ประโยชน์แท้แก่มหาชน

        เป็นการสรุปองค์ความรู้จากทุกห้องที่จัดแสดงเพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งหมายต่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ผ่านการนาเสนอผลงานสนองพระราชดาริฯ อพ.สธ. ในนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่การนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการสร้างจิตสานึกรักทรัพยากรในจิตใจของผู้เข้าชมในรูปแบบภาพยนต์สั้น และ E-BOOK ในท่ามกลางบรรยากาศผ่อนคลาย สามารถชมลานน้ำตกจำลอง และลานชายหาดจำลองเพื่อสร้างความเพลิดเพลินใจและเกิดความสุขในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

        จากแนวคิดการจัดแสดงนิทรรศการทั้ง 8 ห้องที่ประกอบเข้าไปในอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นการรวบรวมองค์ความรู้และอัตลักษณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาของภาคใต้ นำเสนอผ่านสื่อนิทรรศการดังกล่าว ซึ่งมีการนำสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจกระตุ้นการเรียนรู้แก่ผู้เข้าชม ให้มีความสนุกเพลิดเพลินไปกับการเรียนรู้เชิงวิชาการเป็นแหล่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และเกิดภาพความทรงจำที่เต็มไปด้วยความประทับใจแล้วอยากกลับมาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แห่งนี้อย่างไม่รู้จบ ดังแนวคิดการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ได้ออกแบบเป็นเลข 8 สื่อความหมายถึงความต่อเนื่องยั่งยืน (Infinity) ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้ดารงอยู่คู่สังคมไทยอย่างยั่งยืนสืบไป

นางสาวสายฝน จิตนุพงศ์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
ฝ่ายพิพิทธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
อุทยานพฤกษศาสตร์
29 พฤศจิกายน 2565

Facebook Comments Box