Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
ช้างกระดูกผิดรูปเกิดจากการเบิกนักท่องเที่ยวมา 25 ปี จริงหรือไม่??

เรามาตามติดวิเคราะห์กันต่อกับกรณีช้างกระดูกผิดรูปหลังแบกนักท่องเที่ยวมายาวนาน 25 ปี

ช้างเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความสามารถในการลากจูงของหนักๆได้มากกว่า 1 ตัน แต่ความสามารถในการแบกน้ำหนักนั้นทำได้แค่เพียง 300-400 กิโลกรัมเท่านั้น เนื่องจากลักษณะของสันหลังมีลักษณะเป็นสันขึ้นมา ไม่ได้แบนเพื่อรองรับน้ำหนักโดยตรงแต่อย่างใด ดังนั้นการออกแบบ “แหย่ง” สำหรับบรรทุกคนหรือของ จะถูกออกแบบให้มีรูปทรงดังภาพ เพื่อมิให้ไปกดทับกระดูกสันหลัง ซึ่งช้างอาจจะเจ็บและไม่ยอมให้บรรทุกบนหลังอีกต่อไป นอกจากนี้ควาญช้างยังใช้เปลือกไม้ / ผ้าหนา / กระสอบ เอามารองบนตัวช้างก่อนอีกหลายชั้นเพื่อมิให้ช้างเจ็บและเกิดความกระชับยิ่งขึ้นในการมัดหรือยึดกับตัว ซึ่งหากไม่รองเอาไว้ แหย่งมักจะเลื่อนไหล ไม่สามารถมัดได้

ช้างกระดูกผิดรูปเกิดจากการเบิกนักท่องเที่ยวมา 25 ปี จริงหรือไม่??
ช้างกระดูกผิดรูปเกิดจากการเบิกนักท่องเที่ยวมา 25 ปี จริงหรือไม่??
ช้างกระดูกผิดรูปเกิดจากการเบิกนักท่องเที่ยวมา 25 ปี จริงหรือไม่??

อ้าว..แล้วถ้าทำทุกๆวันมันสามารถทำให้เกิดกระดูกผิดรูปได้หรือไม่?

ปกติแล้วหากเราเอาของหนักมากๆไปกดลงบนกระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่มีกล้ามเนื้อและผิวหนังปกคลุม สิ่งที่เกิดขึ้นจะมีรอยกดทับจนอาจจะกลายเป็นเนื้อตายเกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดเนื้อตายเช่นนี้แล้วจะเกิดการอักเสบและเสียหายจนเน่าได้ โดยที่กระดูกยังคงรูปร่างเช่นเดิม

การที่กระดูกจะผิดรูปไปได้ เกิดได้จาก 3 สาเหตุที่มักพบได้บ่อยๆ คือ

  1. เป็นมาแต่กำเนิด อันนี้น่าจะเข้าข่ายของหลังแปขาดสำหรับช้างเอเชียที่พบได้ ไม่ว่าจะเป็นช้างบ้านหรือช้างป่า
  2. ถูกชนหรือกระแทกบริเวณดังกล่าวอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งกรณีเช่นนี้มักจะทำให้กระดูกสันหลังได้รับความเสียหายอย่างมาก อาจมีผลกระทบโดยตรงต่อการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ การเดิน การยืน การนอน อย่างชัดเจน
  3. เกิดสภาวะกระดูกพรุน อันเนื่องมาจากอายุมากหรือทุกขโภชนาในอดีตที่ผ่านมา หากแต่ปัญหามักจะพบในหลายๆจุดเกือบทั่วทั้งตัว ตั้งแต่กะโหลก สันหลัง สะโพก ข้อเท้า ซึ่งมักจะแสดงอาการเจ็บมาก

พิสูจน์ได้อย่างไร … ทำการตรวจร่างกายให้ละเอียดสิครับ … แล้วเราจะพบความจริงว่าคำกล่าวอ้างนี้ “จริงหรือเท็จ” !!!

จัดทำบทความโดย : วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี
Website : https://veterinary.wu.ac.th 

Facebook Comments Box