Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ สอนอย่างไรให้ได้ 4.50 ขึ้นไป

แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย
รองศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม
อาจารย์สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ สำนักวิชาการจัดการ

การจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาขาที่รับผิดชอบคือ กลุ่มสาขาการท่องเที่ยว จะเน้นเรื่องการจัดการทรัพยากร การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รับผิดชอบสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ในภาคการศึกษาที่ 1/2565 สอนรายวิชา THM65-102 ภูมิศาสตร์และทรัพยากรการท่องเที่ยว และมีการเรียนรู้นอกสถานที่โดยจะพานักศึกษาไปดูแหล่งท่องเที่ยวใกล้มหาวิทยาลัยซึ่งจุดนี้จะสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักศึกษาได้เป็นอย่างดี พบว่านักศึกษากลุ่มสาขานี้จะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างออกไปจากกลุ่มสาขาวิชาอื่น จะต้องมีการเตรียมการสอนก่อนให้พร้อมก่อนโดยให้มี material ที่เป็นภาษาอังกฤษ สื่อการสอนจะอัปโหลดไว้ใน e-Learning สำหรับนักศึกษาโดยจะสร้างเป็นรายสัปดาห์ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือควรชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนสอนจริงว่ามีการเก็บคะแนนอย่างไรบ้าง เก็บคะแนนเท่าไร ใช้เกณฑ์อะไร การส่งชิ้นงานจะมีการพูดคุยรายละเอียดกับนักศึกษาก่อนมีการกำหนดช่วงเวลาการส่งงาน

เทคนิคการสอน

  1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบรรยายจะเน้นกิจกรรม Active Leaning ในห้องเรียน โดยจะมีการแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ มีการฝึกให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน
  2. มีการนำแอปพลิเคชัน Padlet มาช่วยการสอนในห้องเรียนเพื่อระดมความคิดของนักศึกษา โดยจะมีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มจังหวัดเพื่อจะนำเสนอแนะนำตัวเอง แหล่งท่องเที่ยวให้เพื่อนๆ  จะทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้รู้จักกัน
  3. มีการเล่นเกมที่เกี่ยวกับเนื้อหาการเรียน หลังจากได้ทำกิจกรรมเสร็จจะมีการมา discussion ร่วมกัน
  4. จัดการเรียนการสอนแบบภาคสนาม จะพานักศึกษาไปเรียนรู้จากสถานที่จริง
  5. เชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ มาบรรยายให้นักศึกษาฟัง เพื่อจะทำให้นักศึกษาได้หลายมุมมอง สร้างแรงบันดาลใจ
  6. การให้คะแนน จะมีการให้ feedback กับนักศึกษาเพื่อจะได้ข้อมูลไปพัฒนาตัวเองต่อไป
  7. นักศึกษาชั้นปีสูง จะมีการสนับสนุนให้นักศึกษาทำวิจัย โดยถ้านักศึกษามีศักยภาพถึงก็จะให้ส่ง processing นำเสนอเวทีงานประชุมวิชาการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย
อาจารย์ ดร.กุลวดี หนูหนอง
อาจารย์สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์

การจัดการเรียนการสอน สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ภาคการศึกษาที่ 1/2565 เป็นผู้ประสานงานรายวิชา PTP60-201 และ PTH64-201E กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ซึ่งรายวิชานี้เนื้อหาค่อนข้างเยอะจึงทำให้นักศึกษาจำเนื้อหาไม่ค่อยได้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะสอนแบบบรรยาย ให้ความรู้พื้นฐานก่อน หลังจากนั้นจะได้เรียนรู้จากของจริงในรูปแบบการปฏิบัติการแบบ Active Learning ดังนั้นจึงมีทิปในการจัดการเรียนการสอนดังนี้

  1. Get to grips with the basics
  2. Make the most of dissection and anatomy tutorials
  3. Learn to speak the “anatomy language”
  4. Study in groups
  5. Link structure to function
  6. Learn in sections
  7. Utilize a variety of method; Ex. Online software
  8. Practice using real images

เทคนิคการสอน

  1. นักศึกษาทุกคนจะได้เรียนแบบบรรยายก่อน แล้วจึงจะได้เรียนรู้แบบ Lab เพื่อให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงได้เห็นโครงสร้างทั้งหมดจะทำให้ลิ้งค์ข้อมูลกันง่าย
  2. การวัดและประเมินผลจะมีการแจ้งนักศึกษาก่อนว่าจะเกณฑ์การประเมินอย่างไร
  3. มีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือมีการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดเป็นกลุ่ม ๆ
  4. มีการจัดการเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่างๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาจารย์จะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา ดังภาพที่ 1 และ 2
  5. มีการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
  6. มีการประเมินโดยอาจารย์ประจำกลุ่ม/มีการประเมินโดยนักศึกษา (เพื่อนประเมินเพื่อน)
  7. หลังเสร็จสิ้น Active Learning จะมีการสรุปเนื้อหาโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหัวข้อพร้อมทั้ง Posttest
  8. มีเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้นักศึกษาได้ทราบก่อน ดังภาพที่ 3

ภาพการจัดการเรียนรู้

ภาพการจัดการเรียนรู้

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

บทบาทของอาจารย์ผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning

  1. สร้างบรรยาการของการมีส่วนร่วม
  2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
  3. ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน
  4. ให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย
  5. วางแผนเกี่ยวกับเวลา
  6. ผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออกและความคิดของผู้เรียน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประถมจิต ขจรเจริญกุล
อาจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

ลักษณะรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย รายวิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป รายวิชาในสำนักวิชาชั้นปีที่ 2 และรายวิชาเฉพาะชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ก่อนเปิดสอนอาจารย์ผู้สอนจะมีการประชุมรายละเอียดของรายวิชา ( มคอ.3 ) โดยจัดทำแผนการสอน และการประเมินผล  

เทคนิคการสอน

  1. แนะนำให้นักศึกษารู้จัก e-Learning  ของรายวิชาที่สอนก่อน
  2. ผู้สอนจะแนะนำอธิบายรายละเอียดของรายวิชาให้ชัดเจน
  3. คุยข้อตกลงร่วมกับนักศึกษาในการเข้าห้องเรียน เพื่อฝึกเรื่องการตรงต่อเวลา
  4. ผู้สอนจะแสดงตัวอย่างให้ผู้เรียนดูก่อน หลังจากนั้นจะให้ผู้เรียนฝึกทดลองเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  5. มีการกระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถาม โดยมีการโน้มน้าวให้นักศึกษาได้ตอบคำถามให้มากที่สุด  การตอบคำถามจะไม่มีถูกไม่มีผิด
  6. นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปจะเริ่มให้อ่านบทความเพื่อให้ทราบทฤษฏีต่างๆ  หากเห็นว่านักศึกษาคนไหนสามารถเขียนบทความได้ก็จะส่งเสริมให้นักศึกษาได้เขียนบทความวิจัย และให้โอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอเวทีงานประชุมวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ  เพื่อสร้างบรรยากาศให้นักศึกษาได้เรียนรู้
  7. การเรียนการสอนจะมีการบันทึกการสอน นักศึกษาสามารถเรียนรู้ย้อนหลังได้
  8. มีการ feedback นักศึกษาทุกครั้งที่สอนเสร็จ

เรียบเรียงโดย ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอน

Facebook Comments Box