Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ที่มาและความสำคัญ

                แฝดคนละฝา  ที่มีฤทธิ์ร้อนแรง
                   เจตมูลเพลิงแดง & เจตมูลเพลิงขาว
               เจตมูลเพลิงแดง (Plumbago indica L.) และเจตมูลเพลิงขาว (Plumbago zeylanica L.) จัดอยู่ในวงศ์ PLUMBAGINACEAE  ทั้งสองชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  แต่ก็มีไม่น้อยที่เกิดความสับสนจากหน้าตาที่มีความคล้ายกันราวกับฝาแฝด ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในหลายคนที่กำลังงุนงง สับสนอยู่กับสองต้นนี้

นางจีรังกานต์  ปักเข็ม
6 ต.ค. 2566

เราจะพาไปให้รู้จัก......

                มาเริ่มต้นกับส่วนที่เหมือนกันก่อนดีกว่า ทั้งสองชนิดนี้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลักษณะลำต้น ใบ และดอกที่แทบจะเหมือนกัน โดยดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเป็นหลอดเล็กยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และมีต่อมเหนียวที่กลีบเลี้ยง ลักษณะที่ใช้แยกพืชสองชนิดนี้ออกจากกันคือ สีของก้านใบบริเวณที่ติดกับข้อลำต้น สีของกลีบเลี้ยง กลีบดอก และลักษณะของเนื้อใบ

 

                เจตมูลเพลิงแดงมีก้านใบติดกับข้อลำต้น สีแดง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีแดง เนื้อใบหนา ส่วนเจตมูลเพลิงขาวมีก้านใบติดกับข้อลำต้น สีเลือดหมูหรือสีเลือดนก กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีขาว สีของใบจะเขียวอ่อนกว่าเจตมูลเพลิงแดงเล็กน้อย เนื้อใบบาง

สรรพคุณ ของทั้ง 2 ต้น

                รากของเจตมูลเพลิงแดง มีรสร้อน ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร ขับประจำเดือน แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย กระจายเลือดลม เป็นยาบำรุงไฟธาตุ บำรุงโลหิต ในตำรายาหลายตำรับ เช่น ตำรับยาเบญจกูล ตำรับยาเลือดงาม แต่ในส่วนของเจตมูลเพลิงขาวจะมีฤทธิ์อ่อนกว่าเจตมูลแดง ข้อห้ามที่ควรระมัดระวังคือห้ามไม่ให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์รับประทาน เพราะมีสารบางตัวที่อาจทำให้แท้งลูกได้เช่นเดียวกัน

                สำหรับใครที่อ่านจบแล้ว… แต่ยังสับสนอยู่ เชิญชวนทุกคนลองเข้ามาดูและสัมผัสต้นจริงได้ที่ สวนสมุนไพร อุทยานพฤกษศาสตร์ กันนะค่ะ

อ้างอิง แหล่งที่มา

https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=37
http://medthai.com/เจตมูลเพลิงขาว/
http://medthai.com/เจตมูลเพลิงแดง/

Facebook Comments Box