Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
สัตว์วงศ์อึ่ง (Mycrohylidae) ที่พบจากการวางกับดัก ในพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์

ภาพแสดงพื้นที่และจุดวางกับดัก

ที่มา : (กูเกิ้ล, ม.ป.ป.)

ภาพแสดงกับดัก

                จากการวางกับดักเพื่อจับงูเป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัย โดยวางกับดักไว้ในเขตป่าอนุรักษ์ของอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ผลพลอยได้จากการวางกับดักทำให้พบสัตว์หลายชนิดเข้ามาติดกับดัก เช่น ตะขาบขายาว กึ้งกือ  หอยทากสยาม จิ้งเหลน เขียดงูศุภชัย ทำการถ่ายรูปตัวอย่างไว้เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของสัตว์ที่พบในพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และทำการปล่อยสัตว์กลับสู่ธรรมชาติ ให้ดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติต่อไป โดยพบสัตว์วงศ์อึ่งติดกับดักจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ อึ่งอ่างบ้าน อึ่งอ่างมลายู อึ่งข้างดำ อึ่งลายเลอะ    อึ่งแม่หนาว และ อึ่งปุ่มหลังลาย โดยมีรายละเอียดและภาพประกอบดังนี้

อาวุธ แก่นเพชร

01

อึ่งอ่างบ้าน

ชื่อสามัญ : Painted Burrowing Frog, Asian Painted Frog
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaloula pulchra Gray,1831
ขนาด : ความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 6.5-7.5 เซนติเมตร
ลักษณะ : รูปร่างสามเหลี่ยม อ้วนป้อม หน้าสั้น ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล มีแถบกว้างสีครีมขอบดำบริเวณปลายหัว และต่อเนื่องไปตามแนวเหนือสีข้าง 2 ข้างลำตัว
ที่มา : (ปิยวรรณ นิยมวัน และคณะ, 2562)

             นอกจากนี้ยังพบอึ่งแดงหรืออึ่งลาย (Glyphoglossus guttulatus) บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติในพื้นที่หอชมฟ้าอีก 1 ชนิด รวมสัตว์วงศ์อึ่งที่พบทั้งหมด 7 ชนิด
             จากการวางกับดักทำให้ทราบว่ามีสัตว์วงศ์อึ่งอย่างน้อย 7 ชนิด หากมีการเก็บข้อมูลไปเรื่อย ๆ อาจจะพบจำนวนมากขึ้น และพบสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ไม่ค่อยพบเห็นโดยทั่วไป ทำให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งวิจัย และแหล่งสร้างสุขให้กับทุก ๆ คน 

02

อึ่งอ่างมลายู

ชื่อสามัญ : Wide-disked Narrow-mouthed Frog
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaloula latidisca Chan, Grismer, and Brown, 2014
ขนาด : ความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 5-6 เซนติเมตร
ลักษณะ : รูปร่างอ้วนป้อม หน้าสั้น ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลเทา มีลายแถบสีครีมระหว่างตา และลายคลื่นสีครีมบริเวณหลังตา โคนขาหนีบมีแต้มสีแหลืองและแดง
ที่มา : (ปิยวรรณ นิยมวัน และคณะ, 2562)

03

อึ่งข้างดำ

ชื่อสามัญ : Dark-side Chorus Frog
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microhyla heymonsi Vogt, 1911
ขนาด : ความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 2 เซนติเมตร
ลักษณะ : ลำตัวรูปร่างสามเหลี่ยม หลังแบน หน้าสั้น ลำตัวด้านบนสีเทา สีน้ำตาลแดง สีชมพู สีส้ม หรือสีแดงสด มีลายจุดขนาดเล็กละเอียดเรียงเป็นสีเทาหลายแถบ บางตัวมีเส้นสีดำตามแนวกลางสันหลังจากปลายจมูกถึงก้น และมีลายจุด 1-2 จุด ด้านข้างมีแถบสีดำตั้งแต่หน้ายาวตลอดสีข้าง
ที่มา : (ปิยวรรณ นิยมวัน และคณะ, 2562)

04

อึ่งลายเลอะ

ชื่อสามัญ : Butler’s Chorus Frog, Noisy Chorus Frog
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microhyla butleri Boulenger, 1900
ขนาด: ความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ลักษณะ : รูปร่างเพรียว หน้าสั้น มีสันจากหลังตาไปถึงโคนแขน ลำตัวด้านบนสีเทา สีน้ำตาลเทา หรือสีน้ำตาลแดง มีแถบสีขาวจากหางตาถึงโคนแขน มีแถบสีขาวจากหางตาถึงโคนแขน มีลายเส้นคล้ายรูปน้ำเต้าจีนหรือรูปนาฬิกาทรายสีน้ำตาลและสีดำขอบขาวบนหลัง
ที่มา : (ปิยวรรณ นิยมวัน และคณะ, 2562)

05

อึ่งแม่หนาว

ชื่อสามัญ : Beardmore’s Chorus Frog
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microhyla berdmorei (Blyth, 1856)
ขนาด : ความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 3-4 เซนติเมตร
ลักษณะ : หน้าค่อนข้างแหลม ลำตัวด้านบนสีเทา สีน้ำตาลเทา หรือสีน้ำตาลแดง มีลายเส้นคล้ายรูปน้ำเต้าหรือรูปนาฬิกาทรายสีน้ำตาลและสีดำบนหลัง (ปิยวรรณ นิยมวัน และคณะ, 2562)
ที่มา : (ปิยวรรณ นิยมวัน และคณะ, 2562)

อึ่งแม่หนาว
อึ่งปุ่มหลังลาย

06

อึ่งปุ่มหลังลาย

ชื่อสามัญ : Striped Sticky Frog
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kalophrynus interlineatus (Blyth, 1855)
ขนาด : ความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 4 เซนติเมตร
ลักษณะ : รูปร่างสามเหลี่ยม อ้วนป้อม หน้าสั้นแหลม ผิวหนังเป็นปุ่มปมขนาดเล็ก หลังสีน้ำตาล มีลายแถบหรือเส้นรูปตัวอีกษรวีคว่ำ มีจุดกลมสีดำขอบขาวสองข้างด้านท้ายลำตัว
ที่มา : (ปิยวรรณ นิยมวัน และคณะ, 2562)

                นอกจากนี้ยังพบอึ่งแดงหรืออึ่งลาย (Glyphoglossus guttulatus) บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติในพื้นที่หอชมฟ้าอีก 1 ชนิด รวมสัตว์วงศ์อึ่งที่พบทั้งหมด 7 ชนิด
                จากการวางกับดักทำให้ทราบว่ามีสัตว์วงศ์อึ่งอย่างน้อย 7 ชนิด หากมีการเก็บข้อมูลไปเรื่อย ๆ อาจจะพบจำนวนมากขึ้น และพบสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ไม่ค่อยพบเห็นโดยทั่วไป ทำให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่อุทยานพฤกษศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งวิจัย และแหล่งสร้างสุขให้กับทุก ๆ คน

อ้างอิง แหล่งที่มา

กูเกิ้ล. (ม.ป.ป.). [แผนที่กูเกิ้ลของอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์]. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2566,
          จาก https://www.google.com/maps/@8.6372428,99.881322,3482m/data=!3m1!1e3?entry=ttu

ปิยวรรณ นิยมวัน, ไพรวัลย์ ศรีสม และ ปริญญา ภวังคนันทน์. (2562). สัตว์สะเทินสะเทินบกของประเทศไทย. ภาพพิมพ์.

Facebook Comments Box