Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในอุทยานพฤกษศาสตร์โดยใช้กับดักแสงไฟ

ดรัลพร ยกแก้ว

                ผีเสื้อกลางคืน เป็นแมลงซึ่งมีความหลากหลายด้านจำนวนชนิด มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ส่วนใหญ่ออกหากินในเวลากลางคืน ผีเสื้อกลางคืน มีลักษณะเด่น คือ ปีกคู่หน้าและคู่หลังซ้อนกันแบบแนบติดกัน เมื่อเวลาเกาะปีกจะขนานกับพื้น (ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินี, 2553) การจัดลำดับทางอนุกรมวิธานของผีเสื้อกลางคืน ดังนี้

                อาณาจักร (Kingdom) Animal

                                ไฟลัม (Phylum) Arthropoda

                                                ชั้น (Class) Insecta

                                                                อันดับ (Order) Lepidoptera

                สำรวจความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนในพื้นที่โล่งกว้างและพื้นที่ป่าทึบ  โดยสำรวจในเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2566 และเก็บตัวอย่างโดยใช้กับดักแสงไฟ ในเวลา 20.00 น. และ 22.00 น. การวางกับดักแสงไฟในพื้นที่โล่งกว้างและพื้นที่ป่าทึบห่างกัน 500 เมตร อุปกรณ์ในการวางกับดักแสงไฟ ใช้แบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ และหลอดไฟสีม่วง (Black light) ขนาด 8 วัตต์ ผ้าขาวบางผืนใหญ่และเชือก โดยเก็บตัวอย่างผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ในซองกระดาษที่พับเป็นสามเหลี่ยมและมีการถ่ายภาพไว้ นำตัวอย่างผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ที่ได้มาจัดรูปร่างแล้วนำไปอบในอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำมาจัดจำแนกในระดับวงศ์ สกุล และชนิด

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

ตัวอย่างกับดักแสงไฟที่ใช้ในการสำรวจผีเสื้อกลางคืน

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

ตัวอย่างการจัดรูปร่างผีเสื้อกลางคืน

ผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ที่พบในกับดักแสงไฟ

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Erebidae Creatonotos sp.

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Erebidae Euproctis sp.

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Zygaenidae Prosopandrophila distincta (Guérin-Méneville, 1843)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Noctuidae Spodoptera mauritia (Boisduval, 1833)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Geometridae Hemithea Tritonaria (Walker, 1863)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Erebidae Adrapsa sp.

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Erebidae Arctornis sp.

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Lasiocampidae Trabala sp.

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Drepanidae Callidrepana gelidata Walker, 1862

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Erevidae Arctornis sp.Cyana perornata (Walker, 1854)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Geometridae Dysphania militaris (Linnaeus, 1758)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Notodontidae Gangarides rosea (Walker, 1865)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Grometridae Idaea sp.

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Geometridae Traminda aventiaria (Guenée, 1858)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Erebidae Zurobata vacillans (Walker, 1864)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Erebidae Erebus ephesperis (Hübner, 1827)

        การสำรวจความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนในพื้นที่โล่งกว้างและพื้นที่ป่าทึบ อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบผีเสื้อกลางคืนวงศ์ Erebidae พบจำนวนสกุลและชนิดมากที่สุด รองลงมาคือวงศ์ Geometridae

ผีเสื้อกลางคืนที่พบบ่อยในอุทยานพฤกษศาสตร์

        การสำรวจครั้งนี้พบผีเสื้อ Hemithea tritonaria (Walker, 1863) และผีเสื้อ Erebus ephesperis (Hübner, 1827)  ในระดับบ่อย ทั้งในพื้นที่ป่าทึบและพื้นที่โล่งกว้าง อาจเนื่องจากเป็นผีเสื้อกลางคืนซึ่งสามารถกินพืชอาหารได้หลากหลายและพบการแพร่กระจายมากในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ของไทย (GBIF, 2013)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Geometridae Hemithea Tritonaria (Walker, 1863)

สำรวจผีเสื้อกลางคืนในกับดักแสงไฟในอุทยานพฤกษศาสตร์

Erebidae Erebus ephesperis (Hübner, 1827)

อ้างอิง แหล่งที่มา

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินี. (2553). ผีเสื้อกลางคืน ในหุบ เขาลําพญา.
        พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
Global Biodiversity Information. (2023, September 12). The Global Biodiversity Information.
        Retrieved from https://www.gbif.org/

Facebook Comments Box