Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ลดปัญหาความขัดแย้งและอยู่อย่างเกื้อกูลในอุทยานประวัติศาสตร์กับบทบาทของหน่วยงานของรัฐและการอยู่ร่วมกันของชุมชน

#รุ่งอรุณแห่งความสุข@สุโขทัยอารยธรรมเชื่อมโยงนครศรีธรรมราช

          อุทยาน หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับการจัดตั้งและดูแลเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความงามของธรรมชาติอย่างยั่งยืน หลักๆ มี 3 ประเภท คือ อุทยานแห่งชาติ ที่เป็นพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองในระดับประเทศเพื่อการอนุรักษ์และการศึกษาธรรมชาติ แน่นอนว่าที่ แอดคุ้นเคยและรู้จัก คือ อุทยานแห่งชาติเขาหลวงสุโขทัยที่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี 2530

          สองคือ อุทยานธรรมชาติที่เป็นพื้นที่ที่เน้นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและธรรมชาติ และสุดท้าย คือ อุทยานประวัติศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นต้น

          ซึ่งแน่นอนว่าอุทยานต่างๆ เหล่านี้มีบทบาทต่อเศรษฐกิจชุมชน หลายประการ โดยเฉพาะโบราณสถาน ส่วนตัวแอดขอนำเสนอในแง่มุมที่ตัวเองมีความสัมพันธ์ คลุกคลีมาตลอดระยะเวลา 8 ปี มีที่ชีวิตอยู่ในฐานะคนในชุมชนที่ได้ใช้สอยประโยชน์จากอุทยานเพื่อเศรษฐกิจในชุมชนและครอบครัว ในเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัด ซึ่งแน่นอนว่าอุทยานที่ได้รับการอนุรักษ์ดีสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นจากการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึก บริการรถเช่า ที่พักและอาหาร สร้างโอกาสในการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นหลากหลายตำแหน่ง เช่น มัคคุเทศก์ท้องถิ่น, คนขับรถรับจ้าง, หรือแม้แต่การรวมกลุ่มทำการท่องเที่ยวในชุมชนเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น ตลอดจนหน่วยงานของรัฐเข้ามามีส่วนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นถนนและระบบสาธารณูปโภค ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่โดยรวมทั้งสิ้น

          นอกจากนี้โบราณสถานในอุทยานมีความสำคัญต่อชุมชนในแง่พิธีกรรม และบทบาทของหน่วยงานรัฐในเรื่องอนุรักษ์วัฒนธรรมร่วมกับชุมชน อย่างเช่นสุโขทัยมีมรดกทางวัฒนธรรมเยอะมากที่เชื่อมโยงกับโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เรื่องเล่า ตำนาน และความเชื่อมโยงอารยธรรมระหว่างสุโขทัยและนครศรีธรรมราชด้วย ที่โดดเด่นและชัดเจน คือ พระธาตุในวัดมหาธาตุนครศรีธรรมราชกับโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ในด้านสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกัน คือ เจดีย์ระฆังคว่ำที่อยู่ในวัดมหาธาตุกับวัดตระพังทอง/ตระพังเงิน ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

          มีประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟของสุโขทัยมีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งหมายความว่าประเพณีนี้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่ามีความสำคัญทางวัฒนธรรมและควรได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริม

          ซึ่งบทบาทของหน่วยงานรัฐในจังหวัดสุโขทัยเรื่องอนุรักษ์วัฒนธรรมร่วมกับชุมชนมีมากมายตลอดปี โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), สมาคมท่องเที่ยวจังหวัด, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวักสุโขทัย, กลุ่มเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นในนามสุโขทัยพัฒนาเมือง, สำนักงานพาณิชย์จังหวัด, สำนักงานศิลปกร, พัฒนาชุมชน กลุ่มบุคคล องค์กรหรือสมาคมที่จัดตั้งโดยหัวหน้าชุมชน เข้ามามีบทบาทในการรักษา ดูแล ส่งเสริม ผลักดัน และอนุรักษ์เพื่อการยั่งยืน เช่น ร่วมกันจัดงานประเพณีลอยกระทง การจัดการแสดงแสงสีเสียงเนื้อเรื่องสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ การแสดงตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์ที่เชื่อว่าเป็นสนมหรือพระนางในราชวงศ์สุโขทัย และเป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีลอยกระทงสืบต่อมา, การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงอนุกรักษ์เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน, การจัดงานวิ่งมาราธอนรอบโบราณสถาน, การส่งเสริมการผลิตสินค้าและการบริการที่ผูกติดกับวัฒนธรรมโบราณผ้าทอ, หรือแม้แต่ลวดลายทองสุโขทัยที่มีต้นฉบับมาจากลวดลายปูนปั้นในวันนางพญา อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นต้น

          ซึ่งการบริหารจัดการทรัพยากรในเขตอุทยานเพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนจำเป็นต้องมีการวางแผนและการดำเนินงานที่ดี ซึ่งแน่นอนว่าการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ หัวใจหลักอาจจะมาในรูปแบบของก่อตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่อุทยานและสมาชิกชุมชนเพื่อร่วมกันวางแผนและตัดสินใจในการใช้ทรัพยากร เชิญชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ เพื่อให้ชุมชนรู้สึกมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบมีการพัฒนาทรัพยากรและกิจกรรมที่ยั่งยืน เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเดินป่า, การชมสัตว์ป่า, และการศึกษาธรรมชาติ โดยมีการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบต่อทรัพยากร ตลอดจนสนับสนุนการเกษตรที่ไม่ทำลายป่าและไม่ใช้สารเคมี เช่น การปลูกพืชในระบบวนเกษตรหรือการทำเกษตรผสมผสาน พัฒนาความรู้และการศึกษาให้กับชุมชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวิธีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน จัดทำข้อมูล สื่อต่างๆ แจกจ่ายเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์และวิธีการที่ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมได้ ที่สำคัญเสนอแนะกิจกรรมที่สร้างกิจกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน เช่น การขายผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น, การจัดทัวร์นำเที่ยว, หรือการขายงานฝีมือ             ซึ่งรัฐออกข้อกำหนด ข้อบังคับและการควบคุม ตั้งกฎระเบียบในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพพัฒนาและดูแลพื้นที่สาธารณะในอุทยานเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ การบูรณาการแนวทางเหล่านี้จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรในเขตอุทยานเกิดประโยชน์สูงสุดและรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ

ที่มา : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Facebook Comments Box