Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL)

PBL

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ Problem-based Learning : PBL คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยปัญหานั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน อาจเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจหรือ มีความหมายกับผู้เรียนที่สามารถนำมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้โดยปัญหา แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

ปัญหาไม่ซับซ้อนสามารถค้นคว้าและคิดหาคำตอบในระยะสั้น กระบวนการเรียนรู้ด้วย Problem-based Learning ก็จะสามารถหาคำตอบของปัญหาหรือประเด็นที่สนใจ

ปัญหาที่ซับซ้อน ต้องศึกษาค้นคว้า พัฒนา ตรวจสอบ โดยใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า อาจต้องสร้างชิ้นงานเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ลักษณะนี้ มักจะใช้ Project-based Learning เข้ามาช่วย

1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

1.1 ลักษณะที่ 1 การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเต็มรูปแบบ

1.2 ลักษณะที่ 2 การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานแบบผสม

2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitator)

2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา

2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอนและห้องเรียน

1) คู่มืออาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitator’s guide)

2) คู่มือนักศึกษา (Student’s guide)

3) โจทย์ปัญหา (Scenario)

4) แบบประเมิน (อาจารย์ประจำกลุ่ม นักศึกษา โจทย์ปัญหา)

5) ตำรา (1 ชุด) และเอกสารประกอบการเรียนการสอน

6) ห้องเรียน (ขนาดประมาณ 10 – 12 คน) ประกอบด้วย สื่อโสตทัศนูปกรณ์

7) ระบบอินเทอร์เน็ต Wifi

3. กระบวนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

3.1 กระบวนการเรียนการสอน

1) การจัดให้มีขั้นตอนทั้งหมด 7 ขั้นตอน

2) การจัดให้มีชั่วโมงสรุปภาพรวม เพิ่มอีก 1 ขั้นตอน

3) การจัดสัดส่วนอาจารย์ประจำกลุ่มต่อนักศึกษา ประมาณ 1 : 8-12 คน

4) การจัดบทบาทหน้าที่ให้ประธาน เลขานุการ และสมาชิก เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน

3.2 การจัดตารางเวลาเรียน

1) การเรียนแต่ละโจทย์ปัญหาใช้เวลา 2 ครั้งๆ ละ 2-3 ชั่วโมง โดยมีช่วงเวลาระหว่างครั้งอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้นักศึกษามีเวลาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองและจัดทำข้อมูลในการรายงานต่อกลุ่ม

2) การเรียนครั้งที่ 1 จะครอบคลุมขั้นตอนที่ 1-5 การเรียนครั้งที่ 2 จะครอบคลุมขั้นตอนที่ 6-7

3.3 การวัดและประเมินผล

1) การวัดผล

1.1) กระบวนการ (Process) [อาจารย์ประเมินนักศึกษา/นักศึกษาประเมินโจทย์ปัญหา] 6% ของคะแนนทั้งรายวิชา

1.2) ผลผลิต (Product) โดยกระบวนการคำถามแบบปรนัยและอัตนัย 6% ของคะแนนทั้งรายวิชา

2) การประเมินผล

โดยใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผล นำไปรวมกับคะแนนส่วนที่เหลือในรายวิชานั้นๆ เพื่อประเมินผลออกมาเป็นเกรด

Facebook Comments Box