Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) : ห้องเรียนยุคใหม่สำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ห้องเรียนอัจฉริยะ

ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)

ห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ  Smart Classroom เป็นห้องเรียนที่ทันสมัยที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดให้นักศึกษาทุกคนได้เรียนในห้องลักษณะนี้  มีลักษณะเป็นห้องเรียนขนาดเล็ก ช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มาก เรียนรู้ได้เร็ว และทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ง่าย ทุกที่ ทุกเวลา

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา นอกจากจะเป็นศูนย์กลางของแหล่งสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแล้ว ภารกิจหลักอีกประการคือการสนับสนุนการเรียนการสอนและพัฒนาสื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงการให้บริการห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับสนับสนุนคุณภาพของการเรียนการสอน มุ่งเน้นที่จะช่วยให้เสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาให้ทันสมัย  โดยมีหน้าที่ในการออกแบบ จัดหา อบรมการใช้งาน ดูแลการใช้งาน และประเมินผลการใช้งานห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

รูปแบบของห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ Smart Classroom นั้นถือเป็นรูปแบบหนึ่งในหลาย ๆ รูปแบบของการจัดสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับสถานการณ์การจัดการศึกษาในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางการเรียนการสอนให้มากกว่าห้องเรียนปกติหรือห้องเรียนในยุคเดิมๆ ไม่จำกัดด้วยเวลาและสถานที่ โดยมีการนำเอานวัตกรรม หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในโรงเรียนและห้องเรียน เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IOT) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ลดการใช้ทรัพยากร รวมทั้งตอบสนองความต้องการต่างๆ อีกมากมาย ผู้สอนจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการการสอน และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยออกแบบ แก้ปัญหาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความร่วมมือ แรงจูงใจ ตรงตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้เรียนและเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อหาความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่มีอยู่ แต่ Smart Classroom อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามบริบทของของแต่ละสถานศึกษาด้วย (OHOADMIN, 2017)

สำหรับลักษณะของห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดให้นักศึกษา ผู้รับผิดชอบในการออกแบบครุภัณฑ์และการดูและการใช้งานห้องเรียนนั้น จะเป็นความรับผิดชอบหลักของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา  ห้องเรียนอัจฉริยะที่ช่วยให้อาจารย์และนักศึกษาอัจฉริยะได้ด้วย โดยห้องเรียนมีลักษณะที่มีสภาพแวดล้อมดิจิทัล เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านเทคโนโลยีที่หลากหลายทั้งภาพและเสียง  จึงเอื้อต่อการเรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  และขนาดห้องเรียนจะเป็นห้องเรียนขนาดเล็ก ความจุประมาณ 50 ที่นั่ง เพื่อช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มาก เรียนรู้ได้เร็ว และทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ง่าย ทุกที่ ทุกเวลา โดยมีลักษณะดังนี้

  • มีเทคโนโลยี และ Application ที่ทันสมัยด้วยแนวคิดคือ Anywhere Anytime สอนและเรียนได้ทั้งแบบออนไลน์และแบบเรียนในห้องเรียน 
  • มีซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถติดต่อกันและดำเนินการเรียนการสอนได้ด้วยการนั่งเรียน หรือเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือโน๊ตบุ๊ค ช่วยให้บรรยากาศการเรียนการสอนสนุกมากขึ้น และมีปฏิสัมพันธ์เรียนรู้ระหว่างกัน  ช่วยกระตุ้นการเรียนให้มีบรรยากาศสนุกสนาน
  • มีเทคโนโลยีสนับสนุน เช่น SWIVL Robot  สามารถนำเสนอข้อมูลผ่านอุปกรณ์จากนอกห้องเรียนได้  
  • การเรียนการสอนสามารถบันทึกการเรียนการสอนและส่งต่อระหว่างกันได้ 
  • นักศึกษาทบทวนบทเรียนย้อนหลังจากการบันทึกไว้ 
  • เรียนจากระบบ WU e-learning โดยการนำไฟล์ที่บันทึกไว้ในห้องเรียนไปเรียนได้ด้วย

ห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ Smart Classroom  มีลักษณะเป็นห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้อาจารย์และนักศึกษาได้รู้จักกันทั่วถึง ไม่เกินห้องละ 40 คน โดยแบ่งลักษณะของห้องเรียนเป็น 2 ระดับ คือ 

1. ระดับ Basic  Smart Classroom เป็นห้องเรียนที่มีเทคโนโลยีและ Application พื้นฐานทั่วไปเหมือนที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น 

2. ระดับ Intermediate Smart Classroom หรือภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ ว่าห้องเรียนที่มีจอรับภาพ 4 จอ เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถทำงานเป็นกลุ่ม และแต่ละกลุ่มนำเสนองานของตนเองได้อย่างสะดวก 

ห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ Smart Classroom ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีลักษณะเป็นห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้อาจารย์และนักศึกษาได้รู้จักกันทั่วถึง ไม่เกินห้องละ 40 คน โดยแบ่งลักษณะของห้องเรียนเป็น 3 ระดับ คือ  (ศิวนาถ นันทพิชัย, ธรณิศ หาญใจ และ เมษา สินทบทอง, 2561)

1. ระดับ Basic  Smart Classroom เป็นห้องเรียนที่มีเทคโนโลยีและ Application พื้นฐานทั่วไปเหมือนที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น 

2. ระดับ Intermediate Smart Classroom หรือภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ ว่าห้องเรียนที่มีจอรับภาพ 4 จอ เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถทำงานเป็นกลุ่ม และแต่ละกลุ่มนำเสนองานของตนเองได้อย่างสะดวก 

3. ระดับ Advance Smart Classroom เป็นห้องเรียนที่รองรับการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่  เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนได้ทุกที ทุกเวลา (Mobile learning: Anywhere Anytime) และเน้นการใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการจัดการ อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile device Management Application) สามารถทำงานร่วมกับ  ITunes University) รวมทั้งการจัดประชุมกลุ่มได้และประชุมออนไลน์ได้ด้วย

และนี่คืออีกหนึ่งความทันสมัยของการเป็นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ และห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ Smart Classroom เป็นอีกหนึ่งความทันสมัยที่จะช่วยรองรับการเรียนการสอน และตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต รวมทั้งช่วยสร้างการรับรู้ (Brand) เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้และภาพลักษณ์ที่ดีต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อีกทางหนึ่งด้วย  

คลิปแนะนำห้องอัจฉริยะ Smart Classroom ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เอกสารอ้างอิง

ศิวนาท  นันทพิชัย, ธรณิศ  หาญใจ และ เมษา สินทบทอง. (2561). กลยุทธ์การออกแบบการจัดบริการสนับสนุนการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะ. สืบค้นจาก http://pulinet2019.buu.ac.th/Documentation/Proceeding/Oral/KM/4.pdf

OHAADMIN. (2017). Smart Classroom ห้องเรียนในยุค 4.0 ตอนที่ 1. สืบค้นจาก http://oho.ipst.ac.th/ smart-classroom-4-0-part1/

Facebook Comments Box