Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติจริง นักศึกษาเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม ม.วลัยลักษณ์

โครงการปลูกเมล่อน

ฟาร์มเมล่อน ห้องฝึกปฏิบัติการจริงของนักศึกษาหลักสูตรเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม
สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โครงการภายใต้ความร่วมมือกับ Mashav (Israel’s Agency for International Development Cooperation)และสถานทูตอิสราเอลประจําประเทศไทย กับ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของโครงการปลูกเมล่อน

โดยโครงการปลูกเมล่อน ทางคณาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม ได้ร่วมกันปลูกหลากหลายสายพันธ์ุ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งจากงานวิจัยที่ผ่านมา ทำให้เราได้พันธุ์ที่เหมาะสม ได้ระบบการจัดการธาตุอาหารที่ดีขึ้น และได้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ
รอบนี้เราปรับปรุงโรงเรือนใหม่ เดินระบบน้ำใหม่ และทำการปรับปรุงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนี้ ได้ลงปลูกประมาณ 300 กว่าต้น 

ขั้นตอนการปลูกเมล่อน

เมล่อนเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นทั้งเรื่องรสชาติ และกลิ่นหอม ทำให้ผลไม้ชนิดนี้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคค่อนข้างมาก แต่เนื่องจากเมล่อนเป็นพืชที่ต้องดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอนเป็นอย่างมากหลายๆคนเลยกังวลว่าถ้าไม่ได้ทำเกษตรมาก่อนจะปลูกเมล่อนได้ไหม เพราะว่าเป็นมือใหม่ หรือ มืออาชีพก็สามารถปลูกเมล่อนไว้เพื่อขายหรือกินเองได้ 

1. การเพาะกล้า

การเพาะเมล็ด เพาะในกะบะเพาะหรือถุงเพาะเมล็ดก่อน ถ้าอยากให้เมล็ดงอกได้ดีและเร็วขึ้น ให้แช่ในน้ำหรือน้ำอุ่น 3-4 ซม. หุ้มด้วยผ้าเปียกหมาดๆ ต่ออีก 1 คืน แล้วจึงค่อยนำไปเพาะต่อในวัสดุเพาะ

2. การเตรียมแปลงปลูกและย้ายกล้า

การเตรียมแปลงปลูกและย้ายกล้า เมล่อนเป็นพืชที่มีราคาแพง โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด จึงคุ้มค่ากับการปลูกทั้งในแปลงเปิดที่ลงทุนต่ำและในโรงเรือนที่ลงทุนสูง

3. การดูแลรักษาระหว่างการพัฒนาของผล

การดูแลรักษาระหว่างการพัฒนาของผล การดูแลที่ถูกต้องจึงจะให้ผลผลิตที่ดี ทั้งวิธีการขึ้นค้าง
การแต่งกิ่งแขนง การผสมเกสรและการไว้ผล ล้วนต้องรู้วิธีการดูแลให้เหมาะสมในต้นเมล่อนหนึ่งต้นจะปล่อยให้ติดลูกเพียงหนึ่งผลเพื่อต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ผลดังนั้น หากมีการดูแลรักษาที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นเมล่อนนั้นเลย ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

4. การให้น้ำและปุ๋ยแก่เมล่อน

การให้น้ำ ปัจจุบันนิยมใช้ระบบการให้น้ำแบบหยดซึ่งเป็นการให้น้ำแก่ต้นแตงที่ในบริเวณรากของต้นแตงแต่ละต้นโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดน้ำกว่าและยังสามารถผสมปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิดลงไปในระบบน้ำหยดได้ด้วย แต่ต้องใช้การลงทุนสูงในครั้งแรกแต่สามารถเก็บไว้ใช้ในฤดูกาลปลูกต่อๆไป

การให้ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยให้แก่เมล่อนที่ถูกวิธีและประหยัดนั้น ก่อนการให้ปุ๋ยแก่ต้นเมล่อนควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อหาความอุดมสมบูรณ์ของดินเสียก่อนว่ามีอินทรีย์วัตถุ ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโปแตสเซียม ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่ในปริมาณเท่าใดก่อน จึงค่อยกำหนดปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้แก่ดินที่ปลูกนั้นอีกครั้ง เนื่องจากความอุมสมบูรณ์ของดินในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน คำแนะนำในการให้ปุ๋ยแก่ต้นเมล่อนต่อไปนี้ จึงเป็นคำแนะนำทั่วไปสำหรับแปลงปลูกพืชที่ไม่มีผลการตรวจวิเคราะห์ดิน

5. การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยว ในการเก็บเกี่ยวผลเมล่อนเพื่อการจำหน่ายจึงต้องเก็บเกี่ยว ในระยะที่พอดี หากเก็บเร็วเกินไปจะได้ผลเมล่อนที่อ่อนเกินไป รสชาติยังไม่หวานและมีน้ำหนักน้อย หากเก็บเกี่ยวล่าช้าไป ผิวและเนื้อภายในจะอ่อนนุ่มเกินไปไม่เหมาะสำหรับการเก็บรักษาและการจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีที่จะทำให้เมล่อนนั่นหวานก่อนที่จะเก็บเกี่ยวดังนี้
ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ให้ค่อยๆ ลดปริมาณการให้น้ำแก่ต้นเมล่อนลงทีละน้อย จนถึง 2 วันก่อนเก็บเกี่ยวให้ลดน้ำลงจนกระทั่งต้นแตงปรากฎเกิดอาการเหี่ยวในช่วงกลางวันการทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำตาลในผลเมล่อนและลดปัญหาการแตกของผลเมล่อนก่อนการเก็บเกี่ยวเมล่อนที่จัดว่ามีความหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด ควรมีค่าความหวานอยู่ที่ประมาณ 14 องศาบริกซ์ ขึ้นไปหรืออย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 12 องศาบริกซ์ โดยสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องวัดความหวานคลิ๊ก ยิ่งมีค่ามากยิ่งหวานมาก และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

6. การเก็บรักษาทั้งผลเมล่อนและเมล็ดพันธุ์

การเก็บรักษาเมล่อน เมล่อนเป็นผลไม้สามารถเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลพัฒนาเต็มที่แต่ยังไม่ถึงระยะสุกงอมและนำมาบ่นให้สุกก่อนการบริโภคได้เช่นเดียวกับมะม่วง กล้วยและมะละกอ ดังนั้นถ้าหากเก็บเกี่ยวเมล่อนที่แก่แล้วนำมาวางเก็บไว้ในสภาพอุณหภูมิห้อง (ประมาณ 27 – 30 องศาเซลเซียส) ผลเมล่อนจะเกิดการสุกงอม เนื้อผลอ่อนและเน่าเสียในที่สุด ในเวลาอันสั้น หากต้องการเก็บรักษาเมล่อนให้คงสภาพเดิมไว้ให้นานที่สุด
เพื่อรอการจำหน่ายหรือขนส่งไปจำหน่ายในสถานที่ห่างไกล ควรจะต้องเก็บเมล่อนในสภาพที่มีอากาศเย็น ประมาณ 2 – 5 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์สูงถึง 95 % จะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาเมล่อนออกไปได้นานถึง 15 วัน ในระหว่างการขนส่งและวางจำหน่ายหากสวมผลเมล่อนไว้ในถุงตาข่ายโฟมจะช่วยป้องกันการกระแทกระหว่างกัน กันให้เกิดรอยซ้ำได้

7.โรค

1. โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิด Pseudoperonospora ชนิดหนึ่งซึ่งระบาดในสภาพอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง อาการของโรคเกิดขึ้นบนใบเป็นแผลสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นใยของเชื้อราสีขาวหม่นเกิดขึ้นที่ใต้ใบบริเวณที่ตรงกับแผล เมื่ออาการรุนแรง ทำให้ใบแห้ง และเถาตายได้ ในขณะที่กำลังออกดอกติดผล เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับการปลูกเมล่อนในฤดูฝนของประเทศไทยที่มีสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการระบาดของเชื้อโรค การป้องกันก่อนการเกิดโรคในฤดูฝน ควรมีการฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา จำพวกมาเน็บ หรือ ไซเน็บ เป็นระยะๆ ทุกสัปดาห์ ถ้าหากพบว่าเชื้อราเข้าทำลายแล้วควรควบคุมอาการของโรคด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราที่มีฤทธิ์ดูดซึม เช่น ริโดมิล สำหรับต้นที่มีอาการรุนแรงแล้ว ควรถอนต้นทิ้งแล้วนำมาเผาไฟเสีย เพื่อป้องกันการเชื้อโรคแพร่กระจายออกไปมากยิ่งขึ้น
2. โรคเหี่ยวจากเชื้อฟูซาเลียม (Fusarium wilt) เกิดจากเชื้อราชนิด Fusarium ที่อยู่ในดิน ทำให้ต้นเมล่อนเกิดอาการใบเหลืองและเหี่ยวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลายในท่อน้ำท่ออาหาร การรักษาทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะเชื้อโรคอยู่ในดิน เมื่อพบว่ามีต้นเป็นโรคนี้ ควรถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง การปรับค่าความเป็นกรด – ด่าง ของดินให้มีค่าสูงขึ้น จะช่วยชลออาการของโรคนี้ได้ถ้าพบว่าเกิดโรคนี้อย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกใด ควรงดการปลูกพืชในวงศ์แตงนี้ซ้ำในที่เดิมในฤดูติดกัน
3. โรคใบด่างจากเชื้อไวรัส ต้นแตงเกิดอาการใบด่างเหลือง หยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งขึ้น ทำให้แตงชะงักการเจริญเติบโต ไม่ออกดอกและติดผล ถ้าพบว่าเริ่มมีต้นเมล่อนเป็นโรคนี้ ควรรีบถอนต้นนั้นทิ้ง และนำไปเผาทำลาย ในการป้องกันการเกิดโรคนั้นต้องหลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดอื่นในวงศ์แตงในบริเวณใกล้เคียง และพยายามกำจัดแมลงศัตรูพืชที่เป็นพาหนะของโรคนี้ คือ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน โดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง เป็นระยะๆ แต่ต้องงดการฉีดก่อนการเก็บเกี่ยว
4. โรคราแป้งขาว (Powdery mildew) เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่ง ระบาดในสภาพอุณหภูมิและความชื้นสูง อาการเกิดบนใบ และผล ทำให้ใบกรอบเป็นสีน้ำตาล อาจเกิดร่วมกับโรคราน้ำค้าง ป้องกันกำจัดได้ด้วยการฉีดพ่นกำมะถันผง หรือ สารป้องกันกำจัดเชื้อราเบนโนมิล (Benomy)

7.แมลงศัตรูที่สำคัญ

1. เพลี้ยไฟ (Thrips) เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่เป็นสีดำ ดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หดสั้น บิดเบี้ยว ระบาดมาในสภาพอากาศร้อนและแห้งของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพาหนะพาเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้านทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และ ฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง แลนแนท
2. ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle) เป็นแมลงปีกแข้ง ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกมีสีเหลืองปนส้ม กัดกินใบแตงให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้าระบาดและทำความเสียหายให้กับใบจำนวนมาก ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เซฟวิน 85 หรือ ตั้งแต่ก่อนย้ายปลูก ให้หยอดสารเคมีกำจัดแมลงชนิดดูดซึม คือ คาร์โบฟูราน หรือฟูราดาน ที่ก้นหลุม ก่อนย้ายปลูก ซึ่งจะมีฤทธิ์ป้องกันแมลงต่างๆ ได้ประมาณ 45 วัน แต่ไม่ควรใช้สารชนิดนี้อีกในระหว่างการเจริญเติบโตและติดผล เพราะจะตกค้างในผลผลิต เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
3. หนอนชอนใบ (Leaf minor) เป็นแมลงตัวเล็กที่ชอนไชอยู่ใต้ผิวใบ กัดกินเนื้อใบเป็นทางยาวคดเคี้ยวไปทั่วทั้งผืนใบ โดยทั่วไปไม่พบว่ามีการระบาดมากในพืชตระกูลแตงเท่าใดนัก แต่ในกรณีที่มีการระบาดมาก และเกิดขึ้นในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะทำให้พื้นที่ใบเสียหายส่งผลให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่อไปของต้นเมล่อน วิธีการกำจัดต้องใช้สารเคมีชนิดดูดซึมเท่านั้นจึงจะได้ผล เช่น อะบาเมคติน เป็นต้น แต่ไม่ควรฉีดในระยะก่อนเก็บเกี่ยว
4. แมลงวันผลไม้ (Melon fruit fly) เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ผลไม้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ตัวเมียจะวางไข่ในผลไม้ใกล้สุก ทำให้เกิดตัวหนอนชอนไชอยู่ในผล ทำให้เกิดแผล เน่าเสียราคา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือการห่อผลก่อนที่ผลไม้จะสุกแก่

ที่มา : เว็บไซต์ BUKUJOU ขั้นตอนการปลูกเมล่อน
สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

Facebook Comments Box