Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ทำงานอย่างไรให้ฉลาด ฉับไว ไม่พลาดด้วยเทคนิคแบบนินจา

ninja-g88d20c2cc_1280

“การมีงานรัดตัวไม่ได้หมายถึงการทำงานอย่างแท้จริงเสมอไป เป้าหมายของงานทุกชนิดคือผลงานหรือการทำงานให้เสร็จ และการจะทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริงได้ต้องอาศัยการคิดล่วงหน้า ระบบ การวางแผน สติปัญญา จุดประสงค์ที่ซื่อตรง และหยาดเหงื่อ เพราะฉะนั้นการดูเหมือนทำอะไรบางอย่างอยู่ ย่อมไม่ได้หมายความว่ากำลังทำสิ่งนั้นจริงๆ” 

-โทมัส เอดิสัน-

          วันนี้มีเวลาว่างมากพอที่จะเดินทอดน่องเรื่อยเปื่อยในห้างสรรพสินค้าที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมายที่มาจับจ่ายใช้สอยและพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ เช่นเดียวกันกับตัวเองที่มาฆ่าเวลาทิ้ง ณ ที่แห่งนี้เช่นกัน จนรู้ตัวอีกทีก็มาหยุดอยู่หน้าร้านหนังสือที่คุ้นเคย และไม่ลังเลที่จะเข้าไปหยิบหนังสือเล่มหนึ่งด้วยเพราะชื่อหนังสือมีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลย “ทำงานฉลาด ฉับไว ไม่พลาด ด้วยเทคนิคแบบนินจา” เขียนโดย Graham Allcott แปลโดย เชิญพร คงมา,พรเลิศ อิฐฐ์ หากเราเจอหนังสือชื่อดูแปลก คุณคิดเหมือนกันหรือเปล่าว่ามันน่าค้นหาอยู่ไม่น้อย แค่เพียงเปิดสารบัญอ่าน มันยิ่งกระตุ้นต่อมอยากรู้อยากอ่านเพิ่มขึ้น และนั่นก็เป็นเหตุผลที่มากพอให้ยอมจ่ายเงินซื้อมันกลับบ้านมาด้วย

       หนังสือแบ่งเนื้อหาออกเป็นบท รวมทั้งสิ้น 11 บท เชื่อเหลือเกินว่าเมื่อเราอ่านจบก็จะได้เทคนิคการทำงานแบบใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและบางครั้งยังช่วยจุดไฟในตัวให้ลุกโซนพร้อมที่จะออกไปลุยกับงานต่าง ๆ ที่อยู่กองอยู่ตรงหน้า…จริงหรือไม่ ?

          ในบทที่ 1 วิถีของนินจาผู้มีประสิทธิภาพ ผู้เขียนได้บอกเล่าเรื่องราวของการ “บริหารเวลา” ซึ่งเชื่อมั่นว่าเป็นปัญหาโลกแตกของเราในยุคนี้ ใครๆ หลายคนมักเชื่อว่าถ้าเราบริหารเวลาได้ จะทำให้เราทำงานเป็น และส่งผลต่อเนื่องไปถึงความสุขในการใช้ชีวิตด้วย  สำหรับตัวเองขอเชื่อเช่นเดียวกับผู้เขียนที่บอกว่า “มีหนังสือหลายร้อยเล่มที่พูดถึงการบริหารเวลา และส่วนใหญ่เขียนโดย กูรู ที่ดูเหมือนจะเชี่ยวชาญเรื่องนี้เป็นอย่างดี สิ่งที่พวกเขาแนะนำก็คือ เราควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่เหมาะสม และเริ่มต้นวันด้วยรายการสิ่งที่ต้องทำ จากนั้นลงมือทำอย่างมีแบบแผนโดยไล่เรียงจากสิ่งที่สำคัญที่สุดไปจนถึงสิ่งที่สำคัญน้อยที่สุด นอกจากนี้ เราต้องจัดระเบียบทุกอย่างตั้งเป้าหมาย ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว จัดเรียงสิ่งของที่วางระเกะระกะอยู่รอบ ๆ ตัวเรา รวมถึงการงานที่ซับซ้อนด้วยแผนการที่ยืดยาวแต่สมบูรณ์แบบ”   มาถึงจุดนี้ทำให้เริ่มเห็นด้วยกับผู้เขียนเลยว่าบรรดากูรูทั้งหลายช่างพูดง่ายแต่ในความเป็นจริงมันทำยาก  และไม่ได้ยากแบบธรรมดาแต่มันโคตรยากต่างหาก

       

ารบริหารเวลาได้ตายไปแล้ว อะไรที่ทำให้ผู้เขียนและเราเองเชื่อแบบนี้ นั่นเพราะปัจจุบันเป็นโลกของระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตและการเชื่อมต่อส่งผลให้กลายเป็นโลกที่ทุกคนสามารถผลิตข้อมูลเองได้อย่างหลากหลายและเมื่อสังคมถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล ทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ สิ่งที่อยู่รอบตัวเราสามารถเป็นข้อมูลได้ทั้งหมด ทุกวันนี้ตื่นเช้ามาเราโดนข้อมูลพุ่งเข้าชนจนแทบเอาตัวและสมองที่มีอยู่น้อยนิดมาคิดบริหารเวลาไม่ได้เลย การจะมานั่งลำดับความสำคัญแบบ สำคัญที่สุด A รองลงมา B และ C ตามลำดับ กับยุคปัจจุบันมันล้าสมัยไปแล้ว มันใช้ไม่ได้
     ไลน์เด้งตั้งแต่ที่บ้าน ถึงที่ทำงานเจอกองอีเมล์ Facebook Twitter Instagram Google drive รับสายประสานงานทางโทรศัพท์ ประชุมผ่าน Zoom  อีก เผลอแป็บๆ อ้าว…16.30 น.แล้ว เวลาผ่านไปเร็วจริง ๆ ไม่ต้องคิดถึงการบริหารเวลาเพราะงานมันมาในรูปแบบที่ซับซ้อน งานของเราไม่ตายตัวแต่มีอิสระมากขึ้น พนักงานแต่ละคนต้องมีความรับผิดชอบที่มากขึ้น และที่สำคัญหลายคนเจอกับชั่วโมงการทำงานที่ไม่ได้จบแค่ในเวลางานอีกต่อไป แต่สามารถยีดหยุ่นได้และดูเหมือนจะยาวนานกว่าที่เคยเป็น ทำให้ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเราต้องรับหนังสือผ่านระบบบริหารสำนักงานดิจิทัลถึงเที่ยงคืน นั่นหมายความว่าเราไม่สามารถทำทุกอย่างให้สำเร็จตามลำดับ ABC ได้อีก ขณะที่ตัวเองกำลังเร่งทำงาน B ปรากฎว่าลำดับ C กลายมาเป็นลำดับ  A จากข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา หรือเกิด A ใหม่เข้ามาอีก เมื่อเราทำงานบางอย่างเสร็จก็จะรู้สึกโล่งและควรพอใจรู้สึกจิตใจสงบลงแต่ช้าก่อน เราเผลอดีใจได้อึกใจเดียวงานใหม่ก็จะถูกมอบหมายมาอีก…What’s… ?

“เราต้องเต็มใจกำจัดชีวิตที่เราวางแผนไว้เพื่อที่จะมีชีวิตในแบบที่รอคอยเราอยู่” 

 -โจเซฟ แคมป์เบลล์-

    วิถีของนินจาผู้มีประสิทธิภาพ หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้ซึ่งเนื้อหาจะเกี่ยวกับการพัฒนากรอบความคิดแบบนินจาให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตการทำงานในยุคปัจจุบัน เพื่อให้เราผู้ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับข้อมูลมหาศาลในที่ทำงาน รู้วิธีควบคุมสถานการณ์ และทำให้เรามีเวลามากพอที่จะทำงานสำคัญ ๆ ให้เสร็จในแต่ละวัน ผู้เขียนไม่ได้บอกว่าเราสามารถทำทุกอย่างให้เสร็จ…แสงสว่างปลายอุโมงค์ก็เริ่มมา

          วิถีการทำงานของนินจาที่ผู้เขียนบอกไว้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดระดับความเครียด เปลี่ยนมุมมองของตัวเราที่มีต่องาน ….เน้นมุมมอง  ที่จะช่วยให้เราพัฒนาระบบหรือกรอบในการทำงานได้อย่างง่ายดาย ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูล ความสำเร็จของหน้าที่การงานจะตกเป็นของคนที่ตัดสินใจได้ดีที่สุด

          ผู้เขียนได้บอกเราต่อว่า การทำงานในยุคปัจจุบัน สิ่งจำเป็นที่เป็นคุณสมบัติที่เราพึงมีนั่นคือการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ซึมซับ และเข้าใจ พร้อม ๆ กับการทำงานในยุคนี้ที่เราต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น และพร้อมต้องยอมรับข้อผิดพลาดได้ด้วย  

          คุณลักษณะของนินจาผู้มีประสิทธิภาพ มีอะไรบ้างเราลองพิจารณากันดูเล่นๆ ว่าประเด็นไหนที่เราเริ่มเป็นนินจาแล้ว 

  1.  ความสงบนิ่ง
  2. ความโหดเหี้ยม
  3. ความเชี่ยวชาญในการใช้อาวุธ
  4. การลอบทำและอำพรางตัว
  5. ความคิดนอกกรอบ
  6. ความว่องไว
  7. การมีสติ
  8. การเตรียมพร้อม

แล้วคุณผู้อ่านเป็นนินจาหรือเปล่า? นินจาในแต่ละแบบเป็นอย่างไรโปรดติดตามตอนต่อไป….ชะแว๊บ!!!

ที่มา: Graham Allcott,How To Be A Productivity NINJA,เชิญพร  คงมา, พรเลิศ  อิฐฐ์
ภาพโดย: Candra Rustyan จาก Pixabay

Facebook Comments Box