Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

การสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)

ทุกวันนี้การมัดใจคนเก่งให้อยู่กับองค์กรคงไม่ใช่แค่ตำแหน่งและเงินเดือนอีกต่อไป  แต่คือ วัฒนธรรมองค์กร หรือวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture)     ที่จะต้องเป็นมิตรมีผลต่อจิตใจและสามารถพาให้เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่แปลกที่คำคำนี้จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วง COVID-19 ที่ทุกคนทำงานอยู่บ้านจนวัฒนธรรมองค์กรเริ่มเลือนลาง  หรือกระทั่งเกิดวัฒนธรรมใหม่จาก Work From Home เลยก็มี  นี่จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources : HR)     ต้องหันมาสำรวจวัฒนธรรมองค์กรว่า มีวัฒนธรรมอะไรที่ควรเน้นยำ เปลี่ยนแปลงหรือสร้างขึ้นมาใหม่ ก่อนที่พนักงานคนเก่งจะโบกมือลาไปอย่างน่าเสียดาย

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะการกำหนดวิถีการทำงานของคนในองค์กรให้เป็นไปตามทิศทางเดียวกัน   เพื่อสร้างความเจริญงอกงามให้กับองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญที่จะรักษาพนักงานเก่าให้อยู่กับเราไปนาน ๆ     หรือสร้างเสน่ห์ดึงดูดคนเก่งจากภายนอกให้มาสนใจ       การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องคิดร่วมกัน สร้างร่วมกันและใช้ร่วมกันจนกลายเป็นธรรมเนียม ซึ่งนำมาสู่วัฒนธรรมที่พนักงานทุกคน   รู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร มองประโยชน์ขององค์กร  มีความต้องการให้เป็นองค์กร        และมีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีม วัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะมีคุณค่าต่อพนักงาน และนำไปสู่ความสำเร็จตามอุดมการณ์หรือเป้าหมายขององค์กร

 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)

        ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กร ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายใน/ปัจจัยภายนอก, ปัจจัยที่มองเห็น/ปัจจัยที่มองไม่เห็น ฯลฯ   โดยในที่นี้ขออ้างอิงจากบทความของ Harvard Business Review    ที่กล่าวถึงปัจจัยสำหรับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีมี 6 ข้อ ดังนี้

1. วิสัยทัศน์ (Vision) วัฒนธรรมที่ดีเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร  ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สร้างตัวตนและจุดประสงค์ในการสร้างองค์กรนั้น ๆ ให้คนอื่นรับรู้ โดยทั่วไปแล้วองค์กรมักจะตั้งวิสัยทัศน์สั้น ๆ   เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ เช่น สมาคมรักษาโรคอัลไซเมอร์มีวิสัยทัศน์ว่า “โลกที่ปราศจากโรคอัลไซเมอร์” แบบนี้

 

2. ค่านิยม (Values) ค่านิยมองค์กรจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและทัศนคติของพนักงาน ยิ่งหากทุกคนมีค่านิยมเดียวกัน ก็จะทำให้พนักงานเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์วิสัยทัศน์

3. การปฏิบัติ (Practices) วัฒนธรรมจะไม่เกิด ถ้าไม่มีการลงมือปฏิบัติจริง และมันจะเป็นวัฒนธรรมได้ก็ต่อเมื่อทุกคนปฏิบัติร่วมกัน  และต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นเรื่องธรรมเนียมปกตินั่นเอ

4. ผู้คน (People) องค์กรไม่ใช่สถานที่ แต่คือผู้คน ซึ่งคนในที่นี้นับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ไปจนถึงพนักงานทุกคน เพราะคนคือปัจจัยสำคัญที่จะสร้าง สนับสนุน หรือไม่ก็ทำลายวัฒนธรรมได้เลย    

5. การเล่าเรื่อง (Narrative) หน้าที่สำคัญของการเล่าเรื่องหรือการสื่อสาร      ก็คือเป็นปัจจัยในการสืบสานวัฒนธรรมให้คงอยู่รุ่นต่อรุ่น เราจึงเห็นวัฒนธรรมที่ดีในองค์กรใหญ่ ๆ ยังคงยึดถือปฏิบัติกันต่อมาแม้ว่าจะผ่านมานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม

6. สถานที่ (Place) ถึงแม้องค์กรจะไม่ใช่สถานที่ แต่สถานที่เป็นอีกปัจจัยในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเช่นกัน เพราะสถานที่ทำงานเป็นแหล่งที่ผู้คนจะมาเจอกัน การออกแบบ       หรือการตกแต่งที่ทำงานจึงมีผลต่อพนักงาน   เช่นกัน โดยเฉพาะช่วง COVID-19 ที่ทุกคนทำงานทางไกล   ก็จะเกิดวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ขึ้นมาเช่นกัน 

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้เกิดขึ้นภายในวันเดียว ซึ่งต้องให้เวลากับสิ่งเหล่านี้นานพอสมควรและที่สำคัญคือต้องมีการวางแผนในการพัฒนาให้เกิดขึ้น  ซึ่งหากวัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้นแล้ว  ก็สามารถใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมองค์กรได้ในระยะยาว  ในปัจจุบันสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้โดย การรับรู้ถึงวามสำเร็จของพนักงาน การมีอยู่พนักงานนับเป็นความสำคัญอย่างหนึ่ง ยิ่งถ้าหากรับรู้ถึงความสำเร็จในการทำงานของพนักงานนั้น ๆ ก็จะยิ่งส่งผลดีในวงกว้าง โดยเฉพาะผู้บริหารควรจะมีการชื่นชมพนักงานบ้าง  การชื่นชมพนักงานเป็นตัวชี้วัดต่อความผูกพัน การรักษา และการพัฒนาตัวเองของพนักงานอย่างมีนัยยะสำคัญ   มีการรับฟังเสียงพนักงานอย่างแท้จริง การรับฟังความคิดเห็นของพนักงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะหากเราทำพลาดในข้อนี้ก็จะทำให้พนักงานสูญเสียกำลังใจในการทำงานได้ โดยเราสามารถรับฟังในรูปแบบแบบสอบถาม  หรือการเข้าพูดคุยส่วนตัวเพื่อสังเกตอวัจนภาษาต่าง ๆ และหากเป็นการทำงานทางไกล    ก็อาจเปิดกล้องเพื่อให้การท่าทางของพวกเขาได้ด้วย  ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี  ความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมอยู่ในมือของผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้นำมีส่วนสำคัญในการเป็นตัวอย่างให้กับผู้ร่วมงาน ถ้าผู้นำไม่เชื่อในวัฒนธรรมองค์กร ก็คงไม่มีใครเชื่อมั่นเช่นกันการดำเนินการตามค่านิยม  ซึ่งวิสัยทัศน์เป็นตัวกำหนดภารกิจ    แต่ค่านิยมจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและทัศนคติ ค่านิยมจึงเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างวัฒนธรรม   ซึ่งถ้าหากทุกคนสามารถดำเนินการตามค่านิยมได้อย่างจริงก็จะเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ทุกคนทำได้จริง หาใช่คำพูดสวยหรูที่ไม่สามารถทำได้  และต้อง หมั่นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร เป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้กับพนักงานระหว่างหน่วยงาน เพื่อสร้างความรู้จักกันให้มากขึ้น สายสัมพันธ์นี้จะส่งเสริมให้แต่ละฝ่ายทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกใจขึ้น      ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพเช่นกัน  เน้นการเรียนรู้และการพัฒนา วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร  ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานอย่างมีนัยยะสำคัญ      พนักงานควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม (Soft Skill)  ตระหนักถึงวัฒนธรรมทุกวัน  แรกเริ่มการรับพนักงานแล้วที่จะมีการปฐมนิเทศวันเดียวแล้วปล่อยให้พนักงานลุยงานทันที แต่ทางที่ดีเราควรสร้างความตระหนักรู้ถึงวัฒนธรรมที่อยากสร้างให้พนักงานรับรู้บ้าง   เนื่องจากจะทำให้พวกเขารักษาวัฒนธรรมนั้น ๆ   ให้สดใหม่และทำตามอยู่เสมอ      ปรับแต่งให้เข้ากับประสบการณ์แต่ละคน เพราะความต้องการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  การยืดหยุ่นจึงเป็นทางออกที่ดีกว่าการบังคับ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงต้องสำรวจความต้องการของพนักงานอยู่เสมอว่าพวกเขาต้องการหรือไม่ต้องการวัฒนธรรมแบบไหน นับเป็นความเอาใจใส่ที่จะจูงใจให้เขาปฏิบัติตามวัฒนธรรมนั่นเอง

วิธีรักษาวัฒนธรรมองค์กรให้คงอยู่ 

เมื่อมีการสร้างวัฒนธรรมแล้วต่อไปคือ การรักษาวัฒนธรรมนั้นๆ ให้คงอยู่แม้จะเจออุปสรรค ซึ่งทาง inc.com  มีข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติดังนี้

1.      จ้างพนักงานใหม่อย่างระมัดระวัง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาวัฒนธรรมองค์กร โดยเราอาจต้องเข้มงวดมากขึ้น ตรวจสอบให้ดีว่าพวกเขาเหมาะสมกับงาน     เพื่อหลีกเลี่ยงอคติบางอย่างเมื่อรับเข้ามาทำงานจริง

2.      ย้ำถึงค่านิยมบ่อย ๆ เพื่อให้พนักงานทั้งเก่าและใหม่รับรู้ถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะพูดกับพนักงานใหม่ก็จะเป็นคัดเลือกระดับหนึ่งว่าพวกเขามีความคิดเห็นอย่างไรกับวัฒนธรรมองค์กรของเรา

3.    พัฒนาและรักษาวัฒนธรรมอยู่เสมอ กล่าวคือเป็นการสานต่อวัฒนธรรมองค์กรจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง

4.     ตระหนักถึงความสำเร็จและผลงานของพนักงานเป็นประจำ สิ่งเหล่านี้จะช่วยมัดใจพนักงานให้มีความรู้สึกที่ดีกับองค์กรอยู่เสมอ อาจเป็นการให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการชื่นชมก็เพียงพอแล้

5.  เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนแสดงความคิดเห็น หมั่นตรวจสอบว่าพวกเขาต้องการอะไร และรับฟังคำแนะนำนั้น ๆ เป็นประจำ

บทสรุป   

          โรเบิร์ต เอล. พีเตอร์ (Robert L. Peters)  ที่ปรึกษาทางด้านวัฒนธรรมองค์กร กล่าวไว้ว่าความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรได้ดีที่สุดแล้ว นอกจากจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีแล้ว    เรายังต้องใส่ใจในการฝึกฝนและปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถของบุคลากรในองค์กรอยู่เสมอ  เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ HR ทุกคนต้องหันมาใส่ใจวัฒนธรรมองค์กรให้มากขึ้น เพื่อสร้างค่านิยมที่มีคุณค่าต่อพนักงาน    และนำไปสู่ความสำเร็จตามอุดมการณ์หรือเป้าหมายขององค์กรต่อไป

อ้างอิง

สืบค้นจาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-organizational-culture-210604/ 4 มิถุนายน 2564

สืบค้นจาก  https://www.inc.com/rhett-power/5-ways-to-maintain-your-company-culture-during-growth.html

สืบค้นจาก https://www.entraining.net/article/ ปัจจัยที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

Facebook Comments Box