Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

7 ท่าบริหาร กล้ามเนื้อสะโพกคลายปวดเมื่อยในชีวิตประจำวัน

“ปวดตึงสะโพก” อาการปวดยอดฮิตของคนชอบนั่งนานๆ

๐ กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)

สามารถเกิดขึ้นได้ในคนหลายๆกลุ่ม โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานนานๆ ในออฟฟิศ พนักงานขับรถ หรือคนที่นั่งทำงานออนไลน์เป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงคนที่เคลื่อนไหวสะโพกมากเกินไป เช่น ออกกำลังกายหนักๆ นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน

๐ โดยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาท เกิดจากกล้ามเนื้อ Piriformis ซึ่งอยู่ตำแหน่งบริเวณก้นใกล้สะโพกด้านหลังเกิดการหดเกร็งตึง ทำให้ไปดึงรั้งกดทับเส้นประสาท Sciatic ที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา มีจุดกดเจ็บ และปวดหลังช่วงล่าง ส่งผลให้กระทบการการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

๐ อาการแสดง

ผู้ป่วยมักมีอาการแสดง คล้ายกับภาวะการกดทับเส้นประสาทที่เอว จากหมอนรองกระดูก หรือภาวะช่องโพรงสันหลังตีบตัน

โดยมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

– ปวดจากสะโพกข้างใดข้างหนึ่งร้าวไปถึงข้อพับเข่า บางรายที่มีความรุนแรงมาก จะมีอาการชาและอ่อนแรง

– ปวดหลังช่วงล่าง ปวดร้าวบริเวณรอบสะโพกและก้น

– มีจุดกดเจ็บตรงตำแหน่งสะโพก นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งไขว้ห้างจะทำให้ปวดมากขึ้น

๐ สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

– นั่งท่าทางเดิมๆเป็นเวลานานๆ นั่งบนพื้นผิวแข็งๆ

– ขับรถทางใกล้ระยะยาว เป็นเวลานานๆ

– ยกของหนัก เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า

– ออกกำลังกายมากเกินไป และยึดเหยียดกล้ามเนื้อสะโพกไม่เพียงพอ

– เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง เช่น ลื่นล้ม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น

๐ การป้องกันและการรักษา กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

– อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง

– หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนในท่าเดิมๆเป็นเวลานานๆ ควรเปลี่ยนอริยาบถ ทุก 1-2 ชม.

– ปรับท่านั่ง ยืน เดิน นอนในชีวิตประจำวัน รวมถึง โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย และลักษณะการทำงาน กิจวัตรประจำวัน

– ลดการใช้งาน และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจกระตุ้นให้อาการปวดกำเริบ

– ยืดเหยียดกล้ามเนื้อสะโพกอยู่เสมอ

– ประคบอุ่นในตำแหน่งที่ปวด 5-10นาที เช้า เย็น ทายานวด

– ทานยาแก้ปวดแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

– นวดแผนไทย กายภาพบำบัด

-หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์

7 ท่าบริหาร

Facebook Comments Box