Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

สภาวะโลกร้อน (GLOBAL WARMING)

ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของภาวะโลกร้อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ซี่งปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจกที่ห่มคลุมโลกจะกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้บนโลก ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นเร็วมากกว่าครั้งใดที่เคยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ ขณะที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนและส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมดุลของธรรมชาติ และจะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก

สาเหตุโลกร้อน

ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อย ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน (HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6)

 

1.ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา

แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ส่วนทวีปยุโรป ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้ง ในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด ขณะที่เอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปร ปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้ชัด เช่น การเกิดพายุใต้ฝุ่น แต่แถบทวีปอเมริกาเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น พร้อม ๆ กับทุ่งหญ้าใหญ่ของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกา

นักวิจัยได้มีการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 ว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตาม หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2- 4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทางเกิดความรุนแรง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง

 

2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหาย จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท

รายงาน ” Global Deserts Outlook” ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทราย จะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า

ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้

 

3. ผลกระทบด้านสุขภาพ

ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม ปรากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง

 

จะป้องกันได้อย่างไร ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้

  • 1. ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลง เช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พักอาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้ งาน
  • 2. นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่ พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุ การใช้งานนานๆ จะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย
  • 3. รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ ต่างๆ ที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การ เป็นปอดของโลกสืบไป
  • 4. ลดการใช้น้ำมัน จากการขับขี่ยวดยานพาหนะ
สาเหตุโลกร้อน
สาเหตุโลกร้อน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

1. กิจกรรมของมนุษย์ได้ทำให้ชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และพื้นโลกร้อนขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเป็นวงในบริเวณกว้างทั้งในชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร ภาคพื้นที่เป็นหิมะและน้ำแข็ง รวมถึงชีวมณฑล

 

2. ระบบภูมิอากาศของโลกระดับกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ที่กำลังเกิดขึ้นกับระบบภูมิอากาศของโลกเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในช่วงหลายร้อยจนถึงหลายพันปี การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างต้องใช้เวลาจำนวนมากไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกตินานนับร้อยจนถึงพันปีกว่าที่จะกลับสู่สภาพเดิมได้ โดยเฉพาะกับมหาสมุทร พืดน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลทั่วโลก

 

3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ส่งผลกระทบไปทั่วทุกภูมิภาคมีหลักฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงกับคลื่นความร้อนที่รุนแรง ฝนตกหนักความแห้งแล้ง และพายุหมุนเขตร้อน

 

4. อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงกลางศตวรรษเป็นอย่างน้อย หากเราไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังไม่ลดลงจนถึงระดับที่เหมาะสมให้เหลือน้อยที่สุดในไม่กี่ศตวรรษข้างหน้า ภาวะโลกร้อนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศจะยิ่งรุนแรงขึ้น

 

5. เมื่อยิ่งโลกร้อนขึ้น การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นความร้อนสุดขั้วที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้น คลื่นความร้อนในมหาสมุทร ฝนตกหนัก ความแห้งแล้งทางการเกษตรและระบบนิเวศน์ในบางภูมิภาคประสบภัยแล้ง อัตราส่วนการเกิดพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง ตลอดจนปริมาณการลดลงของน้ำแข็งในทะเล หิมะปกคลุม และชั้นดินเยือกแข็งคงตัวบริเวณขั้วโลกเหนือที่ลดลง

 

6. ภาวะโลกร้อนที่อย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้วัฏจักรของน้ำทั่วโลกเปลี่ยนแปลงทวีความรุนแรง ผลที่ตามมาคือวัฏจักรนี้และแปรปรวนมากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนช่วงมรสุมและความรุนแรงของเหตุการณ์เกี่ยวกับน้ำและความแห้งแล้งก็จะทวีคูณขึ้น

 

7. เมื่อมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ความสามารถของมหาสมุทรและผืนดินในการจะดูดซับและชะลอการสะสมของก๊าซนี้ในชั้นบรรยากาศจะลดได้น้อยลง

 

8. หากเมื่อภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงต่อไป ทุกภูมิภาคจะพบความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อด้านสภาพอากาศก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นในทุกภูมิภาค เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลในวงกว้างขึ้นที่ 2 องศาเซลเซียส ปัจจัยเหล่านี้จะขยายตัวกว้างขึ้นเมื่อเทียบกับ 1.5 องศาเซลเซียส และผลกระทบจะยิ่งกว้างมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

 

9. แม้ว่าการพังทลายของพืดน้ำแข็ง การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของกระแสน้ำการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร อย่างฉับพลัน และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าระดับที่คาดคะเน อาจจะไม่เกิดขึ้นแต่ก็ใช่ว่าผลกระทบเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้

 

10. เราสามารถแก้ไขการควบคุมภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ด้วยการต้องทำโดยการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสม และลดให้ปริมาณสุทธิเหลือศูนย์เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ยังต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เช่น ก๊าซมีเทน ให้เหลือน้อยที่สุดด้วย

 

11. หากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือน้อยหรือน้อยมากได้ ภายในเวลาไม่กี่ปี เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกและละอองลอย รวมถึงคุณภาพอากาศภายในไม่กี่ปี และจะเห็นความเปลี่ยนแปลงแตกต่างของอุณหภูมิพื้นผิวโลกในระยะเวลาประมาณ 20 ปี

ที่มา: อ้างอิงจากผลการศึกษาและการคาดคะเนจากรายงาน Climate Change 2021: The Physical Science ของ IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ)

Facebook Comments Box