หนังสือเดินทาง หรือ Passport หนังสือเดินทางเป็นเอกสารแสดงสัญชาติและตัวตนที่ออกโดยรัฐบาลสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ โดยมีข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ชื่อ-สกุล วันเกิด เพศ และสถานที่เกิด
หนังสือเดินทาง หรือ Passport ไม่ได้ให้สิทธิ์ในการเข้าประเทศอื่นหรือคุ้มครองขณะอยู่ต่างประเทศ แต่ช่วยให้ผู้ถือเดินทางกลับประเทศและได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายของประเทศผู้ออก
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ไม่รู้จักหรือไม่ให้การรับรองสถานะของประเทศผู้ออกหนังสือเดินทาง อาจปฏิเสธการเข้าประเทศของผู้ถือหนังสือเดินทางเหล่านั้นได้
แล้วรู้หรือไม่หนังสือเดินทางของไทยมี่กี่ประเภทและอะไรบ้าง
หนังสือเดินทางของไทยปัจจุบัน มี 4 ประเภท ได้แก่
- หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport) หน้าปกจะเป็นสีแดงสด โดยจะมีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ ซึ่งจะออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้

รูปที่ 1 :หนังสือเดินทางทูต
ที่มา :https://www.cimbthai.com/th/personal/blog/lifestyle-tips/passport.html
1.1 พระบรมวงศ์ และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.2 พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
1.3 พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
1.4 ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
1.5 นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
1.6 ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
1.7 ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธุรณ์
1.8 ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
1.9 อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
1.10 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ
1.11 ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต
2.หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) หน้าปกจะเป็นสีน้ำเงิน มีอายุไม่เกิน 5 ปี โดยผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น และไม่สามารถนำมาใช้ในการเดินทางส่วนตัวได้

รูปที่ 2 :หนังสือเดินทางราชการ
ที่มา :https://www.cimbthai.com/th/personal/blog/lifestyle-tips/passport.html
3. หนังสือเดินทางธรรมดา (Ordinary Passport) หน้าปกจะเป็นสีน้ำตาล โดยจะออกให้กับประชาชนทั่วไป และหนังสือเดินทางธรรมดา จะมี 2 ประเภท ดังนี้
3.1 หนังสือเดินทางธรรมดา ประเภท อายุไม่เกิน 5 ปี
3.2 หนังสือเดินทางธรรมดา ประเภท อายุไม่เกิน 10 ปี
โดย หนังสือทั้ง 2 ประเภทนี้ จะไม่สามารถต่ออายุเพิ่มเติมได้

รูปที่ 3 :หนังสือเดินทางธรรมดา
ที่มา : https://www.cimbthai.com/th/personal/blog/lifestyle-tips/passport.html
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หน้าปกจะเป็นสีเขียว โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
นอกจากนี้ยังมีหนังสือเดินทางอีก 3 ประเภทพิเศษคือ
- หนังสือเดินทางพระ ซึ่งจะออกให้สำหรับพระภิกษุ สามาเณร ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามระเบียบมหาเถรสมาคม
- หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งจะออกให้สำหรับชาวมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ โดยหนังสือเดินทางฉบับนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
- เอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อใช้แทนหนังสือเดินทาง (Certificate of Identity : C.I.) ซึ่งจะออกให้ในกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางแต่หนังสือเดินทางหมดอายุ หรือสูญหาย และไม่สามารถทำหนังสือเดินทางใหม่ได้ทันตามกำหนดที่ต้องเดินทางกลับประเทศไทยโดย C.I. จะใช้ในการเดินทางกลับประเทศไทยได้เพียงอย่างเดียวและมีอายุใช้งาน 30 วัน

รูปที่ 4 :หนังสือเดินทางชั่วคราว
ที่มา :https://www.cimbthai.com/th/personal/blog/lifestyle-tips/passport.html
อ้างอิง
(Wonderfulpackege, n.d.)
(CIMB THAI, 2023)