Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

แพทย์แผนไทยประยุกต์ฯ หลักสูตรใหม่ของ มวล. เป็นอย่างไร มาดูกัน…

1 พฤษภาคม 2565

บทความโดย ผศ.ดร.กิ่งกาญจน์ บรรลือพืช  
หัวหน้าสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
สำนักวิชาแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งเรียนรู้ คู่การปฏิบัติ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม  และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพได้ โดยหลักสูตรเน้นการผลิตบัณฑิตทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ยุคใหม่ ที่สามารถดูแลรักษาสุขภาพประชาชนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยทั้ง 4 ด้านได้อย่างเชี่ยวชาญ และมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในการมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้ ซึ่งศาสตร์ทั้ง 4 ด้านของการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย

1. เวชกรรมแผนไทย

ขอบคุณภาพจาก สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2. เภสัชกรรมแผนไทย

ขอบคุณภาพจาก สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

3. หัตถเวชกรรมแผนไทย

ขอบคุณภาพจาก สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

4. ผดุงครรภ์

ขอบคุณภาพจาก สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยทั้ง 4 ด้านดังกล่าว ครอบคลุมทั้งการบำบัดรักษา การพื้นฟูสมรรถภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ นอกจากต้องมีความรู้ความสามารถทางด้านการแพทย์แผนไทยแล้ว ยังต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และความรู้พื้นฐานทางด้านการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย เพื่อเป็นพื้นฐานในการตรวจวินิจฉัย การคัดกรองโรค และการสื่อสาร กับบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น เพื่อการส่งต่อผู้ป่วยและร่วมรักษาผู้ป่วยแบบสหวิชาชีพ การติดตามวิทยาการ รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการวิจัยและพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

เส้นทางอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ สามารถประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง

1. แพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพในสถานพยาบาลรัฐ และเอกชนรวมถึงสถานบริการสุขภาพ

2. อาจารย์ หรือนักวิชาการในสถาบันการศึกษา ภายใต้มหาวิทยาลัยทั้งของรัฐบาลหรือเอกชน

3. นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยในสถาบันวิจัยและพัฒนา รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ

4. ผู้ประกอบการด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยมุ่งเน้นธุรกิจคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ธุรกิจผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร หรือธุรกิจหัตถบำบัด

5. อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ขอบคุณภาพจาก สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์