Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

12 จรรยาบรรณผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ

“จรรยาบรรณ” คำสั้นๆ แต่มากด้วยความหมายที่แสดงถึงการมีจริยธรรมและคุณธรรมในการประกอบอาชีพต่างๆ พ่อค้าแม่ค้าก็มีจรรยาบรรณในการขาย การผลิต หรือการบริการต่างๆ และสำหรับบางอาชีพที่ได้รับการฝึกฝนทักษะให้มีความรู้ความชำนาญ เช่น แพทย์ พยาบาล ตำรวจ วิศวกร ครู ก็จะมีจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุก็เช่นกัน  แม้จะดูเหมือนเป็นอาชีพทั่วไปแต่ด้วยการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกฎ ระเบียบ มติครม.ต่างๆ ที่มีมากมายรวมถึงเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินขององค์กร ทำให้ผู้ปฏิบัติงานพัสดุมีจรรยาบรรณที่กำหนดไว้เช่นกัน
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2543 สำนักนายกรัฐมนตรี มีหนังสือที่ นร(กวพ.) 1305/ว 2324 แจ้งให้ทราบถึงจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้กำหนดขึ้น 12 ประการ

  • วางตัวเป็นกลาง
  • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึก  โปร่งใส  ตรวจสอบได้
  • มีทัศนคติที่ดี  พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  • ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่
  • ใช้ทรัพย์สินอย่างคุ้มค่า  ประหยัด  มีประสิทธิภาพ
  • คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานเป็นหลัก  ยึดหลักความถูกต้อง  ยุติธรรม ความสมเหตุสมผล
  • ร่วมงานกับผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน  ด้วยความเอาใจใส่  ร่วมมือช่วยเหลือแก้ไขปัญหา และพัฒนางาน
  • ไม่เรียก/ รับ/ ยอมรับทรัพย์สิน/ผลประโยชน์  จากผู้ขาย/ ผู้รับจ้าง/ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
  • ปฏิบัติต่อผู้ขาย/ผู้รับจ้าง/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม  เอื้อเฟื้อมีน้ำใจและต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการแข่งขันอย่างเสรี/เป็นธรรม
  • ร่วมกับทุกฝ่ายสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุ/ผู้เกี่ยวข้องให้พัฒนางานเป็นวิชาชีพเฉพาะสาขาหนึ่ง
  • ผู้บังคับบัญชาพึงเอาใจใส่ผู้ปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา/ คำแนะนำการปฏิบัติงานรับฟังความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล 
  • ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงควบคุม ตรวจสอบ ดูแลและกำกับผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุให้ประพฤติ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด

นอกจากจรรยาบรรณวิชาชีพ ก็ต้องมีจรรยาบรรณต่อตนเองและจรรยาบรรณต่อหน่วยงาน องค์กร ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังและความสามารถ

ส่วนพัสดุ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Facebook Comments Box