Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เช็คก่อนแชร์?: การรู้เท่าทันสื่อในยุคปัจจุบัน

เช็คก่อนแชร์? เป็นวิธีการรู้เท่าทันสื่อโซเซียลมีเดีย เป็นการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อป้องกันผลกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้แชร์ และผู้ที่รับสารนั้น

ในยุคปัจจุบันโลกแห่งการสื่อสารมีหลายด้านหลายมิติหลายรูปแบบ ปัจจุบันนี้คนทั่วโลกกลายเป็นโรคเสพติดอินเทอร์เน็ต ติดเกมส์ ติดแชท และติดเครือข่ายทางสังคม (Social Network) และใช้เวลามากในแต่ละวัน ดังนั้นเราจะต้องรู้เท่าทันในการรับข้อมูลข่าวสารและควรตรวจสอบความถูกต้องให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกใช้ เลือกแชร์ และรู้จักหรือเรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ในการตรวจสอบข้อมูล ว่าเป็นข้อมูลเท็จจริง หรือข่าวปลอม เพื่อให้เป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง ข้อมูลเท็จ หรือผู้อยู่เบื้องหลังที่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากความตื่นรับข้อมูลข่าวสารของเราเอง และทางที่ดีที่สุดคือการไม่แชร์ในสิ่งที่ไม่มั่นใจ เพื่อป้องกันผลกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้แชร์โดยไม่รู้ตัว หากต้องการแชร์จะต้องมีการตรวจสอบให้มั่นใจก่อนจึงจะแชร์

การแชร์สื่อในสังคมออนไลน์ คือการประชาสัมพันธ์ แบ่งปันและสืบค้นข้อมูล เผยแพร่หรือการสื่อสารข้อมูล (Data Communications) ถึงกลุ่มเป้าหมาย (ผู้รับ) โดยผ่านช่องทาง Social Media หรือสื่อสังคม (ออนไลน์) คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกับสาธารณชนผ่านอินเทอร์เน็ต

ข้อควรคำนึงก่อนการแชร์สื่อ

สิ่งแรกและสําคัญที่สุด คือการคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะแชร์ ก่อนที่จะแชร์ข้อมูลหรือบางสิ่ง

ไปให้พิจารณาว่าจะรู้สึกอย่างไรหากสิ่งนั้นไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้รับรู้ และควรจะตรวจสอบภาพถ่าย

หรือวิดีโอให้เรียบร้อยก่อนแชร์ เช่น ภาพพื้นหลัง เงาสะท้อน หรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความ

ผิดพลาดและไม่สวยงามเมื่อแชร์ออกไปแล้ว  และภาพหรือเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องควรจะตัดออก

สิ่งที่สอง จะต้องระมัดระวังภาพหรือวิดีโอที่มีผู้อื่นร่วมอยู่ด้วย หากไม่มั่นใจให้แชร์ลงในกลุ่มเฉพาะที่สามารถ

เลือกได้ว่าผู้ที่จะเห็นเป็นใครบ้าง เพื่อป้องกันการละเมิดผู้อื่น

สิ่งที่สาม ดูแลรายชื่อ “เพื่อน” เพจหรือกลุ่มที่เราจัดการ  จะต้องตรวจสอบการเชื่อมต่อด้วยในสื่อสังคม

ออนไลน์นั้นเป็นระยะและพิจารณาลบผู้ที่ไม่สะดวกใจในการแชร์เนื้อหาด้วย หรือเป็นเพจหรือกลุ่มที่ต้องการ

แชร์เนื้อหาส่วนบุคคลด้วยจริง ๆ

สิ่งที่สี่  ป้องกันบัญชีของเราเอง ควรจะใช้เวลาเพื่อตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนสื่อสังคมออนไลน์  เช่น ควรจะตั้งค่าหรือการล็อกในลักษณะของการเปิดการตรวจสอบ 2 ขั้นตอนเพื่อลดโอกาสที่ผู้ประสงค์ร้ายเข้าสู่บัญชีของเรา ดังนี้

          1) จํากัดการเข้าถึงรายชื่อเพื่อน เราสามารถจํากัดรายการการเข้าถึงของผู้อื่นได้ให้สามารถดูเนื้อหาได้เท่านั้น เพื่อป้องกันการโจมตีจากผู้ประสงค์ไม่ดี

2) ตั้งค่าสิทธิ์การเข้าถึงในอัลบั้มรูป หากเลือกที่จะแชร์รูปภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ให้ดูจำกัดสิทธิ์ใน

การเข้าถึงอัลบั้มของแต่ละบุคคลด้วย เพื่อป้องกันการเข้าถึงจากผู้ไม่ประสงค์ดี  (https://support.microsoft.com/th-th/office)

การรู้เท่าทันสื่อ

การรู้เท่าทันสื่อ คือ การที่เราไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งคำถามว่า สิ่งนั้นจริงหรือไม่จริง ใครเป็นคนให้ข้อมูลเขาต้องการสื่ออะไร หรือมีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่ (Patcharee Bonkham, 2560) หากเราย้อนกลับไปพิจารณาถึงการรู้เท่าทันสื่อในยุคดั้งเดิม มักพูดถึงการรู้เท่าทันสื่อในแบบเท่าทันผลกระทบ จิตวิทยา การถูกครอบครอง ครอบงำและการตั้งคำถามว่าสื่อนั้นต้องการอะไรจากเรา แต่ในปัจจุบันนี้การรู้เท่าทันสื่อนั้น “แตกต่างกัน” เพราะสื่อใหม่นั้นจะก้าวเข้าสู่ความเป็น “โลกของผู้ใช้สื่อ” (user generated content) ซึ่งหมายความว่าเราเป็นทั้งผู้ชม ผู้อ่าน ผู้ฟัง และกลายเป็นผู้คิดเขียนบอกเล่าแชร์ส่งต่อออกไปด้วย ควรมีการตรวจสอบและการรู้เท่าทันสื่อในยุคสื่อสมัยใหม่ที่ต้องรู้ในแต่ละมิติ คือ (ธวัชชัย สุขสีดา, ม.ป.ป.)

  1. พื้นที่ (space) : เราใช้มันบนพื้นที่แบบไหน?  

พื้นที่ของสื่อสมัยใหม่นั้ัน มิใช่พื้นที่ส่วนตัวหรือสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มันคือ  “พื้นที่ส่วนตัว

บนพื้นที่สาธารณะ” สมมุติว่าเรานั่งอยู่ร้านไอศกรีมในห้างสรรพสินค้า หรือ ทานอาหารในร้านอาหาร สถานที่แห่งนั้น “เราแค่มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนตัวของเรา” แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ พื้นที่นั้นมีคนสร้างขึ้นมาให้เราใช้ต่างหาก เพียงแต่เรารู้สึกว่าเป็นเจ้าของเท่านั้น เพราะฉะนั้นทุกๆ อย่างที่เราคิด โพสต์ขึ้นไป จึงไม่ใช่ในขอบเขตพื้นที่ส่วนตัวแต่เป็นพื้นที่สาธารณะเท่านั้น

2. เวลา (time): เราใชัมันมากน้อยเพียงใด?  

ทุกวันนี้ในยุคสังคมสารสนเทศใช้เวลากับสื่อมากขึ้น  ใช้สื่อหลากหลายช่องทางในเวลาเดียวกัน และทำกิจกรรมหลายๆ อย่างพร้อมกัน ดังนั้นการรู้เท่าทันสื่อใหม่จึงหมายความว่า “ใช้เวลากับมันมากเกินไป หรือควรรู้ว่า เวลาใดควรใช้หรือควรใส่ใจกับกิจกรรมอื่นๆ บ้าง” ไม่ใช่แค่นั้น แต่เรายังต้องรู้เท่าทัน “เวลา” ของมันด้วย เพราะสื่อใหม่ได้เข้ามากำหนดความเร็ว และการแข่งขันให้ผู้คน “ตกหลุมพรางความเร็ว/ช้า” เช่น รีบกดแชร์ กดไลค์หรือปล่อยข่าวลือไปเร็ว เพราะต้องการแข่งกับสื่ออื่นๆ หรือเพราะเราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งต่อข่าวที่เราเชื่อว่ามันจริง

3.ตัวตน (self) : เราใช้ มอง สร้าง ปฏิบัติ และวางกรอบตัวตนเราอย่างไร?
ลองคิดเรารู้สึกว่าตัวตนที่แท้จริงของเรานั้นคือตัวไหน…? ระหว่างในโลกออนไลน์ ในเกมออนไลน์

ในเฟซบุ๊กหรือตัวเราที่เป็นตัวเนื้อร่างกายที่แท้จริง เรามีตัวตนเดียวหรือหลายๆ ตัวตน…? วัยรุ่นสมัยนี้หรือ ผู้ใหญ่บางคนรู้สึกว่าตนเองสามารถสร้างตัวตนจำลอง ร่างอวตารได้หลายๆ ตัว นั่นอาจเป็นข้อดีและข้อแย่ เพราะคนในปัจจุบันจะมีอัตลักษณ์บุคคลหลากหลายมากขึ้น ซึ่งมันแย่แน่ ๆ ถ้าเริ่มที่จะ “สับสน”กับการสร้าง
อัตลักษณ์ในเฟซบุ๊ก ถ้ามันแตกต่างกันมากมันก็ย่อมส่งผลเชิงจิตวิทยาอัตลักษณ์ของตัวตน

4. ความเป็นจริง (reality): คุณรู้ แน่ใจหรือว่าที่คุณรับรู้นั้นคือ ความจริง ข้อเท็จจริง หรือความเป็นจริง?

คือสิ่งที่นักรู้เท่าทันสื่อต้องเรียนรู้เท่าทัน คือข้อเท็จจริงหรือความเป็นจริง…? เท่าทันสื่อดิจิทัลต้องเร่งเรียนรู้ เพราะสิ่งที่คุณรู้นั้น อาจไม่ใช่ความจริง แต่เป็นข้อเท็จจริงบางส่วนที่ประกอบสร้างความเป็นจริงขึ้นมากล่อมเกลาคุณให้หลงเชื่อ เช่น ข่าวหรือโฆษณาต่าง ๆ นั้นเอง

5. สังคม (social): เรารู้ไม่ว่าเรามีส่วนสร้างและส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?

ในโลกยุคอิทธิพลอำนาจสื่อเก่าสื่อนั้นมีผล ส่งผลกระทบมากมายต่อชีวิต ทัศนคติ ความรู้ พฤติกรรมและจิตวิญญาณของเรา, เรากลายเป็นผู้ตั้งรับรอกระบวนการก่อมเกลา  แต่ในสื่อใหม่ ผู้คนมีอำนาจที่จะสื่อสารกับโลก ทุกคนหันมาพูดเรื่องตัวเองมากขึ้น ไม่มีใครใส่ใจจะฟังเรื่องของคนอื่น ๆ  ทุกคนเป็นผู้ที่สามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมได้ทั้งหมด ด้วยเนื้อหา เวลาและสถานการณ์แวดล้อมที่เอื้ออำนวย (คำด่า คำชม ข่าวลือ ข่าวจริง ความรัก ความชัง สันติและสงคราม)  เกิดขึ้นได้ด้วยการใช้สื่อของเราทุกๆ คนโดยไม่รู้ตัว

นี่คือโลกยุคนี้ที่เรียกว่า โลกยุคดิจิทัล ที่ผู้คนทุกๆ คนเริ่มที่จะมีส่วนร่วมสร้างพร้อมๆ กัน ไม่มีใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดความรู้ ความจริง และผูกขาดอำนาจอีกต่อไป เราทุกคนได้กลายมาเป็นนักปฏิวัติ และนักโฆษณาชวนเชื่อไปพร้อม ๆ กัน  การรู้เท่าทันสื่อในแง่นี้จึงหมายถึงใส่ใจคนรอบข้าง เพื่อนคุณ สังคมคุณเพียงพอหรือเปล่า คุณเข้าใจกฎเกณฑ์ กติกาการอยู่ร่วมกันในโลกออนไลน์หรือไม่ ถ้าสื่อยุคดิจิทัลนี้ เป็นที่ๆ ทุกคนเอาระเบิดมาวางใส่ โลกก็จะไม่น่าอยู่ แต่ถ้าทุกคนเอาสติ เอาปัญญาความรู้ ความจริง และเจตนาดี หวังดีต่อกัน โลกก็จะน่าอยู่มากขึ้น (ธาม เชื้อสถาปนศิริ, 2557)

การรู้เท่าทันสื่อในยุคปัจจุบัน โลกสื่อใหม่  ถ้าเรารู้เท่าทันสังคมรวมถึงตัวเราจึงเท่ากับรู้เท่าทันตัวเราเอง และใช้สื่ออย่างมีความสุข

เช็คก่อนแชร์ มีสติคิดทุกครั้ง ก่อนโพสต์ ก่อนไลก์ ก่อนแชร์!

อ้างอิง การฝึกอบรม&วิธีใช้Microsoft Office. สืบค้นจาก https://support.microsoft.com/th-th/office) ธวัชชัย สุขสีดา. (ม.ป.ป.). การรู้เท่าทันสื่อในยุคสื่อดิจิทัล.สืบค้นจาก https://commarts.dpu.ac.th/dpudigitalcenter/article/3/ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2557). เปิด5แนวคิดรู้เท่าทันสื่อ-รู้ทันตัวเอง ก่อนโพสต์ ไลค์ แชร์.สืบค้นจาก https://www.isranews.org/content-page/item/27634-media_27634.html Patcharee Bonkham. (2560). 5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/39558-5%20การรู้เท่าทันสื่อ.html

Facebook Comments Box