Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เรื่องเล่า เทคนิคเล็ก ๆ สำหรับงานวิจัยทางการศึกษา

ขอเล่าประสบการณ์ตรงจากการจัดทำวิจัยทางการศึกษา งานวิจัยเป็นเรื่องง่ายสุดหากผู้วิจัยมีความเข้าใจครอบคลุมส่วนต่างๆที่สำคัญของงานวิจัยในแต่ละบท และเขียนงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกัน ดังนี้

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของปัญหา จากประสบการณ์อ่านงานวิจัยพบว่ามีงานวิจัยจำนวนมาก

ที่เขียนที่มาและความสำคัญไม่ชัดเจนโดยเขียนในภาพรวม กว้างๆจับประเด็นสำคัญไม่ได้แล้วสุดท้ายสรุปไว้ง่ายๆว่าผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งหากเขียนตามที่กล่าวมาจะทำให้ผู้อ่านจะมองไม่เห็นปัญหาหรือเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมจึงต้องทำวิจัยเรื่องนี้จึงทำให้ขาดความน่าสนใจ ดังนั้น เทคนิคการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา ควรเริ่มด้วย ย่อหน้าที่ 1 การเกริ่นนำ  ย่อหน้าที่ 2 สภาพปัญหาตามตัวแปรตาม ย่อหน้าที่ 3 นำเสนอตัวแปรอิสระ และย่อหน้าสุดท้ายสรุป

วัตถุประสงค์  การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีงานวิจัยบางเล่มนำประโยชน์มาเขียน

เป็นวัตถุประสงค์ ซึ่งวัตถุประสงค์จะต้องเขียนให้รู้ว่างานวิจัยนี้เราจะศึกษาอะไร และจะต้องมีความสอดคล้องกับวิธีการดำเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หากไม่สอดคล้องกันจะทำให้งานวิจัยผิดหลักวิชาการและขาดความน่าเชื่อถือ

นิยามศัพท์ การเขียนนิยามศัพท์งานวิจัยบางเล่มเขียนไม่ตรงกับชื่องานวิจัย ซึ่งเทคนิคง่ายๆ

การนิยามศัพท์ต้องตรงกับชื่อตัวแปรที่อยู่ในชื่องานวิจัยก่อนเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นหากมีตัวแปรย่อยๆ จากกรอบแนวคิดต้องมีการนิยามต่อไปจนครบตัวแปรที่ใช้ในกรอบแนวคิดนั้นๆ

วิธีดำเนินการการวิจัย

          การเขียนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง งานวิจัยบางเล่มเขียนไม่ชัดเจนว่ามีการศึกษาจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่ได้เขียนวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มที่ชัดเจนและถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้นจึงควรระวังและเขียนให้สอดคล้องกันและควรระวังเรื่องการใช้สัญลักษณ์ทางสถิติในการศึกษาจากกลุ่มประชากร หรือกลุ่มตัวอย่างให้ถูกต้องด้วย

          การหาคุณภาพของเครื่องมือ ในการวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการหาคุณภาพเครื่องที่ใช้ในการวิจัยอย่างน้อยควรดำเนินการดังนี้ 1. หาความตรงตามเนื้อหา (Content validity) โดยใช้วิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแต่ละข้อคำถาม (Index of Item – Objective Congruence : IOC) 2. หาค่าความเที่ยง/ความเชื่อมั่น (Reliability)

          สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย มีความจำเป็นจะต้องศึกษาข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติในการนำมาวิเคราะห์ข้อมูล และจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาว่าวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเมื่อนำมาแปรผลสามารถตอบวัตถุประงค์ที่ต้องการศึกษาได้หรือไม่

สรุปและอภิปรายผล การเขียนสรุปผลการวิจัยและการเขียนอภิปรายผลจะต้องดำเนินการเขียนสรุปและอภิปรายตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยในแต่ละข้อ โดยการอภิปรายผลจะต้องอภิปรายว่าผลว่าการวิจัยเป็นอย่างไรและที่ผลเป็นเช่นนี้เพราะ……..ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ………….และสอดคล้องอย่างไร

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย เทคนิคการขียนข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยขอยกตัวอย่าง งานวิจัยที่

เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณให้นำผลการวิจัยในประเด็นข้อคำถามที่ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยอยู่ในระดับน้อยหรือน้อยที่สุดมาเป็นข้อเสนอแนะให้ปรับรุง แก้ไข และประเด็นข้อคำถามที่เห็นด้วยในระดับมากที่สุดมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

เรื่องเล็กแต่สำคัญสุด ซึ่งตั้งใจมอบให้เพื่อเป็นสาระ ความรู้เล็กๆ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป  

Facebook Comments Box