Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

คนรุ่นใหม่เริ่มหันหลังให้แอลกอฮอล์ ดื่มเพื่อสังสรรค์หลังเลิกงานเป็นเรื่องล้าสมัย

การดื่มเบียร์เป็นเรื่องที่มีเหตุผลหลายประการ เช่น เป็นการผ่อนคลายและสนุกสนานหลังจากทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ เบียร์ยังมีความเป็นสัญลักษณ์ของการสังสรรค์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในหลายประเทศ นอกจากนี้ เบียร์ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ในการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย

Credit: Getty Images

การดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมของการทำงานเป็นวัฒนธรรมที่มีมานาน ในบางบริษัทพนักงานมีการดื่มเบียร์หลังเลิกงานก็เพื่อความผ่อนคลาย แต่บางบริษัทก็เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วยการดื่มมื้อกลางวันหรือในมื้อเย็นซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน ซึ่งมักจะมีการดื่มหนักกับลูกค้าเพื่อเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทที่จะทำให้เกิดความไว้วางใจในการทำงานร่วมกันต่อไป

ขณะเดียวกันจากผลการวิจัยปี พ.ศ. 2565 ในอังกฤษขององค์กรการกุศลเพื่อการศึกษา “Drinkaware” พบว่าพนักงานในบริษัทเอกชนถึง 86 % มีแนวโน้มที่ต้องการจะดื่มในงานของบริษัท ซึ่งมากกว่าพนักงานของภาครัฐเกือบ 2 เท่า (15% เทียบกับ 8% ) และในบริษัทเอกชนมักจะมีแนวโน้มในการได้รับเงินอุดหนุนจากบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อจัดงานสังสรรค์มากกว่าภาครัฐถึง 2.5 เท่า (23% เทียบกับ 9% )

ถึงอย่างไรก็ตามปัจจุบันกลับมีบางบริษัทกำลังพยายามปรับเปลี่ยนความคิดใหม่เกี่ยวกับบทบาทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสภาพแวดล้อมของการทำงาน ด้วยเพราะพนักงานหลายคนไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และมองว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะก่อให้เกิดปัญหาต่อการทำงานได้ ดังเช่นบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Salesforce, Uber และ Jetที่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้เคลื่อนไหวเพื่อลดหรือห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในที่ทำงานโดยสิ้นเชิง

นอกจากนี้ในประชากรกลุ่ม Gen Z ซึ่งปัจจุบันคิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรโลก เริ่มมีพฤติกรรมการเข้าสังคมโดยไม่ดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการเข้าสังคมในที่ทำงานอีกต่อไปหรือไม่?

Credit: Getty Images

ดังนั้น “Bright Network” จึงได้ทำการสำรวจนักศึกษาในอังกฤษจำนวน 4,000 คน และพบว่า 45 % ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ควรมีบทบาทในกิจกรรมทางสังคมในการทำงาน” เช่นเดียวกับผลจากการสำรวจพนักงาน 2,650 คน โดย “Totaljobs”  ซึ่งพบว่าพนักงานมากกว่า 1 ใน 3 เห็นว่าการดื่มกับเพื่อนร่วมงานเป็นเรื่องที่ล้าสมัย และในสังคมการทำงานไม่ควรมีการดื่มแอลกอฮอล์

รวมทั้งในประเทศที่มีรายได้สูงของยุโรปที่พบว่ามีรายงานการดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยในระหว่างการล็อกดาวน์ประชากรกลุ่ม Gen Z ในออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะลดการดื่มแอลกอฮอล์ถึง 44 % และอัตราการดื่มของหนุ่มสาวในนิวซีแลนด์ ลดลงมากกว่าครึ่งระหว่างปี พ.ศ.2544 – 2555 และลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่นั้นเป็นต้น

ทั้งนี้เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชากรกลุ่ม Gen Z มีแนวโน้มการดื่มที่ลดลงนั้น เป็นผลมาจากการเติบโตมาในสังคมที่ได้รับแรงกดดันความกังวลทางการเงินและสังคม จึงไม่ชอบปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการดื่มที่ส่งผลต่อสุขภาพ  

ด้วยเหตุนี้กลุ่ม Gen Z และกลุ่มเยาวชนรุ่นหลังจึงมีการเปลี่ยนแนวคิดในการเข้าสังคมโดยไม่ดื่ม หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีแอลกอฮอล์เลย และยังมีความเต็มใจมากขึ้นที่จะทดลองลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งหลายๆ บริษัทได้เริ่มตระหนักมากขึ้นว่าไม่ใช่พนักงานทุกคนที่ต้องการดื่ม และการดื่มมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหากับพนักงานและองค์กรโดยรวม

ขอบคุณข้อมูลจาก

  1. https://www.bbc.com/worklife/article/20230320-why-workplace-drinking-culture-is-fading-fast
  2. https://www.bbc.com/worklife/article/20220920-why-gen-zers-are-growing-up-sober-curious

เรียบเรียงและเขียนโดย : รศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว

Facebook Comments Box