Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

4 ห้องหัวใจของนาย Dashboard

หน้าปก 4 ห้องหัวใจ-01

ในโลกของการทำงานที่มีข้อมูลอยู่มากมายมหาศาล สิ่งที่ขาดไปไม่ได้ก็คือ “รายงาน หรือ Report”  เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เข้าใจสถานะปัจจุบัน รับรู้สภาพปัญหา และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาทางแก้ไขหรือพัฒนา แต่ในปัจจุบัน การรายงานแบบทั่วไป ที่มีแค่ตัวอักษร ตาราง หรือกราฟ คงไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้เพียงพออีกต่อไป เราจึงต้องอัพเกรดให้รายงานธรรมดา ๆ มีความสามารถและลูกเล่นมากขึ้น รองรับการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยกับเครื่องมือสุดฮิตที่เรียกว่า “Dashboard” ทราบคุณสมบัติคร่าว ๆ กันแล้ว เราไปทำความรู้จักกับ Dashboard ให้มากขึ้นกันอีกสักหน่อย โดยจะขอสรุปเป็นประเด็นสั้น ๆ 4 ข้อ ซึ่งเปรียบได้กับ 4 ห้องหัวใจของนาย Dashboard ที่ถ้าขาดข้อไหนไปก็จะส่งผลให้ทำงานได้ไม่สมบูรณ์นั้นเอง  

มาเริ่มกันที่ ข้อแรกกันเลย 1) Users ผู้ใช้งานถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก เมื่อเข้าใจผู้ใช้งาน การออกแบบจึงทำได้ง่าย และช่วยแก้ปัญหา ช่วยตัดสินใจ และสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการ เพราะหลาย ๆ ครั้ง ที่ออกแบบ Dashboard แล้วไม่ประสบความสำเร็จ อันเนื่องมากจากไม่เข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร อยากเห็นกราฟแบบไหน จะเอาข้อมูลอะไรไปใช้งานต่อ ดังนั้นการเก็บ Requirement จากผู้ใช้งาน จึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่ควรทำในการสร้าง Dashboard

มาต่อกันข้อที่สอง 2)Content เมื่อเราทราบความต้องการของผู้ใช้งานแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ข้อมูล ที่ต้องใช้งาน ซึ่งจะขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

1) ข้อมูลที่เราใช้งาน เช่น จำนวนสินค้า, ยอดผู้ใช้งาน, จำนวนสะสม เป็นต้น 

2) ทิศทางในการวิเคราะห์ เช่น ช่วงเวลา, โซนพื้นที่, รูปแบบ, ประเภท เป็นต้น

เมื่อลดจำนวนข้อมูลเหลือแค่เฉพาะส่วนที่เราจะใช้งานแล้ว ก็จะทำให้ Dashboard มีความชัดเจน ตรงประเด็น และน่าสนใจมากขึ้น เช่น การรายงาน สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายวันของกรมควบคุมโรค ที่มีการรายงานข้อมูลให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ครอบคลุมทุกประเด็นหลักที่ประชาชนควรทราบและให้การสนใจอยู่

ผ่านมาครึ่งทางแล้ว ไปดูข้อที่สามกันต่อ 3) Presentation ตอนนี้เรามีวัตถุดิบครบแล้วทั้ง ความต้องการของผู้ใช้งาน และข้อมูลที่จำเป็น ถึงเวลานำ 2 สิ่งนี้มาใช้งาน นั้นคือการนำเสนอโดยใช้กราฟหรือรูปภาพเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ชุดข้อมูล เมื่อดูแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที ซึ่งการเข้าใจว่ากราฟแต่ละแบบใช้สื่อความแบบไหนจะช่วยให้เรานำเสนอได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การใช้กราฟวงกลมนำเสนอข้อมูลที่มีจำนวนหัวข้อมาก ๆ จะทำให้พื้นที่แสดงข้อมูลมีขนาดที่ไม่แตกต่างกัน ส่งผลให้แยกความแตกต่างของข้อมูลไม่ได้ แต่เมื่อใช้กราฟแท่งในการนำเสนอ จะทำให้เห็นความแตกต่างของข้อมูลได้ชัดเจนมากขึ้น เป็นต้น

มาถึงข้อสุดท้ายกันแล้ว 4) Navigation เปรียบเสมือนไกด์ที่จะช่วยให้เราไม่หลงทาง เพราะเมื่อนำกราฟหลาย ๆ ตัวมาวางรวมกัน  อาจะเกิดความซับสนของข้อมูลได้ การจัดกลุ่ม ประเภทข้อมูลที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน จะช่วยเรียงลำดับความสำคัญ การเชื่อโยงประเด็นข้อมูลหลัก ข้อมูลรอง ทำให้อ่านแล้วไม่เสียเวลา ต้องอ่านกลับไปกลับมา เพื่อทำความเข้าใจ อาจใช้หลักการ visual hierarchy หรือการลำดับชั้นของภาพ จากมุมมองภาพใหญ่ ไปภาพเล็ก นั่นก็เพราะว่า Dashboard เราคำนึงถึงการใช้งานต้องมาก่อนความสวยงามเสมอ

ท่านใดที่อ่านมาถึงตรงนี้ วันนี้ท่านได้รู้จัก Dashboard ไปคร่าว ๆ แล้ว ในครั้งหน้าเราจะไปทำความรู้จัก Dashboard กันให้มากขึ้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะครับ

 
เรียบเรียงและจัดทำภาพประกอบ
Facebook Comments Box