โดย นายแพทย์คณาพจน์ เพ็งเกตุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ออร์โธปิดิกส์แพทย์ คลินิกกระดูและข้อ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
๐ โรคนิ้วล็อกคือ ภาวะนิ้วสะดุดเวลางอเหยียด จากการอักเสบที่ปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อโคนนิ้ว
๐ สาเหตุเกิดมาจากการใช้งานออกแรงกำมือบ่อยๆ หรือกำนิ้วมือแน่นมากๆเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างเอ็นนิ้วมือกับปลอกหุ้มเอ็น ส่งผลให้ปลอกหุ้มเอ็นบวม เอ็นหนาตัวขึ้น นำไปสู่อาการปวดนิ้วมือและไม่สามารถงอ หรือเหยียดนิ้วได้อย่างปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว มักเป็นในวัยทำงาน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
๐ อาการแบ่งเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1: มีอาการปวดตึง กดเจ็บบริเวณข้อโคนนิ้วด้านฝ่ามือ ยังงอเหยียดได้ปกติ
ระยะที่ 2: ปวดตึง กดเจ็บ เริ่มงอเหยียดสะดุด รู้สึกคลิกเวลางอเหยียด
ระยะที่ 3: งอเหยียดนิ้วไม่สะดวก งอแล้วติด ต้องช่วยง้างนิ้วออก
ระยะที่ 4: นิ้วติดอยู่นาน ข้อนิ้วยึดติด
๐ การรักษา ขึ้นอยู่กับระยะอาการ
อาการระยะที่ 1 และ 2:
กินยา, แช่น้ำอุ่น, ทายา บริหารนิ้วทุกวัน (ตามรูป)
อาการขั้นที่ 3 และ 4:
กินยา, แช่น้ำอุ่น, ทายา บริหารนิ้วทุกวัน (ตามรูป), หรืออาจฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าบริเวณปลอกหุ้มเอ็น ซึ่งจะผสมยาชาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยปวดมาก แต่ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง ถ้าไม่หายหรือหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก แนะนำให้ผ่าตัด เนื่องจากการฉีดยาบ่อยๆจะทำให้เอ็นเปื่อยและขาดได้
๐ การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการยกของหนักด้วยมือเปล่า ควรใส่ถุงมือ หรือใช้รถเข็น ช่วยทุ่นแรง
- ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ แต่หากจำเป็นควรมีผ้าขนหนูรอง และให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ หรือใช้วิธีอุ้มประคอง หรือนำใส่ รถลาก
- ไม่ควรบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นบวมอักเสบ
- กิจกรรมที่ใช้ด้ามจับอุปกรณ์ เป็นเวลานานๆ ควรเสริมให้ด้ามจับใหญ่พอดีมือและนุ่มมือ เช่น ไดร์เป่าผม,อุปกรณ์ทำครัวหนักๆ, ด้ามจับกระทะ, ตะหลิว
- งานที่ต้องทำต่อเนื่องนานๆควรพักมือ ยืดเหยียดนิ้วมือเป็นระยะ มีแช่น้ำอุ่นบ่อยๆ เหยียดดัดแอ่นนิ้วมือบ่อยๆ
10 ท่าบริหารมืออย่างง่ายๆ ที่ทำเองได้ที่บ้าน










