Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ขั้นตอนการตรวจสอบวารสารก่อนการตีพิมพ์

วารสารนักล่า (Predatory Journals) หรือ วารสารหลอกลวง (Pseudo journals) เป็นวารสารที่ไม่ควรตีพิมพ์ผลงาน เพราะว่าผลงานนั้นๆ จะไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และสูญเสียผลงานดีๆ  วารสารนักล่า ใช้ประโยชน์จากรูปแบบการตีพิมพ์แบบ open-access model เพื่อทำผลกำไรโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) โดยไม่ได้ให้บริการด้านการตรวจสอบ พิจารณาบทความต้นฉบับ และการจัดพิมพ์ที่เหมาะสม วารสารเหล่านี้มักมีแนวปฏิบัติที่น่าสงสัยและขาดความโปร่งใส สัญญาณเหล่านี้จะช่วยให้ระบุว่าเป็น Predatory journals ที่ไม่ควรส่งบทความไปตีพิมพ์ คือ

1. Spam Emails: วารสารนักล่ามักจะส่งอีเมลเพื่อเชิญชวนให้นักวิจัยส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ อีเมลอาจเขียนไม่ดี หรือ มีการเยินยอนักวิจัย ใส่ชื่อนักวิจัยไม่ถูกต้อง

2. Editorial Board: ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสมาชิกกองบรรณาธิการ หากบรรณาธิการไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาตามวารสาร หรือไม่มีการระบุความเกี่ยวข้องระหว่างความเชี่ยวชาญของบรรณาธิการและขอบเขตเนื้อหาของวารสาร (scope) หรือข้อมูลกองบรรณาธิการเป็นเท็จ อาจเป็นสัญญาณของวารสารนักล่า

3. Indexing: วารสารนักล่ามักอ้างว่าได้รับการ indexed ในฐานข้อมูลที่มีชื่อเสียง เช่น Scopus, PubMed หรือ web of sciences ดังนั้นควรตรวจสอบการ index ของวารสารโดยการตรวจสอบจากฐานข้อมูลโดยตรง ด้วยตัวเอง

4. Article Processing Charges (APCs): แม้ว่าวารสารแบบ open-access จะเรียกเก็บเงินจาก APC เป็นเรื่องปกติ แต่วารสารที่ล่าเหยื่อมักจะไม่ชัดเจนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้จนกว่าคุณจะส่งงานของคุณให้วารสาร

5. Peer Review Process: หากวารสารให้ข้อมูลว่าจะมีกระบวนการ Peer Review ที่รวดเร็วมาก แสดงว่าที่น่าสงสัย เพราะว่าขั้นตอน Peer Review มักใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

6. Impact Factor: วารสารนักล่าอาจอ้างว่าวารสารมีค่า impact factor สูง หรือ ใช้ตัวชี้วัดปลอมที่ทำให้สับสนว่าดูเหมือน ‘วารสาร’ ที่มีชื่อเสียง

7. คุณภาพของเว็บไซต์: เว็บไซต์ที่ออกแบบไม่ดี มีข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ ลิงก์เสีย หรือข้อมูลการติดต่อขาดหายไปอาจเป็นสัญญาณของวารสารนักล่า

!! ไม่ใช่วารสารใหม่หรือวารสารที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักทั้งหมดจะเป็น Predatory journals วารสารที่เชื่อถือจะมีแนวปฏิบัติที่โปร่งใสเกี่ยวกับ ค่า APCs ขั้นตอน Peer Review และสมาชิกบรรณาธิการ คุณสามารถใช้ Directory of Open Access Journals (DOAJ) ซึ่งแสดงรายการวารสารแบบ open-access ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

Predatory journals take advantage of the open-access model, utilizing it as a means to generate profit by imposing publication fees without offering the corresponding standard editorial and publishing services. The practices of these journals typically raise concerns due to their lack of transparency and questionable operations. Here are several indicators that can assist you in spotting predatory journals:

1. Spam Emails: Predatory journals often send unsolicited emails inviting researchers to submit their work. The emails might be poorly written or contain flattery.

2. Editorial Board: Check the credibility of the editorial board members. If the members are not recognized experts in the field, or their affiliations are not provided or are false, it may be a sign of a predatory journal.

3. Indexing: Predatory journals often falsely claim to be indexed in renowned databases. Always verify these claims by checking the databases themselves.

4. Article Processing Charges (APCs): While it’s common for open-access journals to charge APCs, predatory journals often are not clear about these charges until after you submit your work.

5. Peer Review Process: If the journal promises a very fast peer review process, it’s a red flag. Peer review typically takes several weeks or even months.

6. Impact Factor: Predatory journals may claim to have a high impact factor or use fake metrics that sound similar to the well-known ‘Journal Impact Factor’.

7. Website Quality: A poorly designed website with grammatical errors, broken links, or missing contact information can be a sign of a predatory journal.

Keep in mind that not all emerging or lesser-known journals are predatory. Many are legitimate outlets striving to carve out a place for themselves. A trustworthy journal will maintain transparency regarding Article Processing Charges (APCs), the peer review process, and the members of its editorial board. Utilize resources such as the Directory of Open Access Journals (DOAJ), which provides a list of verified open-access journals. Whenever you have doubts about a journal’s credibility, it’s advisable to consult experienced colleagues, or your academic advisor.

เรียบเรียงและเขียนโดย : รศ.ดร. กรวิทย์ อยู่สกุล

Facebook Comments Box