Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

รู้จักบทบาทคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Ethics Committee in Human Research Walailak University)  หรือเรียกชื่อย่อว่า “WUEC” ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ พิจารณาให้ความเห็นชอบเชิงจริยธรรมแก่โครงการวิจัยที่มีการทำวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ที่ดำเนินการโดยบุคลากรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หรือโครงการวิจัยอื่นที่มีการร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาโดยเป็นโครงการวิจัยทั้งหมดหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดที่ได้ดำเนินการในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ชุดที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปีปัจจุบัน โดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการ ดังนิ้

ขอบเขตการปฏิบัติงาน
คณะกรรมการมีหน้าที่ ปกป้องศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และรักษาผลประโยชน์ของผู้ที่เป็นอาสาสมัครในการวิจัย โดยพิจารณาประโยชน์และความจำเป็นของการวิจัย พิจารณาถึงความชอบธรรมด้านจริยธรรมของโครงการวิจัย โดยยึดหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ติดตามประเมินโครงการที่ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่าจะไม่มีปัญหาด้านจริยธรรมการวิจัยเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการวิจัยจนสิ้นสุดโครงการให้คำปรึกษาแก่ผู้วิจัยในการดำเนินการเพื่อขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และประชาสัมพันธ์และแนะนำให้ความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แก่ผู้วิจัย

โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ความเหมาะสมของผู้วิจัยและเอกสารการให้ความยินยอมโดยมีการพิจารณาตัดสิน ดังนี้

(1) อนุมัติ

(2) ปรับปรุงแก้ไข เพื่ออนุมัติ

(3) ปรับปรุงแก้ไขและนำเข้าพิจารณาใหม่

(4) ไม่อนุมัติ

ขอบเขตการพิจารณาโครงการวิจัยในมนุษย์
การวิจัยในมนุษย์”หมายความว่า การวิจัยที่มนุษย์เป็นผู้ถูกวิจัย เช่น การศึกษาธรรมชาติของโรค การวินิจฉัย การรักษา การป้องกันโรคและการเสริมสร้างสุขภาพที่กระทำต่อมนุษย์ รวมทั้งการศึกษาวิจัยจาก  ฃเวชระเบียน สิ่งส่งตรวจต่าง ๆ จากร่างกายของมนุษย์ โลหิตจากผู้บริจาคโลหิต ร่างกายที่บริจาคเมื่อเสียชีวิตแล้ว รวมถึงการศึกษาทางสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และมานุษยวิทยา

ข้อกำหนดการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์
1. ผู้วิจัยสามารถทำการวิจัยในมนุษย์ได้เฉพาะเมื่อโครงการวิจัยดังกล่าวได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการแล้วเท่านั้น หากฝ่าฝืนนอกจากจะมีความผิดตามกฎหมายแล้วอาจถูกดำเนินการทางวินัยอีกด้วย
2. การวิจัยในมนุษย์ ที่ต้องส่งโครงการวิจัยมาให้คณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบก่อนการดำเนินงาน ได้แก่

  • การทำวิจัยที่เกี่ยวกับเภสัชผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ฯลฯ
  • การทำวิจัยที่เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
  • การทำวิจัยที่เกี่ยวกับการตรวจรักษาทางรังสีวิทยา
  • การทำวิจัยที่เกี่ยวกับการผ่าตัด
  • การศึกษาวิจัยจากเวชระเบียนและระบบข้อมูลซึ่งบันทึกเชิงเวชระเบียน
  • การศึกษาวิจัยสิ่งส่งตรวจต่าง ๆ จากร่างกายมนุษย์
  • การศึกษาด้านระบาดวิทยา  สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ จิตวิทยา ที่มีผลกระทบทางจิตใจและสังคมต่ออาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัย
  • การศึกษาวิจัยและการทดลองอื่น ๆ ในมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Website : https://wuec.wu.ac.th/

ขั้นตอนการยื่นขอรับรองโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

อ้างอิง

ระเบียบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาวิจัยในมนุษย์ พ.ศ.2563 ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2563.

วิธีดำเนินการมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ฉบับที่ 1 พ.ศ.2564 วันที่เริ่มใช้ 17 พฤษภาคม 2564

เรียบเรียงและเขียนโดย : นางสาวสุดารัตน์ ช้างโรง

Facebook Comments Box