Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

คณิตศาสตร์ของรูบิค 

       ในปี 1974  สถาปนิคชาวฮังการีได้ประดิษฐ์ลูกบาศก์รูบิคและมันได้กลายเป็นหนึ่งในเกมส์ปริศนาที่ถูกเล่นกันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน  เพื่อที่จะบิดให้หน้าลูกบาศก์แต่ละหน้ามีสีเดียวกันแน่นอนว่าเขาแข่งกันในเรื่องของความเร็ว  สำหรับรูบิคแบบ 3x3x3 ล่าสุด (มกราคม, 2023) สถิติโลกยังคงบันทึกไว้ที่ 3.47 วินาที โดยคุณYusheng Du ในการแข่งขัน Wuhu Open ในปี ค.ศ. 2018   และเพื่อฝึกสมองสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป เราสามารถเรียนรู้สูตรวิธีการเล่นรูบิค พร้อมวิดีโอแนะนำต่างๆซึ่งปรากฎอยู่มากมายทางสื่อออนไล์ทั่วไป

คณิตศาสตร์ของรูบิค
รูปที่ 1 รูบิคจัตุรัสแบบมาตรฐานขนาด 2x2x2 3x3x3 4x4x4 และ 5x5x5 (ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ลูกบาศก์ของรูบิค)
คณิตศาสตร์ของรูบิค
เมื่อพิจารณารูบิคแบบ 3x3x3 ซึ่งมี 54 หน้าช่องเล็ก เราจะระบุหมายเลขและตำแหน่งดังรูป A

ตัวอย่างในภาพ B คือลูกบาศก์หลังจากบิดรูบิคทางซ้ายมืิอ(หน้าสีเขียว)เข้าหาตัว 90 องศา (โดยช่องตรงกลางทั้ง 6 หน้าไม่ขยับ) และแทนสิ่งนี้ในมุมมองที่เป็นนามธรรมผ่านสัญลักษณ์วัฏจักร ได้แก่

     (10 14 16 12) (15 9 11 13) (40 8 48 28) (27 39 7 47) (1 41 29 33)

ในส่วนความหมายของ (10 14 16 12) คือ 10 ถูกส่งไปที่ตำแหน่งเดิมของ 14    14 ถูกส่งไปที่ตำแหน่งเดิมของ 16    16 ถูกส่งไปที่ตำแหน่งเดิมของ 12   และ  12 ถูกส่งไปที่ตำแหน่งเดิมของ 10    วงเล็บอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน  ตัวเลขที่ไม่ปรากฏอยู่ที่เดิม     

         โดยอาศัยความรู้เชิงลึกในทฤษฎีกรุปเพื่อศึกษาปัญหารูบิคต่อ ทำให้ได้ข้อมูลทางโครงสร้างของเกมส์ปริศนานี้ อาทิเช่น จำนวนรูปแบบทั้งหมดที่เป็นไปได้ของรูบิคชนิด 3x3x3 เท่ากับ 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ และทุกรูปแบบสามารถแก้กลับดังภาพ A ได้ภายในการบิดไม่เกิน 20 ครั้ง ซึ่งมันถูกพิสูจน์โดยนักคณิตศาสตร์ Michael Reid เมื่อปี ค.ศ. 1995

         ปัจจุบันปริศนารูบิคถูกพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลายขึ้นดังเช่นตัวอย่างในรูปที่ 2   ความท้าทายที่จะอธิบาย ปัญหาเหล่านั้นในเชิงคณิตศาสตร์ก็เปิดกว้างกับผู้ที่สนใจด้วยเช่นกัน

คณิตศาสตร์ของรูบิค
รูปที่2: ตัวอย่างปริศนารูบิคหลากหลายชนิด (ที่มา https://i.redd.it/rffo8g2g77f71.jpg)

ผู้เขียน : ผศ.ดร.พิเชษฐ์ จิตต์เจนการ

Facebook Comments Box