Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

โรคไตเรื้อรัง : ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

โรคไต เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยมีสถิติจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่า มีประมาณ 17 ล้านคนหรือประมาณ 16% ของประชากรไทยที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง โดยมีผู้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต ประมาณ 10,000ราย และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกปี

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคเบาหวานผู้ป่วยควราามดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีประวัติการใช้ยาและสารเคมี เช่น ยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวดกลุ่มNSAIDs ยาสมุนไพร
  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยด้วยโรคไต กรรมพันธุ์
  • ผู้ที่มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วที่ทางเดินปัสสาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต
  • ผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ตัวเอง
  • ผู้ที่มีโรคอ้วน โรคไตอักเสบ นิ่วในไต

สัญญาณและอาการเริ่มต้นของไตเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ หรือมีอาการแค่เล็กน้อย เนื่องจากเป็นภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังคำกล่าวที่ว่า “ภัยเงียบจากโรคไตเรื้อรัง” ซึ่งกว่าจะวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ป่วยมารับการตรวจเลือดหรือปัสสาวะเท่านั้น ถ้าผู้ป่วยโรคไตวายเหล่านี้ ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันการ ก็จะทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดจะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและผู้ป่วยมักจะมีอาการผิดปกติ เช่น

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ปัสสาวะผิดปกติ เป็นฟอง/เลือด/ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • ปวดหลัง ปวดบั้นเอว
  • มีอาการบวมที่หน้า/ ขา/ เท้า
  • ความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคไตเรื้อรัง

1.การล้างไตทางช่องท้อง คือการใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องแบบถาวร และใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง เพื่อฟอกของเสียในเลือดออก รวมถึงปรับสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีต่างๆ โดยต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาทุกวัน วันะ 4- 6ครั้ง สามารถทำเองได้ที่บ้าน แต่ต้องทำอย่างถูกวิธี เพื่อลดโอกาสติดเชื้อในช่องท้อง

2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คือการนำเลือดของผู้ป่วยออกจากร่างกาย ด้วยการแทงเข็มเข้าเส้นเลือด แล้วต่อกับท่อไปยังตัวกรอง เพื่อให้เลือดสะอาดและปรับสมดุแร่ธาตุต่างๆ เครื่องไตเทียมจะนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายตามเดิม โดยกระบวนการฟอกเลือดนี้จะใช้เวลาครั้งละประมาณ 4ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะต้องมารับการฟอกเลือดที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

3.การปลูกถ่ายไต คือการผ่าตัดนำไตของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาค จากผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้ว หรือยังมีชีวิตอยู่ มาทำหน้าที่แทนไตเดิมของผู้ป่วย โดยวางไตใหม่ในอุ้งเชิงกราน แล้วต่อเข้ากับกระเพาะปัสสาวะและหลอดเลือดของผู้ป่วย ถ้าการผ่าตัดประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยจะไม่ต้องบำบัดด้วยการฟอกไตอีกต่อไป แต่จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิ ไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันร่างกายต่อต้านไตใหม่ หรือที่เรียกว่า”ภาวะสัดไต” โดยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรง ไม่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะติดเชื้อและไม่มีโรคหัวใจรุนแรง

ทางเลือกในการรักษาโรคไตเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระยะของโรค การรักษาเพื่อการชะลอการเสื่อมของไต อาจรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงวิถึชีวิต เช่น การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย การใช้ยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต ควบคุมเบาหวานและการจัดการภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาหารและภาวะโภชนาการที่มีบทบทสำคัญในการรักษา เพื่อชะลอการเสื่อมของไต เช่น การจำกัดการบริโภคโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และโปรตีน ในขณะเดียวกันก็ดูแลให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ สิ่งสำคัญคือ ต้องดูแลตนเอง โดยรับคำปรึกษาจากทีมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และรูปภาพจาก Canva.com

เขียนและเรียบเรียง โดย

อาจารย์ ดร.นวรัตน์ รักชาติ

อาจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

Facebook Comments Box