Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

การตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ กับบทบาทการขับเคลื่อนธุรกิจ

กระบวนการทางธุรกิจในทุกวันนี้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหรือที่เรียกว่า Digital Disruption สิ่งหนึ่งที่ธุรกิจต่างๆประสบได้อย่างชัดเจนกับการถูก Disrupt จากกระแสดิจิทัลที่เห็นได้ชัดเจนหลังจากการเกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาในปีพ.ศ. 2562 เมื่อทุกอย่างถูก Lock down ไม่สามารถเคลื่อนย้ายเดินทางได้ บริการธุรกิจสั่งสินค้าออนไลน์รวมทั้งอาหารและสินค้าบริการต่างๆได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาดังกล่าวจึงทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า การตลาดดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องและมีความสำคัญอย่างไรในสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน

จะสร้างธุรกิจ ต้องมีแบรนด์…

นอกเหนือจากการตลาดดิจิทัลแล้วสิ่งที่สำคัญที่เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีแนวโน้มมาเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปีนั่นคือการให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องราวของการออกแบบโลโก้หรือออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของธุรกิจอย่างที่หลายหลายคนเข้าใจกัน แบรนด์ในที่นี้หมายถึงตัวตน เรื่องราว ตำนาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์นั้นๆ หากจะอธิบายง่าย ๆ เราสามารถมองแบรนด์เปรียบได้ดังเช่นบุคคลคนหนึ่งที่ต้องมีองค์ประกอบรวมกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของชื่อเรียก การแต่งกาย รูปร่างหน้าตา หน้าผม เรื่องราว ชื่อเสียง ตลอดจนสิ่งที่คนทั่วไปพูดถึง นั่นจึงหมายความว่าการสร้างแบรนด์เกี่ยวข้องกับการสร้างเรื่องราวและตัวตนให้โดดเด่นชัดเจนในมุมมองของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการบริหารจัดการด้านชื่อเสียง (Reputation Management) เพราะแบรนด์ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ แต่แบรนด์จะเป็นการสร้างชุดความเชื่อที่ทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเชื่อมั่นว่าแบรนด์สามารถช่วยให้ลูกค้าบรรลุในสิ่งที่ลูกค้าให้คุณค่าหรือให้ความสำคัญ

ด้วยเหตุนี้การสร้างแบรนด์จึงแตกต่างจากการตลาดเพราะการสร้างแบรนด์ต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานในการขับเคลื่อนในการทำให้ทุกภาคส่วนทั้งคนภายในและคนภายนอกมองเห็นไปในทิศทางเดียวกันแต่ในระยะยาวจะส่งผลต่อการตลาดในการสร้างยอดขายและสร้างฐานลูกค้าที่มีความผูกพันกับแบรนด์ขณะที่การมุ่งเน้นด้านการตลาดการเพิ่มยอดขายหรือการสร้างความพึงพอใจของลูกค้านั้นสามารถดำเนินการได้ในระยะสั้นโดยใช้งบประมาณทางการตลาดในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการขาย ลดแลกแจกแถมเพื่อให้เกิดยอดขายจากการสร้างแบรนด์ หมายความรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างทุกการกระทำที่เราจะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่น เป็นลูกค้าของเราไม่เปลี่ยนใจไปซื้อแบรนด์อื่นและพร้อมที่จะต่อสู้ปกป้องเมื่อมีคนมาต่อว่าหรือทำร้ายแบรนด์

สำนักวิชาการจัดการ: ประตูสู่ความสำเร็จ

สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นอีกสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนด้านการสร้างแบรนด์ โดยเพิ่มเรื่องของการตลาดดิจิทัลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและการสร้างแบรนด์ ที่นำไปสู่การเพิ่มยอดขายและการสร้างความเชื่อมั่นความผูกพันกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยมีการเปิดการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 จนถึงปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ที่เน้นตอบสนองต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล รวมไปถึงความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ หรือผู้ที่มีส่วนได้เสีย ศิษย์เก่า นักศึกษาปัจจุบัน นักศึกษาในอนาคตผู้ปกครอง รวมถึงคณาจารย์ภายในหลักสูตรโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ในด้านบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ว่าควรมีหน้าตาอย่างไรควรมีทักษะอย่างไร รวมถึงควรมีความสามารถอย่างไรก่อนนำไปออกแบบดีไซน์หลักสูตรให้สามารถพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและมีประโยชน์ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น

ถามว่าทำไมต้องเรียนการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ คำตอบตรงนี้ต้องย้อนไปถึงแนวทางในการทำธุรกิจในปัจจุบันรวมถึงการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันและการตลาดในทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของสื่อออนไลน์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Facebook รวมถึงนวัตกรรมทางด้านโทรศัพท์มือถือหรือที่หลายค่ายไม่ว่าจะเป็น iPhone Samsung Huawei ต่างพัฒนาโทรศัพท์มือถือทำให้ผู้คนสามารถติดต่อเชื่อมโยงและเข้าถึงกันโดยไม่ต้องอยู่ในสถานที่เดียวกันทำให้ผู้คนที่ห่างหายจากกันไปเป็นระยะเวลานานได้กลับมาพบเจอกันและมาทำกิจกรรมร่วมกัน หรือแม้กระทั่งคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแต่มีความชอบแบบเดียวกันจะได้มารวมตัวกันทำในสิ่งตัวเองชอบและเกิดเป็นสังคมออนไลน์มีปฏิสัมพันธ์กับทางสังคมโดยมีแบรนด์เข้าไปเกี่ยวข้องเป็นศูนย์กลางในการสนทนาพูดคุย ด้วยเหตุนี้การตลาดในทุกวันนี้จึงให้ความสำคัญกับคุณค่าของลูกค้าที่มาจากคำว่า Value แต่ไม่ได้หมายความถึงมูลค่าเพราะในมุมของการตลาดจะมองคุณค่าของลูกค้าเป็นสำคัญ เพราะคุณค่าในความหมายนี้หมายความถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการซื้อใช้ครอบครองหรือบริโภคสินค้าหรือบริการนั้นนั้นที่แตกต่างกันตามวัน เวลา สถานที่และบุคคล ซึ่งหากนักการตลาดสามารถทำให้บรรลุผลลัพธ์ในส่วนที่ได้จะส่งผลให้เกิดความผูกพันกับลูกค้าในระยะยาวซึ่งมีความสัมพันธ์มากกว่าความจงรักภักดีในตราสินค้า นอกจากนี้ในยุคนี้เป็นยุคที่เรากล่าวถึงอุดมคติทางการตลาดที่ลูกค้าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างแท้จริงในการบริโภคการตัดสินใจซื้อหรือกระบวนการต่างๆที่ทำให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสบริโภคหรือใช้สินค้า และที่สำคัญซื้อออนไลน์เหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคมีความฉลาดมากขึ้นดังเห็นได้จากในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายลูกค้าจะเชื่อผู้คนในโลกออนไลน์มากกว่าพนักงานขายในการตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพราะอย่างยิ่งสินค้าที่มีมูลค่าราคาสูงลูกค้าจะเชื่อถือและเชื่อมั่นเพื่อนคนรู้จักหรือหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่มีคนในรีวิวเอาไว้และนำไปประกอบเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อ

พฤติกรรมเปลี่ยน การตลาดเปลี่ยน

ย้อนถามว่าใครจะเชื่อว่าวันนี้พวกเราสามารถพูดคุยเห็นหน้ากันผ่านโทรศัพท์มือถือในอดีตอาจจะเป็นเพียงจินตนาการที่เราเห็นจากการ์ตูนหรือภาพยนตร์แห่งอนาคต ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ได้ทำให้เราติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้นได้เพียงอย่างเดียวแต่ยังทำให้เราสามารถรวมกลุ่มและร่วมสร้างความหมายทางวัฒนธรรมของกลุ่มผู้บริโภคและสร้างคุณค่าร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่มชุมชนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้รักรถมอเตอร์ไซต์ Harley Davidson หรือกลุ่มแฟนบอลลิเวอร์พูลที่มีการรวมตัวกันอยู่ในโลกออนไลน์และสร้างกิจกรรมรวมไปถึงประสบการณ์ในการบริโภค เป็นต้น การรวมตัวของกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ยังก่อให้เกิดการร่วมสร้างวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของนักการตลาดจะน้อยกว่าพลังอำนาจของลูกค้าชื่อรวมเป็นกลุ่มออนไลน์ และที่สำคัญยิ่งความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้อย่างรวดเร็วทำให้ลูกค้าในยุคปัจจุบัน มีความฉลาดมากขึ้นเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นในขณะเดียวกันมีความอดทนที่จะรอคอยน้อยลงดูเหมือนกับว่าระยะเวลาในการใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่หรือคน Gen Z มีเวลาลดลงทำให้คนกลุ่มนี้ ไม่ชอบรอคอยอะไรนานนานจะเห็นได้จากพฤติกรรมของ คนรุ่นใหม่เหล่านี้จะมีพฤติกรรมที่ต้องการความสำเร็จอย่างรวดเร็วชื่นชมการบริโภคแบบวัตถุนิยมเห็นได้จากเด็กเด็กรุ่นใหม่เมื่อเห็นรถ Ferrari ซึ่งมีราคาหลาย 10,000,000 กลับมองเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่จะสามารถมีในครอบครองได้เช่น อินฟลูแอนเซอร์ หรือเหล่าฮีโร่ที่เด็กเด็กยุคใหม่ให้การยอมรับนับถือ

คำถามที่ตามมาก็คือเมื่อลูกค้ามีพฤติกรรมเปลี่ยนไปและไม่ใช่คือค่อยเปลี่ยนแต่เปลี่ยนอย่างรวดเร็วการทำธุรกิจในวันนี้จะใช้กลยุทธ์หรือรูปแบบเดิมๆที่เคยเรียนรู้มาเมื่อ 10 หรือ 20 ปีก่อนยังเป็นไปได้ยาก สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยมุ่งเน้นให้ลูกศิษย์หรือนักศึกษาหรือบัณฑิตของเราสามารถที่จะปรับตัวให้รู้เท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงเพราะโจทก์ในการทำธุรกิจทุกวันนี้ไม่ได้มีเพียงหน้าเดียวและมีสถานการณ์ต่างๆที่เข้ามากดดันอยู่ตลอดเวลางานจะอยู่รอดหรือเติบโตในยุคที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงยุคที่คู่แข่งขันรายใหม่สามารถเข้าสู่ตลาดและออกจากตลาดได้อย่างรวดเร็ว ผู้ที่ไวต่อการปรับตัว คือผู้ที่มีโอกาสชนะมากที่สุด ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวและวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น อย่างเช่นตัวอย่างของหลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ที่มุ่งเน้นในการติดอาวุธทางปัญญาสู่การเป็นนักการตลาดดิจิทัลและนักสร้างแบรนด์มืออาชีพ เป็นที่หนึ่ง หลักสูตรที่มุ่งเน้นตอบสนองต่อกระแส Digital Disruption

อยากจะรู้ว่าสำนักวิชาการจัดการโดยหลักสูตรต่างๆไม่ว่าจะเป็นการจัดการโลจิสติกส์ การตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ การจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรมหรือศิลปะการประกอบอาหารจากมืออาชีพในการเป็นประตูสู่ความสำเร็จให้กับน้องน้องหรือผู้ปกครองทุกคนที่ต้องการเห็นความสำเร็จของบุตรหลานมาติดอาวุธทางปัญญากับสำนักวิชาการจัดการสิครับ

Facebook Comments Box