Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

รังนกนางแอ่นกับการกลับมาของดินแดนใต้ลม

ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดินแดนได้รับการขนานนามจากโลกภายนอกว่าเป็นดินแดนใต้ลม ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์กายภาพ ตั้งอยู่ในพื้นที่มรสุมเอชีย (Monsoon Asia) สายลมมรสุมไม่เพียงนำพาความชื้น น้ำฝน มาตกในพื้นที่สร้างฤดูกาลและความอุดมสมบูรณ์ สายลมนำพาพ่อค้า นักบวช นักเดินทาง จากโลกภายนอกเข้าสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนได้รับการขนานนามในฐานะของ “ดินแดนใต้ลม” (Land below the Wind)

ดินแดนใต้ลม รับเอาวัฒนธรรม การค้า ความมั่งคั่งผ่านดินแดนเหนือลมอินเดีย และจีนมานับแต่โบราณกาล จนเมื่อความผันแปรของสายลมตั้งแต่ศตวรรษที่ 19-20 พัดสายลมอุดมการณ์ทางการเมืองสงครามเย็นเข้าพาดผ่าน ให้พื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ความขัดแย้งการประลองกำลังของมหาอำนาจโลกศตวรรษที่ 20 ทั้งสหรัฐอเมริกา-สหภาพโซเวียต การล้มของโดมิโนคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน ความพยายามหยุดยั้งโดมิโนไทย ในสังเวียนสงครามเย็น นับเป็นสายลมพัดพาความขัดแย้งและการสงครามเข้าสู่ดินแดนใต้ลม

จนเมื่อปลายศตวรรษที่ 20 การสิ้นสุดสงครามเย็น การตื่นขึ้นของมังกรจีน ในศตวรรษที่ 21 สายลมแรงจากดินแดนมังกรจีนแผ่นดินใหญ่ เริ่มพัดพาความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ดินแดนใต้ลมอีกครั้งเช่นในอดีตกาล หากทว่าในรูปแบบแตกต่างออกไป

ประเทศไทยในฐานะส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ได้รับผลจากกระแสลมเปลี่ยนแปลงพัดผ่านภูมิภาคนี้ โดยตลอดนับแต่อดีตกาล ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตลอดจนถึงปัจจุบันกาล การเติบโตของเศรษฐกิจจีน(ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) ได้ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทย นักท่องเที่ยวจีน เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของรัฐไทย ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภูเก็ต กระบี่ พังงา ก่อนโควิดของผู้เขียน พวกเขาเหล่านั้น พูดไปในทางเดียวกันว่า “คนจีนจับจ่ายใช้สอยเต็มที่ มาเที่ยวแบบมาเที่ยวจริงๆ กิน เที่ยว จับจ่ายใช้สอยเต็มที่ แตกต่างจากนักท่องเที่ยวประเทศอื่นๆ”

การกระตุ้นทางเศรษฐกิจจากจีน นอกจากนักเที่ยวในภาคเศรษฐกิจกระแสหลักแล้ว การบริโภค “รังนกนางแอ่น” ในฐานะของอาหารความเชื่อของชาวจีน เป็นยาโป๊ว หรืออาหารบำรุงร่างกาย ก็เติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศสาธารณประชาชนจีน

หากทว่าในขณะที่แหล่งนกนางแอ่นกินรัง ตามธรรมชาติลดน้อยลงจากสภาวะโลกรวน โลกร้อน ส่งผลอย่างสำคัญต่อการเติบโตของผลผลิตรังนกนางแอ่นจากบ้านนกแอ่นกินรัง หรือตึกนกฯ บ้านนกฯ ในพื้นที่ประเทศไทย

การเริ่มต้นของการประกอบกิจการบ้านนกแอ่นกินรังในประเทศไทย เริ่มต้นจากบริเวณพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย มีนกแอ่นกินรังเข้ามาทำรังในบ้านอยู่อาศัยของผู้คน จนเริ่มเกิดเป็นกระแสการสร้างบ้านนกแอ่นกินรัง และหาวิธีการเรียกนกแอ่นกินรังเข้ามาอยู่ภายในบ้านเพื่อเก็บผลผลิตรังนกแอ่นกินรัง จนพัฒนาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจสำคัญหนึ่งของคนในพื้นที่ภาคใต้ ขยับขยายออกไปสู่พื้นที่ต่างๆ ในภาคใต้ และภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามการประกอบกิจการนกแอ่นกินรังที่ผ่านมา ผู้ประกอบการใหม่พบกับปัญหาการเข้าถึงองค์ความรู้การประกอบกิจการบ้านนกแอ่นกินรัง เดิมดำเนินการไปในลักษณะขององค์ความรู้ ผู้รู้บนฐานความเชื่อ ประสบการณ์ลองผิดลองถูกกับการบอกต่อๆ กัน การเข้าถึงองค์ความรู้ของผู้ประกอบการรายใหม่ ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายสูงมาก เพื่อแลกกับความหวังในการประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการและการลงทุน

ด้วยลักษณะของกิจกรรมในพื้นที่เช่นนี้ ทำให้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในฐานะมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล เล็งเห็นปัญหาภายในพื้นที่ ริเริ่มดำเนินการกิจกรรมการวิจัยประเด็นเรื่องบ้านนกแอ่นกินรัง เพื่อเข้าร่วมพัฒนาผู้ประกอบการบ้านนกแอ่นกินรัง ด้วยองค์ความรู้ ความสำเร็จในการประกอบกิจกรรมบ้านนกแอ่นกินรังด้วยองค์ความรู้ เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ชุมชน

การดำเนินการที่ผ่านมาของคณะนักวิจัยเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ.2563 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2566) มีการดำเนินการชุดโครงการวิจัยสำเร็จไปแล้ว 1 ชุดโครงการวิจัย คือ 1.ชุดโครงการวิจัยการพัฒนาอุตสาหกรรมรังนกแอ่นจากบ้านนกแอ่นกินรังไทย เป็นชุดโครงการวิจัยพัฒนาต่อยอดจาก ชุดโครงการวิจัย โครงการการจัดการความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อยกระดับธุรกิจรังนกบ้านไทย ในยุค COVID 19 เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ต่อเนื่องด้วย ชุดโครงการวิจัยการพัฒนาอุตสาหกรรมรังนกแอ่นจากบ้านนกแอ่นกินรังไทย กำลังดำเนินการอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน(2566)

ผลจากการดำเนินการของชุดโครงการวิจัยฯ ทั้ง 2 ชุดโครงการวิจัย เป็นการทำงานในลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีส่วนร่วมของคณะนักวิจัยเป็นนักวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับนักวิจัยอิสระผู้ประกอบการบ้านนกแอ่นกินรัง ในรูปแบบการเก็บข้อมูลการทำงานแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันระหว่างคณะนักวิจัยกับผู้ประกอบการบ้านนกแอ่นกินรัง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง สร้างกระบวนการสร้างองค์ความรู้ไม่หยุดนิ่ง ไหลจากสถาบันการศึกษาสู่ผู้รับ เป็นกระบวนการทำงานความรู้ตรวจสอบความรู้ระหว่างกันจากสถาบันการศึกษากับผู้ประกอบการดำเนินการอยู่ในหน้างานจริงๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ที่ผ่านการตรวจสอบ การทดสอบการใช้งาน จนได้ผลผลิตที่ได้รับการต่อยอดเป็นองค์ความรู้ได้รับส่งต่อจากชุดโครงการวิจัยแรก นำสู่การเตรียมพร้อมต่อยอดส่งต่อองค์ความรู้ในชุดโครงการที่สอง

ตู้ควบคุมระบบบ้านนกแอ่นกินรังระบบดิจิทัล เริ่มต้นจากชุดโครงการวิจัยฯ และได้รับการต่อยอดสำหรับการใช้งานของผู้ประกอบการฯ ช่วยลดต้นทุนการทำระบบควบคุมบ้านนกฯ ลงกว่า 50,000 ต่อหลัง (จากเดิมควบคุมด้วยระบบแยกส่วนมีราคารวมตกอยู่ที่ 80,000-100,000 บาท ลดลงเหลือไม่เกิน 30,000 บาท พร้อมติดตั้ง)

ภาพวงจรชีวิตนกแอ่นกินรังในบ้านนกแอ่นกินรัง ทำให้การวางแผนการเก็บผลผลิตและการดูแลนกแอ่นกินรังในบ้านนกมีความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น ด้วยองค์ความรู้จากการวิจัย

ลิงก์ข่าวเปิดปมกับดักรังนกไทย 

โดย อ.เกษม จันทร์ดำ นักวิจัยในชุดโครงการวิจัยฯ ที่แสดงปัญหาการไม่มีผู้เข้าสัมปทานรังนกนางแอ่น แหล่งธรรมชาติของรัฐ มีปัญหาจากผู้มีอิทธิพลขโมยเก็บรังนก และการเก็บรังนกนางแอ่น จากแหล่งธรรมชาติ แบบไม่คำนึงถึงวงจรชีวิตนกแอ่นกินรัง ทำให้นกฯ ไม่กลับมาทำรังในพื้นที่ 

https://www.thaipbs.or.th/news/content/280098

Facebook Comments Box