Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ทำความรู้จัก “Open Access” เพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ

ในยุคปัจจุบันนี้ทุกอย่างเหมือนจะต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ในแวดวงห้องสมุดเองก็เป็นแบบนั้นไปแล้ว รวมถึงด้านการบอกรับวารสารหรือฐานข้อมูลเราเคยจัดหาหรือบอกรับในลักษณะตัวเล่ม และเมื่อถึงยุคดิจิทัล เกือบทุกอย่างจะต้องจัดซื้อหรือบอกรับเป็นรูปแบบออนไลน์หรืออิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ และจากเคยบอกรับโดยเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้ขายงานได้ใช้ฟรี เพื่อให้ผู้ใช้บริการสืบค้น ใช้งาน และการจัดเก็บ แต่ในปัจจุบันสำนักพิมพ์หรือฐานข้อมูลเหล่านั้น มีการเปลี่ยนวิธีการบอกรับวารสารในลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบใหม่ ที่มีการปรับเปลี่ยนจากรูปแบบจากเดิมที่ผู้อ่านจะต้องเสียค่าบอกรับเป็นสมาชิกวารสารส่วนบุคคลหรือห้องสมุดบอกรับวารสารในนามสถาบัน รวมถึงการส่งบทความเพื่อการจัดพิมพ์บทความในวารสารนั้นที่ผู้แต่งมักไม่เสียค่าตีพิมพ์แต่ลิขสิทธิ์ของบทความจะต้องตกเป็นของสำนักพิมพ์ มาเป็นรูปแบบใหม่คือ Open Access (OA) และแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ห้องสมุดเองจะต้องมีความรู้และเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อให้จัดหา ให้คำแนะนำกับผู้ใช้บริการได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงนั้น

Open Access หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า OA คือสารสนเทศอันเป็นผลงานวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง บทความวารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานการประชุม ผู้ใช้สามารถสืบค้นและใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ลักษณา เถาว์ทิพย์, 2553)

ลักษณะของสารสนเทศแบบ Open Access (OA)  มีลักษณะดังนี้

1. เจ้าของผลงานเป็นผู้จ่ายค่าตีพิมพ์ผลงาน 2. ลิขสิทธ์ของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน 3. ผู้อ่านสามารถนำผลงานที่ตีพิมพ์ไปใช้ได้ฟรีโดยไม่ต้องบอกรับและไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ Creative Commons (CC-By license) 4. จัดทำเอกสารฉบับเต็ม (Full text) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีระบบการจัดเก็บที่เหมาะสม สะดวก ต่อการใช้งานและสืบค้น 5. ไม่มีการกำหนดขอบเขต หรือ จำกัดสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ในการนำไปใช้ต่อ ซึ่งทำให้ ผู้เขียน (Author) สามารถจัดเก็บ หรือ เผยแพร่ผลงานให้ผู้อ่านเข้าใช้งานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เหมือนที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ผู้อ่าน (Reader) ก็สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี และ ผู้ให้ทุนวิจัย (Funder) มุ่งหวังให้ผลงานที่ได้รับการสนุนสนุน เข้าถึงโดยง่าย และมีการนำผลงานนั้นไปใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

แหล่งตรวจสอบรายชื่อวารสารแบบ Open Access

Directory of Open Access Journals (DOAJ) : https://doaj.org/

List of open-access journals  :  https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_open-access_journals

OMICS International  : https://www.omicsonline.org/top-best-open-access-journals.php

1. Open Access Journal ผู้อ่านสามารถเข้าถึงบทความออนไลน์เวอร์ชั่นเดียวกันกับวารสาร (Final Version) ฟรีโดยเสรี และไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ส่วนเขียนมีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ (Article Processing Charges 2. Subscription Journal  ผู้อ่านต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงบทความ ผู้เขียนไม่ต้องจ่ายค่าตีพิมพ์ผลงาน 3. Hybrid Journal/Transformative journal  เป็นวารสาร Subscription Journal แต่มีทางเลือกให้ผู้เขียน ว่าจะเลือกรูปแบบ Open Access  ได้แต่ผู้เขียนต้องจ่ายค่าตีพิมพ์ ส่วน Transformative journal คือวารสารที่กำลังจะเปลี่ยนสถานะเป็น Open Access

สำนักพิมพ์ ที่รับตีพิมพ์บทความแบบ Open Access

สำนักพิมพ์ในยุคแรก ๆ ที่รับตีพิมพ์บทความแบบ Open Access   ได้แก่ Public Library of Science (PLoS) ตีพิมพ์บทความวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ BioMed Central (BMC) ตีพิมพ์บทความวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์  https://www.biomedcentral.com/ access_journals OMICS International  : https://www.omicsonline.org/top-best-open-access-journals.php

สำนักพิมพ์ ที่รับตีพิมพ์บทความแบบ Open Access

ลิงก์

สำนักพิมพ์

Association for Computing Machinery (ACM)

รายละเอียด

เป็นวารสารประเภท Green Open Access อนุญาตให้ใช้บทความฉบับ Preprint ในการเผยแพร่ นักวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถตีพิมพ์บทความวารสาร Open Access ของสำนักพิมพ์ ACM ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตามเงื่อนไขการบอกรับเป็นสมาชิกฐานข้อมูล ACM ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

American Chemical Society (ACS)

การตีพิมพ์แบบ Open Access ปีนี้มีโครงการ Read and Public จะอยู่บนพื้นฐานการบอกรับ และจะจ่ายส่วนต่าง โดยให้ สิทธิ์แต่ละมหาวิทยาลัยตีพิมพ์วารสารของ ACS ที่เป็นรูปแบบของ Open Access  

MDPI

ตีพิมพ์บทความวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เคมี สิ่งแวดล้อม สุขภาพ เกษตรกรรม ยา ฟิสิกส์ เป็นต้น 

Emerald

  • วารสาร Open Access ของ Emerald มีทั้งประเภท Gold Open Access, Green Open Access และ Platinum Open Access
  • วารสาร Platinum Open Access ของ Emerald เป็นวารสารที่มีมหาวิทยาลัยหรือสมาคมเป็นผู้สนับสนุนไม่ต้องจ่ายค่าตีพิมพ์บทความ

Hindawi

เป็นสำนักพิมพ์ ที่มีเฉพาะวารสาร Open Access ตีพิมพ์บทความในสหสาขาวิชา โดยทุกบทความผ่าน peer review พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดของวารสารแต่ละชื่อ ตั้งแต่ระดับการเป็นที่ยอมรับ ระยะเวลา ค่าการอ้างถึง (Cite Score) และค่า Impact Factor และวารสารบางชื่อเป็น predatory journal นักวิจัยต้องตรวจสอบรายละเอียดของวารสารก่อนส่งตีพิมพ์

Institutes of Electrical and Electronic Engineers – IEEE

สมาชิกสมาคม IEEE ได้รับส่วนลด ร้อยละ 20 สมาชิก IEEE แต่ไม่ใช่สมาชิกของสมาคมย่อยของ IEEE ได้รับส่วนลดร้อยละ 5
สมาชิกสมาคม IEEE ได้รับส่วนลด ร้อยละ 20 สมาชิก IEEE แต่ไม่ใช่สมาชิกของสมาคมย่อยของ IEEE ได้รับส่วนลดร้อยละ 5
เป็นวารสารด้านวิศวกรรมของ IEEE ที่มุ่งเน้นสาขาวิชาด้านการแพทย์และชีววิทยา ที่ครอบคลุมพัฒนาการและการประยุกต์ใช้แนวความคิดทางวิศวกรรมและวิธีการทางชีววิทยา การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อแก้ปัญหาด้านชีววิทยา การแพทย์และการดูแลสุขภาพ  และมีเฉพาะวารสาร Open Access ทุกบทความผ่าน peer review 

มีค่าใช้จ่ายในการเปิดการเข้าถึงให้การเข้าถึงบทความวารสารที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยไม่จำกัดผ่านทางอินเทอร์เน็ต แทนการสมัครสมาชิกแบบชำระเงิน ผู้เขียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์หลังจากที่บทความของพวกเขาได้รับการยอมรับแล้ว ดูที่นี่

Oxford University Press

เป็นวารสารด้านวิศวกรรมของ IEEE ที่มุ่งเน้นสาขาวิชาด้านการแพทย์และชีววิทยา ที่ครอบคลุมพัฒนาการและการประยุกต์ใช้แนวความคิดทางวิศวกรรมและวิธีการทางชีววิทยา การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อแก้ปัญหาด้านชีววิทยา การแพทย์และการดูแลสุขภาพ  

PeerJ

ตีพิมพ์วารสารวิจัยในสาขาชีววิทยา ชีวิตวิทยา (Life Science) สิ่งแวดล้อมวิทยา และการแพทย์

จ่ายตามรายปี ตามประเภทของสมาชิก

Research Publish Journal

ตีพิมพ์บทความสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer review

Sage Open

ตีพิมพ์บทความวิจัยในสาขาการศึกษา การสื่อสาร จิตวิทยา ธุรกิจและการจัดการ มนุษยศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมวิทยาเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย สารสนเทศศาสตร์ และอาชญากรรม โดยมีการทำดัชนีบทความใน Clarivate Analytics: Social Science Citation Index, DOAJ, ERIC, ProQuest, และ Scopus และเป็นวารสาร Open Access ประเภท Gold  รวมถึงสมาชิกของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (COPE)
มีค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดพิมพ์ และค่า APC จะต้องชำระเมื่อต้นฉบับได้รับการยอมรับหลังจากการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  และค่า APC จ่ายตามอัตราที่กำหนด

Taylor & Francis

ตีพิมพ์บทความสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer review

ตรวจสอบค่าตีพิมพ์บทความได้ที่นี่

Wiley

ตีพิมพ์บทความสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer review สามารถเข้าถึงและดาวน์โหลดผ่านฐานข้อมูล Willey 
Hybrid Open Access ตรวจสอบค่าตีพิมพ์ที่นี่ Fully Open Access ตรวจสอบค่าตีพิมพ์ที่นี่

ประโยชน์ของวารสารและบทความแบบเปิด (Open Access)

1.ช่วยตอบสนองตามคำสั่งของผู้ให้ทุนหรือสถาบันในการเผยแพร่ผลงานให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยเสรี 2.ช่วยเพิ่มการเข้าถึงผลการศึกษา 3.ช่วยเพิ่มจำนวนการดาวน์โหลดบทความ 4.ช่วยให้ผู้เขียนบทความสามารถรักษาลิขสิทธิ์ในงานของตน แทนการโอนสิทธิ์ให้กับสำนักพิมพ์ดังเช่น กรณีวารสารที่ต้องบอกรับเป็นสมาชิก (Subscription) 5.เผยแพร่ทางออนไลน์อย่างรวดเร็ว

Open Access สำหรับห้องสมุดแล้ว มีผลต่อการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดสรรงบประมาณ  นอกจากนี้บุคลากรห้องสมุดจะต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ เพื่อให้สามารถปรับทักษะการรู้สารสนเทศได้อย่างทันกับความเปลี่ยนแปลงของสารสนเทศอีกรูปแบบที่จะต้องให้คำตอบและให้ความช่วยเหลือกับผู้ใช้บริการได้ โดยเฉพาะนักวิจัยทั้งหลายที่เป็นสมาชิกขององค์กร  และในตอนต่อไปเราจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Open Access มานำเสนอเกี่ยวกับประเภทและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องต่อไป

เอกสารอ้างอิง

การเข้าถึงแบบเปิด (open access) คืออะไร. (21 กันยายน 2566). NSTDAhttps://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/what-is-open-access/

การเผยแพร่บทความวิจัยอิเล็กทรอนิกส์บนแหล่งข้อมูลประเภทไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open Access). (19 มีนาคม 2567). สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://lib.swu.ac.th/index.php/research-supports/publication-open-access

การเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์บทความวิชาการ. (ม.ป.ป.). สวทช. https://www.thailibrary.in.th/2020/08/26/choosing-appropriate-journal/

จิรวัฒน์ พรหมพร. ฝึกอบรมบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ฯ ปี 2567 เขตภาคใต้. (1 มีนาคม 2567).   ลักษณา เถาว์ทิพย์. (2553). ห้องสมุดในยุค Open Access (Libraries in Open Access Era). บรรณศาสตร์ มศว. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/2998/ สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกเผยแพร่ผลงานในระหว่างวารสารเข้าถึงแบบเปิด (open access journal) กับวารสารแบบดั้งเดิม (traditional journal). (3 กันยายน 2561). NSTDAhttps://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/open-access-journal/

Open Access ผลกระทบต่อการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารแบบเปิด. (ม.ป.ป.). สวทชhttps://www.thailibrary.in.th/2024/01/25/open-access-4/

Publishing in open access? Look into the OA-deals with academic publishers. Some publishers are only publishing in OA. Or do you mean to publish in the repository of your university? For help and more information you can contact your University Library. Open Access. (n.d.). Open Access. https://www.openaccess.nl/en/
Facebook Comments Box