ปัจจุบันเราจะพบว่าพฤติกรรมการอ่านของคนส่วนใหญ่ แม้แต่ตัวเราเองอ่านหนังสือหรือข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมากกว่าจากตัวเล่ม เนื่องจากสังคมในตอนนี้เป็นสังคมดิจิทอล ดังนั้นข่าวสาร ข้อมูล หรือแม้แต่เนื้อหาเป็นเล่ม เป็นเรื่องคือหนังสือก็ยังมีรูปแบบเป็นดิจิทัลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557) บอกว่าระยะเวลาในการอ่านหนังสือเฉลี่ยต่อวันของคนไทย (ที่มีอายุ 15-69 ปี) ใช้เวลาในการอ่านหนังสืออยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 28 นาทีต่อวัน ซึ่งลดลงจากปี 2548 ที่มีสถิติการอ่านหนังสืออยู่ระหว่าง 30-59 นาที ทั้งนี้พฤติกรรมการอ่านของคนเปลี่ยนไปเป็นเน้นไปอ่านผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ และผู้เขียนหรือผู้ผลิตเองได้หันมาผลิตและเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ลักษณะอย่างหนึ่งที่เพิ่มขึ้น คือ e-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ก็มีการผลิตมากขึ้นด้วย และจากพฤติกรรมการอ่านและการผลิต เมื่อมีการสำรวจพฤติกรรมการอ่านของคนไทยใหม่ในปี 2548 พบว่าสถิติการอ่านใช้เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการอ่านเพิ่มสูงขึ้น เท่ากับ 66 นาทีต่อวัน (เทียบกับเมื่อสองปีก่อนเท่ากับ 37 นาทีต่อวัน) หรือเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เหตุผลสำคัญที่ระยะเวลาในการอ่านเพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพราะการสำรวจครั้งนี้ได้มีการกำหนดขอบเขตนิยามคำว่า “การอ่าน” ที่กว้างขวางครอบคลุมไปถึงสื่อใหม่ด้วย เช่น สื่อสังคมออนไลน์/SMS/E-mail มิได้จำกัดเพียงเฉพาะสื่อหนังสือที่เป็นกระดาษ ดังนั้นสื่อใหม่ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นจึงส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมและปริมาณการอ่าน เห็นได้อย่างชัดเจนในกลุ่มเยาวชน (อายุ 15-24 ปี) ซึ่งใช้เวลาอ่านมากที่สุดถึง 94 นาทีต่อวัน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2558)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-book (Electronic book) เป็นรูปแบบการอ่านแบบใหม่โดยผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนมากจะเป็นไฟล์ pdf และสามารถแทรกไฟล์ภาพหรือเสียงได้อีกด้วย จะใช้อ่านบนคอมพิวเตอร์ หรือ Tablet หรือ Smartphone ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ก็ได้ ซี่งมีความสะดวกอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา และบางชนิดใช้ได้กับหลายอุปกรณ์ในเวลาเดียวกัน และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี่แหละ น่าจะเป็นอีกหนึ่งประเภทที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือได้มากขึ้น แต่ใช่ว่าทุกเล่มที่สามารถอ่านได้ฟรี ก็อาจจะต้องซื้อหรือสมัครสมาชิก แต่บางเล่มอ่านได้ฟรี
และสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่อยากจะแนะนำในวันนี้ คือ Bookcaze หรือ บุ๊กค์คาเซ่ เป็น E-book ภาษาไทยที่รวบรวมทรัพยากร ทั้งที่เป็นหนังสือ และนิตยสารหลากหลายสำนักพิมพ์ทั่วไประเทศที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดซื้อมาเพื่อบริการผู้อ่านทของมหาวิทยาลัย ผู้อ่านเข้าถึงและอ่านหนังสือได้อย่างสะดวก อ่านฟรีโดยผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น iPhone, iPad Android หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ บนแอปพลิเคชั่นที่เรียกว่า บุ๊คเคส เพียงแค่แสดงตัวตนของการเป็นสมาชิกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วย user และ password เท่านั้น ก็สามารถค้น อ่าน ยืมได้ทันที
ลักษณะเด่น
ลักษณะเด่นของ Bookcaze คือ
1. อ่านผ่านแพลตฟอร์มที่มีลักษณะของร้านหนังสือออนไลน์ที่ผู้อ่านเลือกอ่าน โดยการเลือกคลิกเล่มที่ต้องการได้จากหน้าปกที่แสดง พร้อมรายละเอียดของหนังสือเล่มนั้น เมื่อดูแล้วสนใจอยากอ่านเล่มนี้ให้จบ ให้คลิกยืมได้เลย อ่านเสร็จแล้วคืนเพื่อให้ผู้อื่นได้ยืมต่อ
2. สมาร์ทแคตตาล็อก ที่สร้างแคตตาล็อกออนไลน์อย่างง่าย ในลักษณะของการนำเสนอสินค้า คือตัวเล่มหนังสือและสื่อต่าง ๆ และเพิ่มความโดดเด่นด้วยภาพ เสียง และคลิปวิดีโอ เชื่อมต่อกันด้วย quick connect ทั้ง LINE, facebook, WeChat, WhatsApp, E-mail หรือเบอร์โทรศัพท์ และเข้าถึงได้ง่ายจาก qr code
3. ยืม คืนหนังสือมาอ่านได้ต่อเนื่องตามวันและจำนวนที่กำหนด
4. อ่านได้ตลอดเวลา และอ่านที่ไหนก็ได้โดยผ่านแอปพลิเคชันบน iOS และ Android
5. ผู้อ่านสามารถเสนอซื้อหนังสือที่ระบบนำเสนอเพิ่มเติม เพื่อให้มหาวิทยาลัยจัดซ์้อเพิ่มเติมตามที่ต้องการได้
ขั้นตอนการยืมและอ่านหนังสือ
มีขั้นตอนในการยืม และการอ่าน Bookcaze ไม่ได้ยุ่งยากเลย เพียงแค่ทำตามขั้นตอนนี้
1. Log-in เข้าระบบโดยใช้ E-mail ที่ลงทะเบียนไว้กับมหาวิทยาลัย
2.คลิกเล่มหนังสือที่ต้องการยืม ปุ่ม “ยืมหนังสืออีบุ๊ก” และให้กดยืนยันการยืมหนังสือเล่มน้้น และเล่มที่ต้องการ และเมื่อยืมหนังสือมาอ่านได้เลย เราสามารถทำไฮไลท์ จดโน๊ต ทำ bookmark หรือแปลภาษาที่ต้องการก็ได้
3. หากต้องการคืนหนังสือเล่มนั้น คลิกปุ่ม Return
4. อ่านได้ตลอดเวลา และอ่านที่ไหนก็ได้โดยผ่านแอปพลิเคชันบน iOS และ Android
และตั้งแต่วันนี้ หากท่านเป็นสมาชิกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ บุคลากร หรือนักศึกษา ทุกคนสามารถใช้ฐานข้อมูลลงทะเบียนในครั้งแรก และต่อไปก็เข้าใช้งานได้เลย จะทำให้เราอ่านหนังสือได้สะดวก อ่านที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ ขอเพียงมีอุปกรณ์สำหรับอ่าน และตอนนี้ให้บริการแล้ว หากสนใจอ่านกดลิงก์ ด้านล่าง ได้เลย
เอกสารอ้างอิง
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB). (2558). การศึกษาพฤติกรรมการอ่านและซื้อหนังสือของ
คนไทย. ThaiPublica. https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2016/04/2558_8_การอ่าน_จุฬา_เต็ม.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจการอ่านของประชากร ปี 2558. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/ebook/2023/20230510200953_51607.pdf