สาระน่ารู้ จากฝ่ายเภสัชกรรม รพ.ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โรค “ไอพีดี” คือ อะไร….? IPD ย่อมาจาก Invasive Pneumococcal Disease เป็นเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ “นิวโมคอคคัส” ซึ่งพบได้ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน สามารถแพร่กระจายได้โดยการไอหรือจาม ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือปอดอักเสบรุนแรงได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
เด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไอพีดี ได้แก่ เด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม เป็นโรคเรื้อรังของอวัยวะต่างๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต เป็นต้น
อาการเมื่อติดเชื้อ “นิวโมคอคคัส”
- ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน : ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดหู งอแง
- ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง : ปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย
- ติดเชื้อที่ระบบประสาท : เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง คลื่นไส้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง
- ติดเชื้อในกระแสเลือด : ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หายใจเร็ว หัวใจเต็นเร็ว และอาจมีภาวะช็อค
👋การป้องกันโรคไอพีดี :
ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการนำเด็กเข้าไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็น รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือบ่อย ๆ ในผู้ที่มีอาการไข้ ไอ ควรปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม ควรสวมหน้ากากอนามัย ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อได้ เช่นเดียวกับการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ หรือการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม หรือ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี
การฉีดวัคซีน “ไอพีดี” แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ “นิวโมคอคคัส” ชนิดรุนแรง ซึ่งสามารถเริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน ขึ้นไป และเข็มต่อไปเมื่ออายุ 4 เดือน และ 6 เดือน จากนั้นฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้ง ในช่วง 12 – 15 เดือน โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือนนอีก 1 ครั้ง ในช่วง 12 – 15 เดือน โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน
