Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

Tag: ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลันวลัยลักษณ์

โรคหืด
Chamatorn Chuchuaysuwan

การใช้ยาสูดพ่นสำคัญอย่างไรในโรคหืด (Asthma)

โรคหืด (Asthma) เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ มากกว่าปกติ อาการ : หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก ไอ และหายใจมีเสียงวี้ด สิ่งกระตุ้น : ฝุ่น/ไรฝุ่น ขนสัตว์/แมลงสาบ ควันจากการประกอบอาหาร/ควันบุหรี่/ควันจากการเผาขยะ เกสรดอกไม้/เชื้อรา อาชีพที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (ใส่รูปยกตัวอย่างเป็นช่างก่อสร้าง) การใช้ยาสูดพ่นรักษาโรคหืดมีความสำคัญอย่างไร? ยาสูดพ่นที่ใช้รักษาโรคหืดมีอะไรบ้าง? *แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาตามความรุนแรงของโรค 1. ยาบรรเทาอาการโรคหืด

Read More »
คำแนะนำการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
Chamatorn Chuchuaysuwan

คำแนะนำการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

1. การใช้ยาโรคประจำตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง           ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั้งที่มีและไม่มีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ควรใช้ยาโรคประจำตัวตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยห้าม 1. ปรับลดขนาดยา 2. ปรับเพิ่มขนาดยา 3. หยุดยา 4. ซื้อยารับประทานด้วยตนเอง           เนื่องจาก แพทย์และเภสัชกรได้ตรวจสอบขนาดยาให้เหมาะสมกับการทำงานของไตในผู้ป่วย เพื่อให้สามารถควบคุมอาการของโรคและไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานของไต รวมทั้งหากไม่สามารถควบคุมโรคร่วมอื่นได้จะส่งผลให้โรคไตเรื้อรังแย่ลง 2. ยาที่ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

Read More »
"ทำไมจึงควรนำ “ยาเดิม” ติดมือมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล"
Chamatorn Chuchuaysuwan

“ทำไมจึงควรนำ “ยาเดิม” ติดมือมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล”

การนำยาที่ผู้ป่วยทานอยู่เดิมมาโรงพยาบาลด้วย ทำให้แพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วย ทราบข้อมูลการใช้ยา รวมถึงช่วยให้แพทย์ประเมินว่าอาการป่วยมีสาเหตุมาจากยาหรือไม่ เพื่อที่จะได้รับทราบปัญหาของการใช้ยา และแก้ไขให้ตรงจุด  ตรงกันข้าม หากผู้ป่วยไม่ได้นำยาเดิมมาด้วย ก็อาจมีโอกาสได้ยาซ้ำกับตัวเดิมที่มีอยู่ ยาที่ได้กลับไปอาจจะตีกันกับยาตัวเดิม และไม่ได้ปรับเปลี่ยนยาตามที่ควรจะเป็น รวมถึงอาจทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ทานยาโรคประจำตัว ขณะนอนอยู่ที่โรงพยาบาล ทานยาอย่างไรให้ถูกวิธี 1.  ยาก่อนอาหาร ควรทานในช่วงที่ท้องว่าง คือก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที ยกเว้นยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบางตัวแนะนำให้ทานก่อนอาหารอย่างน้อย 15 นาที กรณีลืมทานยาก่อนอาหาร ให้รอประมาณ

Read More »
การใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
Chamatorn Chuchuaysuwan

การใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

ข้อมูล : ฝ่ายเภสัชกรรม รพ.ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในช่วงเดือนรอมฎอนหรือเดือนบวช ผู้นับถือศาสนาอิสลามจะถือศีลอด งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ดังนั้นจึงต้องปรับเปลี่ยนเวลารับประทานหรือปรับขนาดยาด้วย โดยเฉพาะยาที่มีการออกฤทธิ์สัมพันธ์กับการรับประทานอาหารหรือระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย กลุ่มยาเบาหวาน ที่ต้องปรับยาช่วงรอมฏอน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 Sulfonylurea (SU) ได้แก่ Glipizide และ Gliclazide กลุ่มที่ 2 Biguanide ได้แก่ Metformin

Read More »
ยาวาร์ฟารินเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด
Chamatorn Chuchuaysuwan

ยาวาร์ฟารินคืออะไร

          ยาวาร์ฟารินเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด  หมายถึงยาที่มีฤทธิ์ในการทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง จึงลดโอกาสที่เลือดจะจับตัวกันเป็นก้อนหรือเป็นลิ่มเลือดไปอุดตันในส่วนต่างๆ ของร่างกาย  แพทย์มักให้ยาวาร์ฟารินเมื่อพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันในร่างกายได้ง่าย  เช่น เป็นโรคหัวใจบางชนิด อันตรายจากการใช้ยาวาร์ฟารินไม่ถูกวิธี           ผู้ป่วยที่รับประทานยาวาร์ฟารินไม่ถูกวิธี อาจมีความเสี่ยงดังนี้ 1. หากรับประทานยาน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้ หรือหากอุดตันที่อวัยวะสำคัญอาจทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลว ถึงแก่ชีวิตได้ 2. หากรับประทานยามากเกินไป อาจทำให้เกิดเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล มีจ้ำเลือดที่ผิวหนัง 

Read More »
โรค IPD กับวัคซีนป้องกัน
Chamatorn Chuchuaysuwan

โรค “ไอพีดี” โรคที่เด็กเล็กควรระวัง  !!!

สาระน่ารู้ จากฝ่ายเภสัชกรรม   รพ.ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โรค “ไอพีดี” คือ อะไร….?  IPD ย่อมาจาก Invasive Pneumococcal Disease เป็นเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ “นิวโมคอคคัส” ซึ่งพบได้ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน สามารถแพร่กระจายได้โดยการไอหรือจาม ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือปอดอักเสบรุนแรงได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไอพีดี ได้แก่

Read More »
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่...สำคัญแค่ไหน
Chamatorn Chuchuaysuwan

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่…สำคัญแค่ไหน

จากรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 29 เมษายน 2567 พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 123,739 ราย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 0-4 ปี คาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะเริ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน และพบการระบาดสูงสุดในช่วงฤดูฝน • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง มีข้อดีอย่างไร  –

Read More »
July 2025
M T W T F S S
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  

บทความยอดนิยม