Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เห็ดระโงก ไม่ชะโงกก็ไม่เห็น

ที่มาและความสำคัญ

                ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้ง พื้นดินชุ่มชื้นเริ่มเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ผลิบานอย่างเงียบ ๆ ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ครั้งนี้เรามาสำรวจภายในอุทยานพฤกษศาสตร์ด้วยความตื่นเต้นว่าจะเจออะไรบ้าง ระหว่างก้าวเดินไปเพียงไม่กี่ก้าว สายตาก็สะดุดกับเห็ดชนิดหนึ่งที่มีสีเหลืองสดใส แอบงอกเงียบ ๆ ใต้โคนต้นยางนา หากไม่ชะโงกหรือก้มมองใกล้ ๆ ก็อาจจะพลาดสิ่งสวยงามและอาหารอันโอชะนี้ไปได้ เรามาทำความรู้จักเห็ดที่เจอนี้ไปพร้อม ๆ กันเลยครับ ว่าเป็นเห็ดชนิดไหนและสามารถรับประทานได้จริงหรือไม่?

เห็ดที่พบนี้คืออะไรกันนะ?

เห็ดชนิดนี้มีชื่อว่าเห็ดระโงกเหลือง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amanita javanica (Corner & Bas) T.Oda, C.Tanaka & Tsuda
ชื่อวงศ์ : Amanita javanica (Corner & Bas) T.Oda, C.Tanaka & Tsuda 
ชื่อสามัญ/ชื่อเรียกท้องถิ่นอื่นๆ : เห็ดไข่เหลือง เห็ดขะเหลือง หรือไข่ห่านเหลือง

ก้าน

ทรงกระบอกผิวเรียบ สีเหลือง มีเส้นใยเป็นเกล็ดสีเหลืองเรียงเป็นชั้นๆ วงแหวนสีเหลืองคล้ายกระโปรง ถ้วยที่โคนก้านสีขาว มีความคงทนเนื้อหนา สีขาว ภายในกลวง ไม่เปลี่ยนสีเมื่อช้ำ

สปอร์

รูปวงรี ผิวเรียบ ผนังบาง รอยพิมพ์สีขาว

ลักษณะสัณฐานวิทยา

หมวก

รูปกลมหรือรูปไข่ เมื่อเจริญขึ้นผิวด้านบนปริแตกออกเป็นรูปถ้วย หมวกเห็ดรูปไข่ สีน้ำตาลอมส้มหรือน้ำตาลอมเหลือง เมื่อกางออกจะเป็นรูปกระทะคว่ำแล้วแบนราบ ผิวเรียบเป็นมันและหนืดมือเมื่ออากาศชื้น ขอบเป็นริ้วยาว

ครีบ

สีขาวนวล ไม่ยึดติดกับก้าน ก้าน ทรงกระบอกผิวเรียบ สีเหลือง มีเส้นใยเป็นเกล็ดสีเหลืองเรียงเป็นชั้นๆ วงแหวนสีเหลืองคล้ายกระโปรง ถ้วยที่โคนก้านสีขาว มีความคงทนเนื้อหนา สีขาว ภายในกลวง ไม่เปลี่ยนสีเมื่อช้ำ

ลักษณะทางกายภาพและแหล่งที่พบ

เห็ดระโงกเหลืองมักพบใต้ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) ในพื้นที่ชุ่มชื้น โดยเฉพาะหลังฝนตก 2-3 วันในสภาพอากาศร้อนอบอ้าว ในอุทยานพฤกษศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ สามารถพบเห็ดชนิดนี้ได้เกือบตลอดปี

การใช้ประโยชน์

นำมาประกอบอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการ

เห็ดระโงกเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุหลากหลาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเพิ่มสารอาหารที่จำเป็น สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงเห็ดใส่ใบมะขามอ่อน เห็ดเผาไฟ นึ่งจิ้มแจ่ว หรือผัดน้ำมันหอย

เมนูแนะนำ : แกงเห็ดระโงกเหลือง สูตรเพื่อนบอก

ส่วนประกอบ

1. เห็ดระโงกเหลือง
2. ชะอม
3. ใบแมงลัก
4. พริกสด
5. หอมแดง
6. ตะไคร้
7. น้ำใบย่านาง

เครื่องปรุง

1. น้ำปลาร้า
2. น้ำปลา
3. ผงชูรส
4. น้ำมะขาม

วิธีการปรุง

1. ล้างเห็ดให้สะอาด พักให้สะเด็ดน้ำ
2. โขลกพริกสด หอมแดง และตะไคร้พอแตก
3. ใส่น้ำใบย่านางลงหม้อ ตามด้วยเครื่องสมุนไพรโขลก ตั้งไฟจนเดือด
4. ใส่เห็ดระโงกลงหม้อ ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า น้ำปลา ผงชูรส และน้ำมะขามเล็กน้อย ชิมรสตามชอบ
5. ตั้งไฟเดือดอีกครั้ง ตักใส่ชาม พร้อมรับประทาน

นายสุรินท์  จิตร์ถาวร
นักวิทยาศาสตร์ อุทยานพฤกษศาสตร์

อ้างอิง

ภัทธรวีร์ พรมนัส, วินัย สมประสงค์ และมงคล ธรรมขจรเดช. 2557. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ของเห็ดกินได้ในสถานีวนวัฒนวิจัย
                 แม่สะนาม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. แก่นเกษตร 42 ฉบับพิเศษ 2: 339-344.

จากเว็บไซต์ : https://www.gbif.org/species/5452201. 1999.
                           https://thbif.onep.go.th/taxons/detail/64861.2563.
                           https://uk.inaturalist.org/taxa/371565-Amanita-javanica.

Facebook Comments Box