Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

บริหารโครงการอย่างไรให้…ปัง!

SUCCESS, TOGETHER

บริหารโครงการอย่างไรให้...ปัง!

จากแค่ “ทำให้เสร็จ” → สู่ “สร้างความเปลี่ยนแปลง”

หลายคนมองว่า “การทำโครงการ” คือแค่วางแผน แล้วทำให้เสร็จตามกำหนด แต่นั่นอาจยังไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง…

เพราะโครงการที่ ปังไม่ได้จบที่เส้นชัย แต่มันควร สร้างบางอย่างให้เกิดขึ้นระหว่างทาง
อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ การเรียนรู้ร่วมกัน หรือความหมายใหม่ ๆ ต่อผู้คนที่เราทำเพื่อเขา

150150

การถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานมากกว่า 30 ปี

นางสาวนันทกาญจน์ บุญช่วย
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
ฝ่ายศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มวล.
อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้เขียน — ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ทำงานการบริหารงานที่คลุกคลีกับการทำโครงการระดับหน่วยงานจนถึงระดับประเทศมากว่า 30 ปี  อยากจะถ่ายทอดประสบการณ์ตรง ผ่าน 7 ขั้นตอนเด็ด ๆ ที่จะเปลี่ยน “ภารกิจ” ให้กลายเป็น “ความสำเร็จที่มีชีวิต”

ขั้นตอนกระบวนการทำงาน

1

ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

ทุกโครงการที่ดีต้องเริ่มจากเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทขององค์กรหรือชุมชน และควรตั้งเป้าให้เป็นระบบ SMART
S – Specific (เจาะจง)
M – Measurable (วัดผลได้)
A – Achievable (ทำได้จริง)
R – Relevant (เกี่ยวข้องกับเป้าหมายหลัก)
T – Time-bound (มีกำหนดเวลา)

2

วางแผนอย่างมีระบบ

อย่าลงมือโดยไม่มีแผน! ใช้เครื่องมือช่วยวางแผน เช่น Gantt Chart หรือ Project Canvas เพื่อเห็นภาพรวมของทั้งกระบวนการ แผนที่ดีควรครอบคลุมทั้งกิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ ความเสี่ยง และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

3

บริหารทีมให้มีพลัง

คนคือหัวใจของโครงการ เลือกทีมที่ใช่ แจกแจงบทบาทหน้าที่ให้ชัด และสื่อสารกันเสมอ สร้างบรรยากาศการทำงานที่สนุก มีเป้าหมายร่วม และประชุมทีมอย่างตรงประเด็น “ตอนนี้เราอยู่ตรงไหน กำลังจะไปไหน” เปิดพื้นที่ให้ฟีดแบ็ก และ อย่าลืมชมคนที่ทุ่มเทด้วยใจ

4

บริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ

ไม่มีแผนไหนที่เป๊ะได้ 100% สิ่งที่ทำได้คือ “คาดการณ์” และ “เตรียมแผนสำรอง” ไว้เสมอ เพราะหากรอให้ปัญหาเกิดก่อนค่อยแก้ เราอาจเสียทั้งเวลาและทรัพยากรโดยไม่จำเป็น

5

ลงมือทำอย่างยืดหยุ่น

แม้ต้องยึดตามแผน แต่เราต้อง พร้อมปรับตัว สื่อสารกับทีมอย่างต่อเนื่อง รักษาแรงขับเคลื่อน และเปิดใจรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย เพื่อให้งานเดินหน้าได้อย่างแท้จริง

6

ติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

งานที่ดีต้องมีการติดตาม ทั้ง “ผลลัพธ์” และ “กระบวนการ” จัดระบบจัดเก็บข้อมูลที่ทุกคนเข้าถึงได้ เช่น Google Drive หรือระบบรับสมัครออนไลน์ร่วมกัน วัดผลได้ทั้งเชิงปริมาณ (% ความคืบหน้า) และเชิงคุณภาพ (คุณภาพผลลัพธ์ ความพึงพอใจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) และที่สำคัญ เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปปรับใช้ต่อในอนาคต

7

ปิดโครงการอย่างมืออาชีพ

เมื่อถึงจุดจบ อย่าจบแบบ “แค่เสร็จ” สรุปบทเรียนทั้งด้านดีและจุดที่ควรพัฒนา ขอบคุณทีมงานและผู้มีส่วนร่วมจากใจ และจัดทำ Lesson Learned เพื่อวางรากฐานให้โครงการถัดไป “เริ่มต้นได้ดีกว่าเดิม”

“โครงการจะปังหรือไม่...ไม่ได้อยู่ที่งบประมาณหรือชื่อโครงการ แต่มันอยู่ที่กระบวนการคิด การวางแผน และหัวใจของคนทำ”

ถ้าเราบริหารด้วยหัวใจ และขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายร่วมกัน
โครงการไหน ๆ ก็ปังได้…ในแบบของมันเอง ด้วยความตั้งใจ

29 พฤษภาคม 2568

Facebook Comments Box