มาทำความรู้จัก เรือนไทยศรีวิชัย หรือเรือนมงคลสูตร กันเถอะ
เรือนไทยศรีวิชัย หรือเรือนมงคลสูตร เป็นเรือนไทยที่สร้างตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ซึ่งแต่เดิมคือเรือนสูตรที่ได้นำสัดส่วนเจ้าเรือนมาใช้ในการกำหนดสัดส่วนอาคาร มาตราศอก(หักข้อ)และคืบ ใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้(พ่อและแม่) โดยได้เขียนเอาไว้ในหนังสือบุด(ทำมาจากเปลือกต้นข่อยมีทั้งหนังสือบุดดำและบุดขาว) ที่เป็นตำราเกี่ยวกับการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น ตอนพระมาลัย พระสาวกของพระพุทธเจ้าไปโปรดสัตว์นรก ตำรายา รวมทั้งการสร้างเรือน

การปลูกเรือนมงคลสูตรช่างปลูกเรือนจะต้องคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้
“ถึงซึ่งความมั่นคง ถึงซึ่งความมั่งคั่ง และถึงผู้สืบสกุลเป็นคนดี”
ซึ่งหากบุตรหลานที่คลอดออกมา พิการจะแสดงถึงว่าช่างปลูกเรือนไม่มีฝีมือที่ดีไม่ยึดตามหลัก
คติการสร้างบ้าน ทั้งนี้คติดังกล่าว เกี่ยวข้องกับความเชื่อในศาสนา
-ด้านศาสนาพุทธ
-ด้านศาสนาพราหมณ์
-ความเชื่อเรื่องการปลูกเรือนไม่ขวางตะวัน
-ความเชื่อเรื่องตัวเลข –ความเชื่อเรื่องอาวุโส


การกำหนดสัดส่วนมักจะเขียนเอาไว้เป็นกลอนเพื่อให้จดจำได้ง่าย เช่น กลอนดังต่อไปนี้
….“หักดั้งทั้งสองหนให้ชนกันจันทันนั้นดั้งบวกคืบสืบ(ไม้สืบ)สอดใส่”
“ห้าดั้งนอกออกอกไก่ ห้าดั้งในออกเชิงชาย”
“บอกความให้ทรามวัยลมหายใจของเจ้าแม่เฝ้ากลั่น
ตั้งแต่เจ้าถือกำเนิดเกิดในครรภ์แม่เฝ้าฝันกลั่นลมลงชมเจ้า
ลมนำทุกข์นำโศรกโรคเศร้าหมองแม่เฝ้ากรองมิได้ส่งลงให้เจ้า
ลมของเจ้าแม่เฝ้าสร้างถึงบางเบามันก็เท่ากับลมแม่แท้เจ้าเอย”
“ผู้ชายอกสามศอกความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า”
“สองเต้าอย่าเคล้าดินจะหากินไม่บังเกิด”
“บอกความให้กับลูกความพันผูกลูกพ่อเริ่มก่อมา
กายเจ้าคืออาหาร พ่อหมั่นหาสร้างกายาให้กับเจ้าพ่อเฝ้าทำ
เจ้ากำเนิดกายมาได้ครบจงประสบซบกายใต้พระธรรม
สองแขนเจ้าหมั่นเฝ้าประกอบกรรมที่ชักนำให้พบสุขอย่าทุกข์ท้อ
ถึงแม้เจ้าเหนื่อยนักสักเพียงไหนจงรู้ไว้สองแขนเจ้าเท่าหนึ่งพ่อ”
สรุปคือ เรือนไทยศรีวิชัย หรือเรือนมงคลสูตร เป็นเรือนไทยพื้นถิ่นของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา ถือเป็นเรื่องชนิดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน อีกเรือนหนึ่งของไทย โดยได้นำคติความเชื่อมาสอดแทรกในการคิดสัดส่วนของตัวเรือน ส่งผลให้ในปัจจุบัน ได้มีการนำวิธีคิดดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบอาคารต่างๆ โดยคิดมาจากสัดส่วนมนุษย์ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้มากที่สุด อาทิเช่น ขนาดประตูที่เหมาะสมกับขนาดของคนเดินผ่าน ไม่กว้างเกินความจำเป็น ไม่แคบเกินไป โดยจะวัดจากหัวไหล่ด้านซ้ายไปยังหัวไหล่ด้านขวา และเว้นช่องว่างเล็กน้อย เป็นต้น