มาทำความรู้จัก ลักษณะภูมิประเทศและการตั้งถิ่นฐานในการเลือกที่ตั้งเรือนไทยพื้นถิ่นภาคใต้ กันเถอะ
เรือนไทยพื้นถิ่นรอบชุมชนทะเลสาบสงขลา เป็นเรือนไทยพุทธ ที่ได้นำคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ มาใช้เป็นคติในการสร้างเรือน ซึ่งจะหาสถานที่ที่เหมาะสมในการสร้างชุมชนหรือบ้าน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแห่งสังคมเกษตรกรรม

ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
จะต้องเลือกที่ตั้งอยู่สี่แค่ หรือ โดยไกล้ (หรือแค่ในภาษาถิ่นใต้)สถานที่ดังต่อไปนี้
แค่บ่อ–อยู่ใกล้บ่อน้ำกินน้ำใช้
แค่ท่า –อยู่ใกล้ท่าน้ำ การคมนาคมสะดวก
แค่นา –อยู่ใกล้ที่นาเพราะเป็นสังคมเกษตรกรรม
แค่วัด –อยู่ใกล้วัดสะดวกในการไปวัด(ศูนย์กลางชุมชนเรียกว่า ”ในบ้าน”)
เรือนมงคลจะต้องประกอบด้วยสี่ชาย
1.ชายทาง –การคมนาคมสะดวก
2.ชายน้ำ –ใช้ในการการคมนาคมทางน้ำและมีความอุดมสมบูรณ์ในการทำเกษตร
3.ชายเขา –ได้ร่มเงาเปรียบเสมือนอยู่ใกล้ผู้ใหญ่
4.ชายมงคล –ผู้ชายซึ่งเป็นผู้นำในครอบครัว และนำมาใช้ในการสร้างเรือนมงคลสูตรอันเป็นสัมมาทิฏฐิ ในการครองเรือน
ลักษณะสภาพพื้นดินที่ตั้งเรือน
1.ห้ามดินที่มีลานในลักษณะ “ลานนกหว้า” เนื่องจากเป็นลักษณะดินที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ แห้งแล้ง ไม่ค่อยมีต้นไม้เนื่องจากด้านล่างมักเป็นลานหินหรือกรวด เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ นกหว้าตัวผู้จะทำลานไว้สำหรับรำแพนอวดขนปีกอวดตัวเมียเรียกว่า “ ลานนกหว้า” ที่ลานนั้นมันจะรักษาความสะอาดอย่างดีเก็บกิ่งไม้ใบไม้ออกหมดตลอดเวลา
2.ดินที่มีรสเปรี้ยว(ดินจะเป็นกรด ทำให้น้ำในบ่อไม่เหมาะสำหรับบริโภค)
3.ดินที่มีทางน้ำไหลผ่าน หรือดินที่มีน้ำขัง หรือเรียกว่า “อยู่ในมาบ”จะทำให้ใต้ถุนบ้านมีน้ำขังเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค
สรุปได้ว่า การเลือกที่ตั้งในการสร้างเรือนหนึ่งหลัง มีปัจจัยหลากหลายเพื่อให้ส่งผลที่ดีกับผู้อยู่อาศัยในเรือน ทั้งเพื่อความสะดวกสบายและความปลอดภัย อย่างเช่นปัจจุบัน การที่เราจะเลือกซื้อบ้านซั๊กหนึ่งหลัง เราก็จะคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิเช่น อยู่ใกล้โรงพยาบาล อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้า หรือ อยู่ใกล้ขนส่งสาธารณะ นั้นเพราะเราได้รับอิทธิพลมาจากการเลือกลักษณะถิ่นฐานที่ดีส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีสภาพแวดล้อมที่ดี และสะดวกสบาย เหมาะสมกับการประกอบอาชีพของเจ้าเรือน