Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

“ท้าวเวสสุวรรณวัดสุชน” อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ราชาแห่งยักษ์ เจ้าแห่งภูตผี เทพแห่งความร่ำรวย

ท้าวเวสสุวรรณ

“ท้าวเวสสุวรรณวัดสุชน” อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ราชาแห่งยักษ์ เจ้าแห่งภูตผี เทพแห่งความร่ำรวย

ในสถานการณ์ที่รัฐบาลล้มเหลวในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ผู้คนจึงหันไปแสวงหาที่พึ่งพาทางจิตใจ แสวงหาความสบายใจในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของตน การปรากฏตัวของราชาแห่งยักษ์ เจ้าแห่งภูตผีหรือเทพแห่งความร่ำรวย “ท้าวเวสสุวรรณ” ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาจากในอดีต จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าขานกันใหม่ จนกลายเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้า แม่ค้าทั้งหลาย แม้ว่าความเชื่อทางวิญญาณนิยม อาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ แต่กลับมอบความสะดวกสบาย และหล่อเลี้ยงความหวังของผู้คนในสังคมที่เชื่อได้เป็นอย่างดี ความโดดเด่นของการขอพรจาก “ท้าวเวสสุวรรณ” นั้น มีทั้งในด้านเงินทอง กำไรมากมายจากการค้าขาย การครอบครองที่ดิน และความรัก ล้วนแต่เป็นกิเลสจึงไม่อาจขอพรจากองค์พระพุทธรูป แล้วหวังให้สัมฤทธิผลได้ เหมือนคำคมที่ว่า ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา นั้นเอง

“ท้าวเวสสุวรรณวัดสุชน” อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ราชาแห่งยักษ์ เจ้าแห่งภูตผี เทพแห่งความร่ำรวย

เนื่องจากความต้องการที่เป็นกิเลส สะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องของรัฐในการสร้างความเชื่อถือและรับประกันความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน (Narupiti, 2017) ส่งผลให้ผู้คนส่วนหนึ่งหันมาพึ่งพา “ท้าวเวสสุวรรณ” เพื่อความมั่นคงแทน เพียงขอพรซึ่งเป็นการลงมือทำที่ไม่ต้องลงทุนในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ การขอพรคือการบอกกล่าวแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้รับทราบโดยทั่ว และเพื่อขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ แต่การขอนั้นก็ไม่อาจจะสมหวังได้หากขอไม่ถูกที่ “ท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดสุชน” ตั้งอยู่บนสันทราย ชายทะเลทุ่งใส เลขที่ 1 หมู่ 8 ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดเก่าแก่ของนครศรีธรรมราช

ความศักดิ์สิทธิ์ของท้าวเวสสุวรรณที่วัดนี้ มีคนเคยมาขอโชคแล้วได้โชค ถูกรางวัลที่ 1 รับ 12 ล้านบาทมาแล้ว (อีจัน, 2567) กล่าวถึง “ท้าวเวสสุวรรณ” ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวัฒนธรรมไทย ท่านเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย ความโชคดี และความสุข นอกจากนี้ยังเป็นเทพเจ้าผู้คอยปกปักรักษาผู้คนจากภัยอันตรายและมอบโชคลาภให้กับผู้ที่ทำความดี ผู้คนจำนวนมากนิยมบูชาท้าวเวสสุวรรณเพื่อความสำเร็จในชีวิตและความร่มเย็นเป็นสุขของครอบครัว (NaniTalk S., 2024) ตามความเชื่อที่มากันมานาน การบูชาท้าวเวสสุวรรณจะทำให้ค้าขายดี มั่นคงทรัพย์สมบัติ และป้องกันมนต์ดำจากผู้ไม่หวังดีที่มุ่งประสงค์ให้กิจการค้าขายหรือครอบครัวเดือดร้อนอยู่ไม่สุข (Thai News, 2022)

นอกจากนี้ยังมีตำนานที่เชื่อว่าท้าวเวสสุวรรณเป็นผู้ปกป้องขุมทรัพย์สมบัติ และไม่มีใครจะมาทำลายหรือแย่งชิงไปได้ ท้าวเวสสุวรรณมีบทบาทสำคัญในความเชื่อของคนไทย และการบูชาท่านยังเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน ซึ่งก่อนหน้านี้เรารู้จักผ่านพิธีกรรมอย่างการสวด “ภาณยักษ์” ที่มักจัดขึ้นตามวัดต่างๆ ก่อนที่จะมีการสร้างเป็นรูปเคารพอย่างแพร่หลายในช่วง 20 ปีนี้ (ปุรินทร์ นาคสิงห์, 2022) 

“ท้าวเวสสุวรรณวัดสุชน” อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ราชาแห่งยักษ์ เจ้าแห่งภูตผี เทพแห่งความร่ำรวย

ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงหลั่งไหลมากราบไหว้เพื่อขอพร “ท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดสุชน” เป็นจำนวนมาก เมื่อพลังศรัทธามาบรรจบกับพลังแห่งการแชร์บนโลกโซเชียล กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่หลายๆ คนต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิต และผ่านพ้นวิกฤตมาได้จากพลังแห่งความศรัทธากราบไหว้ขอโชคลาภ การงานก้าวหน้า ค้าขายร่ำรวย แคล้วคลาดปลอดภัย เรียกได้ว่า เสริมดวงชะตาชีวิต สถานที่ท้าวเวสสุวรรณมีหลายแห่งทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เช่นเดียวกับนครศรีธรรมราช เมืองที่ถือว่าเป็นนครสองธรรม ซึ่งเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีท้าวเวสสุวรรณประดิษฐานอยู่และเป็นสถานที่ที่มาแล้วพลาดไม่ได้นั้นเอง

ผู้เขียน: อาจารย์ณศิตา คงทวี

บรรณานุกรม

ปุรินทร์ นาคสิงห์ (2565).  ท้าวเวสสุวรรณ: วัตถุในอุตสาหกรรมความเชื่อ. https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/407

อีจัน. (2567). วัยเฟี้ยวขอโชคไหว้ “ท้าวเวสสุวรรณ”หลวงพ่อร่ำรวย. https://www.facebook.com/ejan2016

NaniTalk S. (2024). History of Vessavana: The god who protects the world and wards off evil. Retrieved from https://www.nanitalk.com/horoscope/41053/

Thai News. (2022).  Revealing the legend of “Vessavana” sacred things “Chulamanee temple”. Retrieved from https://www.thainewsonline.co/belief/826111/

Wirawan Narupiti. (2017). Politics on Buddha statues. Bangkok: Sankapimtachin. Saran Thongpan. (January 1-4, 1995). Ancient City, 89-96.

Facebook Comments Box