
ในช่วงฤดูฝนนี้ เป็นฤดูกาลที่ต้องเผชิญกับโรคระบาดที่มาพร้อมความอันตรายมากหลากหลายโรค โดยเฉพาะโรคที่มีสัตว์เป็นพาหะ ไม่ว่าจะเป็นฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) โรคไข้เลือดออก สำหรับใน blogครั้งนี้ เราจะมาพูดกันในเรื่องของโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือกออกนั้น เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสเดงกี (Dengue Virus) แพร่กระจายผ่านตัวยุงลาย ที่มักเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำขังเล็กๆ ใกล้บ้าน และภายหลังฝนหยุดตก และเกิดน้ำขังได้ ซึ่งยุงลายมีโอกาสเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วได้ ทำให้การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกยิ่งรุนแรงมากขึ้น สำหรับอาการและอาการแสดงของโรคไข้เลือด จะเริ่มต้นด้วยอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาจนำมาสู่ไปสู่ภาวะเลือดออกในอวัยวะภายในหรือช็อกได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยมีอาการและอาการแสดงที่พบ (เกตุศิริ จันทนูศร, 2565) แบ่งเป็นระยะดังนี้
ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวร้อน ไข้สูง 40-41 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-7 วัน และผื่นแดง
ระยะที่ 2 ระยะช็อก
วันที่ 3-8 เริ่มมีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว กระหายน้ำ กระสับกระส่าย จับชีพจรเบาและเร็ว และมือเท้าเย็น
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว
ไข้ลด อาการเริ่มดีขึ้น และมีระยะฟื้นตัว 2-3 วัน
5ป2ข ปราบยุงลายป้องกันไข้เลือด
หลัก 5ป: 1) ปิดภาชนะให้มิด (ที่มีน้ำ) ให้สนิท
2) ปล่อยปลาหางนกยูงในอ่างน้ำหรือภาชนะที่มีน้ำเพื่อให้กินลูกน้ำยุงลาย
3) เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุก 7 วัน
4) ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งพันธุ์ยุงและ
5) ปฏิบัติเป็นประจำทุก 7 วัน
หลัก 2ข: 1) ขัดถูภาชนะภายหลังเทน้ำทิ้งเพื่อกำจัดไข่ยุง 2) ขยะ จัดการกำจัดขยะ
ครั้งนี้ เรามีวิธีป้องกันไข้เลือดออกง่ายๆ ที่ทุกท่านสามารถทำเองได้ โดยมีวัสดุอุปกรณ์หลักที่ใกล้ตัว ซึ่งเป็นสมุนไพรในครัว จากการที่อาจารย์และนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ทำการทบทวนวรรณกรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไข้เลือดออก ภายใต้การจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชน และได้จัดกิจกรรมร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสาขา เกี่ยวกับการรณรงค์และให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก พร้อมทั้งได้แนะนำสูตรช่วยป้องกันไข้เลือกออก “สมุนไพรในครัว ฮีโร่สู่ไข้เลือดออก” โดยมี 3สูตรดังนี้
“สมุนไพรในครัว ฮีโร่ช่วยสู้ไข้เลือดออก”
สูตรที่ 1 เพื่อช่วยป้องกันการวางไข่ของยุง
วัสดุอุปกรณ์
เกลือ หรือ น้ำส้มสายชู หรือทรายอะเบท
วิธีทำ
นำเกลือ หรือ น้ำส้มสายชู หรือทรายอะเบท มาใส่ในจานรองภาชนะ
สูตรที่ 2 สมุนไพรไล่ยุง
วัสดุอุปกรณ์
ใบเตย / ใบมะกรูด ลูกมะกรูด/ ใบพลู / ใบกะเพรา
วิธีทำ
นำใบเตย ใบมะกรูด ลูกมะกรูด ใบพลู และใบกะเพรา (สามารถเลือกสมุนไพรได้ตามความต้องการ) มาฉีกหรือหั่นพอหยาบ และคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำมาใส่ในภาชนะที่เหมาะสมและนำไปวางไว้บริเวณที่ต้องการ

สูตรที่ 3 สมุนไพรป้องกันการวางไข่ของยุง
วัสดุอุปกรณ์
ใบกะเพรา ปูนแดง น้ำเปล่า
วิธีทำ
-ตำใบกะเพราให้ละเอียด (เติมน้ำเล็กน้อย)
-นำใบกะเพราที่ตำแล้วมากรองด้วยผ้าขาว และบีบน้ำ
-นำน้ำใบกะเพราผสมกับปูนแดง และคลุกเคล้าให้เข้ากัน
-ปั้นปูนแดงเป็นก้อนกลม และนำมาตากแดด 1-2วัน (จนกว่าจะแห้ง)
วิธีใช้
-นำก้อนปูนที่ปั้นแห้งแล้ว ใส่โอ่งน้ำ อ่างน้ำ จานน้ำรองขาตู้ หรือในภาชนะที่มีน้ำขัง (1ก้อน ต่อน้ำ 200ลิตร)
-ก้อนปูนแดงมีระยะเวลาการใช้งานได้นาน 3เดือน

เรียบเรียงโดย
อาจารย์กรรณิการ์ ศรีสมทรง อาจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
นางสาววันวิสา พัชบูรณ์
นางสาวเพ็ญพิชชา ด้วงนิล
นางสาวบุษราคัมย์ จำเริญ
นางสาวนัฐนิชา บุญนิธิ
นางสาวปริยา รัตนพิบูลย์
นางสาวภัทราภรณ์ สินธุเสน
นางสาววิภาวี ช่วยสมบูรณ์
นางสาวสุกัญญา อินกลับ
นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4
อ้างอิงจาก