ไปสหกิจศึกษาแล้ว จะทำตัวยังไงดีนะ?

สหกิจศึกษา เป็นก้าวแรกของการเข้าสู่โลกแห่งการทำงานจริงของนักศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานาน 4 – 8 เดือน ช่างยาวนานนัก นักศึกษาส่วนใหญ่มีความกังวลในหลายๆเรื่อง ทั้งในเรื่องความสามารถในการทำงาน การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน สิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ดังนั้น การเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมก่อนการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างเกราะกันภัยแก่จิตใจและร่างกายของนักศึกษา ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีข้อแนะนำนักศึกษาก่อนออกปฏิบัติสหกิจศึกษา ดังนี้
- การเตรียมตัวช่วงก่อนการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษารู้เขา
- รู้จักสถานประกอบการ
นักศึกษาควรค้นหาข้อมูลของสถานประกอบการ ที่ตั้ง สาขา ประเภทธุรกิจและผลผลิต ผลประกอบการ เงินเดือนและสวัสดิการ โดยการสืบค้นข้อมูลจาก เว็บไซต์หน่วยงาน เว็บไซต์สำนักข่าว ข้อมูลจากหน่วยงานอื่น เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม หรือสอบถามจากอาจารย์ และรุ่นพี่
- รู้จักวัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) คือ ค่านิยมร่วมหรือความเชื่อที่ทุกคนในบริษัทมีร่วมกันทั้งแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ โดยคนส่วนใหญ่ร่วมกันปฏิบัติจนกลายเป็นธรรมเนียมสำหรับองค์กรนั้น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการหล่อหลอมรวมของพฤติกรรมทั้งคนเก่าและคนใหม่ให้ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น เรื่องการตรงต่อเวลา หรือการทำงานล่วงเวลา
- รู้กิจกรรมสำคัญขององค์กรที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อที่นักศึกษาจะได้เตรียมตัวพร้อมช่วยเหลืองานกิจกรรม
- รู้ลักษณะงานที่เราต้องไปทำ งานสหกิจศึกษาจะเป็นงานที่ตรงกับสายวิชาชีพของนักศึกษา นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างได้ว่าสายอาชีพของตนมีลักษณะงานที่ปฏิบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร
รู้เรา
2. การปฏิบัติตนในสถานประกอบการ
- ตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
- รู้ เข้าใจ และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ
- เปิดหู เปิดตา เปิดใจ เปิดรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาในชีวิต เปิดทัศนคติรับฟังความเห็นต่าง
- สร้างเพื่อน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา
- สร้างผลงานให้เป็นที่จดจำ
- เข้าใจความแตกต่างของวัย ทัศนคติ ความเชื่อ
- ระมัดระวังในการใช้สื่อ social
- รักษาความลับขององค์กร
- อดทน อดทน และอดทน
- มีสัมมาคารวะ ไปลามาไหว้
- เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานแล้ว อาจมีของที่ระลึกเล็กๆน้อยๆหรือกล่าวคำขอบคุณมอบแก่พี่ที่ทำงาน
3. เทคนิคในการทำงานสำหรับมือใหม่
- งานเริ่มจากการรับคำสั่ง ฟังให้จบก่อน แล้วค่อยถามข้อข้องใจ จดบันทึกคำสั่ง อย่าคิดว่าจะจำได้หมด (ควรมีสมุดโน้ต) ฟังคำสั่งจบแล้ว ทวนคำสั่งอีกครั้ง (อาจมีแก้ไข หรือสั่งเพิ่มอีก) มีข้อข้องใจต้องถามให้แจ่มแจ้ง อย่าทำไปผิดๆทั้งๆที่มีไม่เข้าใจ
- แบ่งงานเป็น 3 ช่วง ช่วงแรก คือ ช่วงวางแผนและเตรียมงาน ใช้เวลาประมาณร้อยละ 5-10 ช่วงที่สอง คือการปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ ใช้เวลาประมาณ ร้อยละ 80-90 และช่วงสุดท้าย คือการตรวจทาน ตรวจสอบข้อผิดพลาด ใช้เวลาประมาณ ร้อยละ 5-10
- ทำงานให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด และรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาที่สั่งงาน
การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาทำให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ และมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น รู้ความถนัด ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง ทำให้สามารถเลือกสายอาชีพได้ถูกต้องและเป็นโอกาสให้ได้รับการเสนองานก่อนสำเร็จการศึกษา
บทความโดย : นางสาวภคนิตย์ ออสปอนพันธ์