เคยรู้บ้างไหมว่าในทะเลก็มีราด้วยเช่นกัน
ราทะเล (Marine Fungi) เป็น “ผู้ย่อยสลายซาก” ตัวสำคัญในระบบนิเวศทางทะเลโดยเฉพาะในป่าโกงกางหรือป่าชายเลน (ภาพที่ 1) เรามักพบรากลุ่มนี้บนซากใบ กิ่ง ผล ฝัก รากไม้ในป่าโกงกาง บนสาหร่ายทะเล หรือแม้กระทั่งบนซากหญ้าทะเล (ภาพที่ 2) ราทะเลเหล่านี้สืบพันธุ์และแพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ สปอร์รูปร่างค่อนข้างหลากหลายและแปลกตา ราบางชนิดมีสปอร์รูปร่างยาวรี บางชนิดรูปร่างคล้ายเส้นด้าย บางชนิดมีรยางค์คล้ายเส้นด้ายปล่อยออกมาจากปลายข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างของสปอร์ มีเมือกเหนียวหุ้มรอบสปอร์ ลักษณะพิเศษเหล่านี้ช่วยให้ราทะเลสามารถยึดเกาะและแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำได้ดี (ภาพที่ 3-6)


ภาพที่ 2 วัสดุธรรมชาติชนิดต่างๆ ที่เป็นที่อยู่ของราทะเล

ภาพที่ 3 ราทะเลสกุล Verruculina enalia สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้ดี

ภาพที่ 4 ราทะเลสกุล Eutypella sp. สามารถผลิตเอนไซม์โปรตีเอสได้ดี

ภาพที่ 5 ราทะเลสกุล Mauritiana rhizophorae

ภาพที่ 6 ราทะเลสกุล Sammeyersia grandispora
เอกสารอ้างอิง:
Suetrong, S., Preedanon, S., Klaysuban, A., Gundool, W., Unagul, P., Sakayaroj, J., Promchu, W., & Sangtiean, T. (2017). Distribution and occurrence of manglicolous marine fungi from eastern and southern Thailand. Botanica Marina, 60(4), 503-514.
Ungcharoenwiwat, P. and Sakayaroj, J. (2022). Species Composition and Hydrolase Enzyme (EC.3) Activity of Fungi Isolated from Thasala Mangroves, Nakhon Si Thammarat Province, Southern Thailand. Trends in Science 19(19): 6172.