
ภาษีอากร หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎร เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีภาษีอากรมีลักษณะเป็นการบังคับเก็บ ประชาชนทุกคน เป็นผู้รับผิดชอบในการเสียภาษี โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี คือ
- เพื่อหารายได้ให้เพียงพอมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล
- เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้
- เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
- เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ประเภทของการการจัดเก็บภาษีอากร
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.อากรแสตมป์
สำหรับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับ มีหน้าที่ในการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามระยะเวลาและ ตามแบบที่สรรพากรกำหนด ดังนี้
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือภาษีที่หักจากเงินเดือนและค่าจ้างกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรามาตรา 40 (1) จากบุคลากรของมหาวิทยาลัย นำส่งต่อสรรพากรตามแบบ ภ.ง.ด. 1 นำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ทำธุรกรรมกับมหาวิทยาลัย
-บุคคลธรรมดา นำส่งต่อสรรพากรตามแบบ ภ.ง.ด.3
-นิติบุคคล นำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.53
นำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการที่มหาวิทยาลัยฯ ให้บริการวิชาการกับภาคเอกชน กรณีให้บริการวิชาการกับภาครัฐไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มต่อสรรพกรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีหน้าที่ในการหัก และนำส่งภาษีทั้ง 3 ประเภทนำส่งสรรพากรโดย ถูกต้องครบถ้วนตามที่สรรพากรกำหนด เพื่อนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆต่อไป
ผู้เรียบเรียง นางสาวสุวิมล บุญชู
ที่มา : https://www.prosofterp.com/Article/Detail/160794