บริหารข้อฟิต “ พิชิตข้อเข่าเสื่อม”
9 ท่า บริหารเข่าอย่างง่าย ที่ได้ผลมาก แค่ใช้เก้าอี้ หรือเตียงในบ้าน ก็สามารถทำได้เเล้ว
โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ และอาจมีความเสื่อมรุนแรงมากขึ้นตามระยะเวลา เนื่องจากเป็นการเสื่อมของโครงสร้าง ทั้งทางด้านรูปร่าง และการทำงานของกระดูกข้อต่อ









๐ สาเหตุหลักๆ ได้แก่
- เป็นผลจากความเสื่อมตามอายุ และการใช้งานเข่าหนักๆ เช่น ยืนนาน เดินมาก หรือการนั่งคุกเข่า นั่งยอง ขัดสมาธิ พับเพียบเป็นระยะเวลานานๆ
- ความอ้วน น้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
- เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น กระดูกบริเวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด
- โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
๐ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
- อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญเริ่มแรก จะปวดเมื่อยตึงทั้ง ด้านหน้าและด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันได ไม่คล่องไม่สะดวกเหมือนเดิม
- มีเสียงในข้อ เวลาเคลื่อนไหวข้อ
- ข้อบวมอักเสบ
- ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลง ลงน้ำหนักลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดิน
- ข้อเข่ายึดติด เหยียดหรืองอขาได้ไม่สุดเหมือนเดิม เนื่องจากมีการติดยึดภายในข้อ
๐ เกณฑ์วินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม
มีอาการปวดเข่า ภาพรังสีแสดงกระดูกงอก และมีข้อสนับสนุน 1 ข้อ ดังต่อไปนี้
– อายุเกิน 50 ปี
– มีอาการฝืดแข็งในตอนเช้านานน้อยกว่า 30 นาที
– มีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวเข่าจากการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อ
๐ วิธีป้องกันและการปฏิบัติ
- บริหารกล้ามเนื้อรอบ ข้อเข่า ข้อสะโพกให้แข็งแรงอยู่เสมอ (ตามรูป)
- ควรหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น เช่น การนั่งยอง การนั่งพับเพียบ คุกเข่าและการนั่งขัดสมาธินานเกินไป เป็นต้น
- ควรนั่งเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งเหยียดขาตรง อย่านั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอริยาบถบ่อยๆ
- ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบจะช่วยลดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ
- เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าผ้าใบ ช่วยให้เดินมั่นคงขึ้น และมีพื้นรองเท้าช่วยกันกระแทก
- เวลาขึ้นบันไดให้ก้าวขาข้างดีขึ้นก่อน เวลาลงให้ก้าวขาข้างปวดลงก่อน มือจับราวบันได
- ควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดิน หรือใส่สนับเข่าเพื่อช่วยให้ข้อเข่ากระชับ
- ควบคุมไม่ให้อ้วนเกินไป โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
- ลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกดกระแทกที่ข้อเข่าเวลาเดินหรือยืน
- ทำกายภาพบำบัด นวดแผนไทย ฝังเข็ม
- ถ้าอาการไม่ทุเลาควรปรึกษาแพทย์
๐ วิธีการรักษา
- การรักษาประคับประคอง (ประคบอุ่น, นวด, ยึดบริหารกล้ามเนื้อม, นวดแผนไทย, ฝังเข็ม, กายภาพบำบัด, ใช้เครื่องช่วยเดิน, สนับเข่า)
-การรักษาโดยการใช้ยา
รับประทานยา เช่น ยาแก้ปวด, ยาแก้อักเสบ, ยาบำรุงกระดุกอ่อน
ฉีดยาในข้อเข่า เช่น ฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม ฉีด 3 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แนะนำเฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก ได้ผลชั่วคราวอาจกลับมาปวดได้ - การรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง, ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เป็นการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ในกรณีข้อเสื่อมอย่างรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ หรือมีอาการผิดรูปของข้อมาก เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผลมาก
ทีมออร์โธปิดิกส์แพทย์ คลินิกกระดูกและข้อ
Facebook Comments Box